มาลี บุญศิริพันธ์
บทความชีวประวัติของบุคคลนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ วิกิพีเดียไม่สนับสนุนให้มีอัตชีวประวัติ หรือประวัติการทำงาน นอกเหนือจากนั้นถ้าคุณเห็นว่าบุคคลนี้ไม่ใช่บุคคลสำคัญให้ทำการแจ้งลบ |
รองศาสตราจารย์ มาลี บุญศิริพันธ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รองศาสตราจารย์มาลี บุญศิริพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2491 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ในแผนกอิสระวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน) จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2512 จึงเข้าทำงานในตำแหน่งประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2513
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2514 ทางคณะวารสารศาสตร์ฯ ขอตัวไปเป็นอาจารย์ประจำ หลังจากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุนของรัฐบาลแคนาดา
หลังจากจบปริญญาโท ได้อบรมด้านเทคนิคการสอนวารสารศาสตร์ ที่ Tomson Foundation ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 เดือนเศษ แล้วต่อด้วยการอบรมด้านการทำหนังสือพิมพ์ที่ประเทศเยอรมนี จากนั้นจึงเดินทางกลับสู่เมืองไทย และเป็นอาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ตราบจนปัจจุบัน
มีผลงานมากมาย ทั้งงานเขียนและงานวิจัย งานด้านวิชาการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตร นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และเป็นกรรมการกำกับมาตรฐานการศึกษา ในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนหลายแห่ง
รองศาสตราจารย์มาลี บุญศิริพันธ์ เข้ารับตำแหน่ง คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 และในปัจจุบัน ได้ปฏิบัติงานในตำแหน่งคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ด้วยกลวิธีการจัดการเรียนการสอน ลีลาการออกข้อสอบ การตัดเกรด รวมทั้งบรรยากาศภายในชั้นเรียนที่กดดันนักศึกษาแบบไม่เหมือนใคร ทำให้ รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ เป็นที่เลื่องลือในหมู่นักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาระดับปริญญาโท แต่ถ้าอยู่นอกบรรยากาศของห้องเรียนแล้ว เป็นที่ทราบกันดีเช่นกันว่ารศ.มาลีเป็นอาจารย์ที่ใจดีมาก และที่ต้องกดดันนักศึกษานั้น เพราะต้องการให้นักศึกษาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพ
รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางด้านวารสารศาสตร์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่นเดียวกับ อ.สุภา ศิริมานนท์ และ อ.ประชัน วัลลิโก เป็นที่ทราบกันดีว่า รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านสื่อสารมวลชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความรู้ทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะได้เขียนตำราทางวิชาการมากมาย และได้อ้างอิงข้อมูลจากคณาจารย์ในหนังสือทางด้านสื่อสารมวลชนอยู่เสมอ และยังไม่รวมถึงงานวิจัยจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อวงการสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ ยังได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร กรรมการประจำสมาคม-หน่วยงานต่างๆ รวมถึงเป็นผู้ตัดสินรางวัลทางด้านสื่อสารมวลชนอยู่เสมอ เช่น
-กรรมการกำกับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชน สาขานิเทศศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย
- ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิโครงการนำร่องความปลอดภัยบนถนนด้านการให้ความรู้และการวาง แผนการ รณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัยของบริษัท SWEROAD และกระทรวงคมนาคม ฯลฯ
- ประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รองประธานกรรมการและประธานอนุกรรมการฝ่ายวิชาการโครงการบัญญัติศัพท์ วิชาการ หนังสือพิมพ์
- ที่ปรึกษาโครงการรณรงค์เสริมสร้างวินัยจราจรเด็กและเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวง คมนาคม
- ประธานกรรมการจัดสัมมนาระหว่างประเทศร่วมกับมหาวิทยาลัยแดนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย
- กรรมการสภาอาจารย์ (2 สมัย)
- อนุกรรมการประชาสัมพันธ์คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
- กรรมการจรรยาบรรณวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550
- กรรมการพิจารณาวารสารดีเด่นสำหรับเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการประสาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๖๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙