มุ้งไว้ป้องกันยุง หมัดและแมลงอื่น จึงสามารถป้องกันโรคที่สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะได้ด้วย ตัวอย่างโรคที่สัตว์เหล่านี้เป็นพาหะ รวมถึงมาลาเรีย ไข้เด็งกี ไข้เหลือง สมองอักเสบหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงไวรัสไนล์ตะวันตก มุ้งจะมีประสิทธิภาพได้ ตาต้องละเอียดพอที่จะกันแมลงได้โดยไม่ขัดขวางทัศนวิสัยหรือการไหลของอากาศจนรับไม่ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของมุ้งได้มากโดยชุบยาฆ่าแมลงหรือสารขับไล่แมลงที่เหมาะสม

มุ้งทำมาจากฝ้าย พอลิเอทีลีน พอลิเอสเทอร์ พอลิโพรพีลีน หรือไนลอน[1] ขนาดตา 1.2 มิลลิเมตรสามารถกันยุงได้ และตาที่ขนาดเล็กกว่านั้น เช่น 0.6 มิลลิเมตร สามารถกันแมลงกัดอื่นได้ เช่น ริ้นน้ำเค็ม[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "World Health Organization: Annex VII : Procedure for Treating Mosquito Nets and curtains" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.
  2. "Mosquito Netting Criteria". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-18. สืบค้นเมื่อ 2009-10-27.