มาร์โก โปโล
มาร์โก โปโล (/ˈmɑːrkoʊ ˈpoʊloʊ/ ( ฟังเสียง), ภาษาเวเนโต: [ˈmaɾko ˈpolo], ภาษาอิตาลี: [ˈmarko ˈpɔːlo] ( ฟังเสียง); 15 กันยายน ค.ศ. 1254 – 8 มกราคม ค.ศ. 1324)[2] เป็นพ่อค้าวานิช นักสำรวจ และผู้เขียนชาวเวนิส ซึ่งได้เดินทางผ่านเอเชียไปตามเส้นทางสายไหมระหว่างปี ค.ศ. 1271 และ ค.ศ. 1295 การเดินทางของเขาได้ถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า การเดินทางของมาร์โก โปโล(หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อหนังสือว่า ความมหัศจรรย์ของโลกและเรื่องฝอยล้านเรื่อง ค.ศ. 1300) เป็นหนังสือที่บรรยายให้แก่ชาวยุโรปได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมอันลึกลับและการทำงานภายในของโลกตะวันออก รวมทั้งความมั่นคั่งและความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิมองโกลและจีนในสมัยราชวงศ์หยวน นับเป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เห็นจีน เปอร์เซีย อินเดีย ญี่ปุ่น และเมืองและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย[3]
มาร์โก โปโล | |
---|---|
ภาพเหมือนของมาร์โก โปโล[1] | |
เกิด | c. 1254 เชื่อว่าเวนิส, สาธารณรัฐเวนิส |
เสียชีวิต | มกราคม 9, 1324 เวนิส, สาธารณรัฐเวนิส | (69 ปี)
สุสาน | โบสถ์ซานลอเรนโซ, เวนิส 45°15′41″N 12°12′15″E / 45.2613°N 12.2043°E |
อาชีพ | พ่อค้า, นักสำรวจ |
มีชื่อเสียงจาก | บันทึกการเดินทางของมาร์โค โปโล |
คู่สมรส | โดนาตา บาโดเออร์ |
บุตร | แฟนตินา, เบลเลลา และมอเร็ตตา |
บิดามารดา | นิกโกโล โปโล (บิดา) นิโกล อันนา เดอฟูเซห์ (มารดา) |
เขาเกิดในเมืองเวนิส มาร์โกได้เรียนรู้การค้าขายจากพ่อและลุงของเขาคือ นิกโกโลและมาฟเฟโอ ซึ่งได้เดินทางผ่านเอเชียและเข้าเฝ้ากุบไล ข่าน ในปี ค.ศ. 1269 พวกเขาเดินทางกลับมายังเวนิสเพื่อพบกับมาร์โกเป็นครั้งแรก ทั้งสามคนได้เริ่มออกเดินทางครั้งยิ่งใหญ่สู่เอเชีย สำรวจสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมจนกระทั่งพวกเขาได้เดินทางมาถึงคาเธ่ย์(จีน) พวกเขาได้รับการต้อนรับจากราชสำนักกุบไล ข่าน ซึ่งพระองค์ทรงประทับใจในสติปัญญาและความอ่อนน้อมถ่อมตนของมาร์โก มาร์โกได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นทูตต่างประเทศของข่าน และเขาถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจทางการทูตมากมายทั่วทั้งจักรวรรดิและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า อินเดีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา และเวียดนามในปัจจุบัน[4][5] ในการได้รับการแต่งตั้งในครั้งนี้ มาร์โกยังได้เดินทางอย่างกว้างขวางในประเทศจีน ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนของจักรพรรดิมาเป็น 17 ปี และได้พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่ชาวยุโรปไม่เคยรู้จักมาก่อน[6] ราวปี ค.ศ. 1291 โปโลยังได้เสนอให้พาองค์หญิงมองโกลที่มีพระนามว่า Kököchin ไปยังเปอร์เซีย พวกเขาได้เดินทางมาถึงราวปี ค.ศ. 1293 ภายหลังได้จากลาองค์หญิงแล้ว พวกเขาได้เดินทางบกไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล และจากนั้นก็ไปยังเวนิส เป็นการเดินทางกลับบ้านหลังจากมาเป็นเวลา 24 ปี ในช่วงเวลานั้น เวนิสกำลังทำสงครามกับเจนัว มาร์โกได้ถูกจับกุมและคุมขังโดยพวกเจนัว ภายหลังจากเข้าร่วมในความพยายามทำสงครามและเล่าเรื่องราวของเขาให้แก่ Rustichello da Pisa เพื่อนร่วมห้องขังได้รับฟัง เขาได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1299 ต่อมาได้กลายเป็นพ่อค้าผู้มั่นคั่งร่ำรวย ได้แต่งงาน และมีบุตรสามคน เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1324 และร่างของเขาถูกฝังไว้ในโบสถ์ซาน ลอเรนโซ่ในเมืองเวนิส
แม้ว่าเขาจะไม่ใช่ชาวยุโรปคนแรกที่ได้เดินทางไปถึงจีน(ดูจากชาวยุโรปในจีนยุคกลาง) มาร์โก โปโลเป็นคนแรกที่ได้สำรวจบางส่วนของเอเชียและทิ้งบันทึกเรื่องราวโดยละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ของเขา เรื่องราวเกี่ยวกับตะวันออกทำให้ชาวยุโรปได้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์และประเพณีทางชาติพันธุ์ของตะวันออก และเป็นบันทึกของชาวตะวันตกครั้งแรกที่เกี่ยวข้องกับเครื่องถ้วยเปลือกไข่ ถ่านหิน ดินปืน เงินกระดาษ และพืชและสัตว์ต่างถิ่นบางชนิดในเอเชีย[7] หนังสือการเดินทางของเขาได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส[8] และนักเดินทางคนอื่น ๆ อีกหลายคน มีวรรณกรรมมากมายที่อิงจากงานเขียนของโปโล เขายังมีอิทธิพลต่อการทำแผนที่ยุโรป จึงนำไปสู่การแนะนำแผนที่แบบฟาเมาโร (Fra Mauro map)
อ้างอิง
แก้- ↑ ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน แต่มีต้นกำเนิดจากภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในหอศิลป์ Monsignor Badia ในกรุงโรม มีคำจารึกว่า: Marcus Polus venetus totius orbis et Indie peregrator primus ปรากฏในหนังสือ Nordisk familjebok Berg 1915, p. 1261
- ↑ Bergreen 2007, pp. 340–42.
- ↑ Benedetto, Luigi Foscolo (1965). "Marco Polo, Il Milione". Istituto Geografico DeAgostini (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Rongguang Zhao, Gangliu Wang, Aimee Yiran Wang. A History Of Food Culture In China. p. 94.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Christopher Kleinhenz. Routledge Revivals: Medieval Italy (2004): An Encyclopedia – Volume II, Volume 2. p. 923.
- ↑ "Marco Polo". Worldatlas.com. WorldAtlas.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ Robin Brown (2008). Marco Polo: Journey to the End of the Earth. Sutton.
- ↑ Landström 1967, p. 27
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติ มาร์โก โปโล จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน