มาตรการรัดเข็มขัด
ในทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการรัดเข็มขัด (อังกฤษ: austerity) เป็นชุดนโบบายเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มีเป้าหมายในการลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลผ่านการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มภาษี หรือทั้งสองอย่างรวมกัน[1][2][3] โดยมีมาตรการรัดเข็มขัดสามรูปแบบหลัก: ขึ้นภาษีเพื่อใช้จ่ายงบประมาณ, ขึ้นภาษีกับลดการใช้จ่าย และลดภาษีกับลดการใช้จ่าย[4] รัฐบาลลดรายจ่ายและ/หรือเพิ่มค่าธรรมเนียมการใช้เพื่อชำระเงินคืนแก่เจ้าหนี้ มาตรการรัดเข็มขัดมักจะมีความจำเป็นเมื่อรัฐบาลใช้จ่ายโดยมีรายจ่ายเกินกว่ารายรับ
สาเหตุของมาตรการ
แก้มาตรการรัดเข็มขัดมักมีความจำเป็นหลังจากระดับหุ้นกู้ของรัฐบาลถูกลดระดับลง ทำให้รัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายแพงขึ้นในการกู้ยืมเงิน หุ้นกู้ของรัฐบาลมักจะถูกลดระดับลงเมื่อหนี้สินของประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการใช้จ่ายเกินกว่ารายรับจากภาษีอากร การใช้จ่ายเกินปริมาณดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออัตราภาษีถูกควบคุมให้อยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นในกรณีที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเฉื่อยชาหรือลดลง อย่างเช่นในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเป็นการลดรายรับจากภาษีอากรของรัฐบาล
ธนาคาร หรือองค์กรระหว่างรัฐบาล อย่างเช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มักต้องการให้รัฐบาลที่กู้ยืมเกินต้องออก "มาตรการรัดเข็มขัด" ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลกู้ยืมเงินที่เป็นการก่อหนี้ใหม่เพื่อชดใช้หนี้เก่า แต่รัฐบาลไม่สามารถชำระหนี้คืนได้แม้ว่าถึงกำหนดแล้วก็ตาม รัฐบาลอาจต้องขอให้มีการหยุดเงินบำรุงหรือลดการใช้จ่ายสาธารณะ
ตัวอย่างผลกระทบ
แก้รายจ่ายในโครงการพัฒนา สวัสดิการ และการใช้จ่ายภาคสังคมอื่น ๆ ที่เป็นโครงการทั่วไปจะถูกตัดทอน ภาษี ค่าธรรมเนียมท่าเรือ สนามบิน และค่าโดยสารรถไฟและรถโดยสารประจำทางเป็นแหล่งรายได้ทั่วไปเพื่อเพิ่มค่าธรรมเนียมการใช้
ในหลายกรณี มาตรการรัดเข็มขัดยังส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตที่ลดลงชั่วคราว จนกระทั่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและรัฐบาลมีรายรับรายจ่ายที่สมดุลกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "Austerity measure". Financial Times Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2013. สืบค้นเมื่อ 1 March 2013.
- ↑ Traynor, Ian; Katie Allen (11 June 2010). "Austerity Europe: who faces the cuts". London: Guardian News. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
- ↑ Wesbury, Brian S.; Robert Stein (26 July 2010). "Government Austerity: The Good, Bad And Ugly". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2010. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
- ↑ Hayes, Adam (2021-03-04). "Austerity". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.