มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ

เพลงชาติโปแลนด์

มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ (โปแลนด์: Mazurek Dąbrowskiego [maˈzurɛɡ dɔmbrɔfˈskʲɛɡɔ] "บทเพลงมาเซอร์กาของดอมบรอฟสกี") เพลงนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี" (Pieśń Legionów Polskich we Włoszech [pʲɛɕɲ lɛˈgʲɔnuf ˈpɔlskiɣ vɛˈvwɔʂɛx]) และ "โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น" (Jeszcze Polska nie zginęła [jɛʂt͡ʂɛ ˈpɔlska ɲɛzɡiˈnɛwa])[a] เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐโปแลนด์

มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ
โน๊ตเพลง"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ"

เพลงชาติของ โปแลนด์
ชื่ออื่น"Pieśń Legionów Polskich we Włoszech"
"เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี"
"Jeszcze Polska nie zginęła"
"โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น"
เนื้อร้องยูแซฟ วีบิสตกี, ค.ศ. 1797
ทำนองไม่ทราบผู้ประพันธ์เพลง (แต่ถูกเรียบเรียงโดย คาซีเมียร์ ซ๊โคสกี), คริสต์ทษวรรษที่ 1820
รับไปใช้ค.ศ. 1926; 98 ปีที่แล้ว (1926)
ตัวอย่างเสียง
"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" (บรรเลง, ท่อนเดียว)

เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ เป็นบทเพลงซึ่งนำมาจากทำนองของเพลงพื้นเมืองโปแลนด์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "มาเซอร์กา" ("Mazurka) โดยส่วนของเนื้อร้องนั้นเป็นผลงานการประพันธ์ของนายพลยูเซฟ วีบิตสกี (Józef Wybicki) เพลงนี้ได้แต่งขึ้นที่เมืองเรจโจเนลเลมีเลีย สาธารณรัฐซิแซลไพน์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลี) เมื่อประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1797 อันเป็นเวลาสองปีภายหลังการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 3 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ทำให้ประเทศโปแลนด์ทั้งหมดหายไปจากแผนที่โลก บทเพลงนี้แต่เดิมใช้เป็นเพลงปลุกขวัญของทหารภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยาน เคนริค ดอมบรอฟสกี แห่งกองทหารต่างด้าวชาวโปลในกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งได้ยกทัพเข้าพิชิตดินแดนอิตาลีในครั้งนั้น ในเวลาต่อมาไม่นานเพลงนี้ก็ได้กลายเป็นเพลงปลุกใจของชาวโปลเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด

เนื้อหาของเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ แสดงออกถึงความคิดของชาวโปล ซึ่งแม้ว่าจะสูญสิ้นเอกราชทางการเมืองไปก็ตาม แต่โปแลนด์จะยังไม่สูญหายไป ตราบเท่าที่ประชาชนชาวโปลยังมีชีวิตอยู่และร่วมต่อสู้ภายใต้นามนั้น

จากความนิยมอย่างสูงของเพลงนี้ ทำให้ได้เกิดเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งชาวโปลได้นำไปขับร้องเนื่องในวาระต่าง ๆ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ชนชาติอื่น ๆ ลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือเพลง "เฮ สลาฟ" (Hey Slavs) ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจของชาวสลาฟ ได้รับอิทธิพลในการประพันธ์มาจากเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกออย่างมาก (ภายหลังได้มีการนำไปใช้เป็นเพลงชาติของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย)

เมื่อประเทศโปแลนด์สามารถรวมตัวเป็นประเทศเอกราชได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอจึงได้กลายเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยของโปแลนด์ ต่อมาจึงได้มีการรับรองสถานะเป็นเพลงชาติโปลแลนด์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1926

เนื้อร้อง

แก้
เนื้อร้องอย่างเป็นทางการ (สะกดอย่างปัจจุบัน) ถอดเสียงด้วยสัทอักษรสากล[b] คำแปลภาษาไทย เนื้อร้องของวีบิสตกี
(สะกดตามต้นฉบับ)
คำแปลภาษาไทย

I
Jeszcze Polska nie zginęła,
Kiedy my żyjemy.
Co nam obca przemoc wzięła,
Szablą odbierzemy.

1
[ˈjɛʂ.t͡ʂɛ ˈpɔl.ska ɲɛ zɡʲi.ˈnɛ.wa]
[ˈkʲjɛ.dɨ mɨ ʐɨ.ˈjɛ.mɨ]
[t͡sɔ nam ˈɔp.t͡sa ˈpʂɛ.mɔd͡z‿ˈvʑɛ.wa]
[ˈʂab.lɔ̃ ˈɔd.bʲjɛ.ʐɛ.mɨ]


โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น
ตราบใดที่เรายังคงอยู่
สิ่งใดที่พวกต่างด้าวมาพรากไป
เราจักทวงมาด้วยคมดาบ

I
Jeszcze Polska nie umarła,
Kiedy my żyjemy
Co nam obca moc wydarła,
Szablą odbijemy.


โปแลนด์ยังไม่มอดม้วย
ตราบใดที่เรายังคงอยู่
สิ่งใดที่ไท้ต่างด้าวมาพรากไป
เราจักนำกลับมาด้วยใบดาบ

Refren:
𝄆 Marsz, marsz, Dąbrowski,
Z ziemi włoskiej do Polski.
Za twoim przewodem
Złączym się z narodem. 𝄇

[ˈrɛf.rɛn]
[marʂ marʐ‿dɔm.ˈbrɔf.skʲi]
[z‿ˈʑɛ.mʲi ˈvwɔs.kʲjɛj dɔ ˈpɔl.skʲi]
[za ˈtfɔ.im pʂɛ.ˈvɔ.dɛm]
[ˈzwɔn.t͡ʂɨm ɕɛ z‿na.ˈrɔ.dɛm]

ประสานเสียง:
𝄆 หน้าเดิน หน้าเดิน ดอมบรอฟสกี
จากแดนอิตาลีสู่โปแลนด์
ภายใต้การบัญชาของท่าน
ชาติของเราจักเป็นหนึ่งอีกครั้ง 𝄇

Refren:
𝄆 Marsz, marsz, Dąbrowski
Do Polski z ziemi włoski
Za twoim przewodem
Złączym się z narodem. 𝄇

ประสานเสียง:
𝄆 หน้าเดิน หน้าเดิน ดอมบรอฟสกี
สู่โปแลนด์จากแดนอิตาลี
ภายใต้การบัญชาของท่าน
ชาติของเราจักเป็นหนึ่งอีกครั้ง 𝄇

II
Przejdziem Wisłę, przejdziem Wartę,
Będziem Polakami.
Dał nam przykład Bonaparte,
Jak zwyciężać mamy.

Refren

2
[ˈpʂɛj.d͡ʑɛm ˈvis.wɛ ˈpʂɛj.d͡ʑɛm ˈvar.tɛ]
[ˈbɛɲ.d͡ʑɛm pɔ.la.ˈka.mi]
[daw nam ˈpʂɨ.kwad‿bɔ.na.ˈpar.tɛ]
[jag‿zvɨ.ˈt͡ɕɛw̃.ʐat͡ɕ ˈma.mɨ]

[ˈrɛf.rɛn]


ข้ามแม่น้ำวิสวาและวาร์ตาได้
ความเป็นชาวโปลจักมีแก่เรา
โบนาปาร์ตชี้ทางให้เห็นแล้ว
ว่าเราจักคว้าชัยได้อย่างไร

ประสานเสียง

II
Przejdziem Wisłę, przejdziem Wartę
Będziem Polakami
Dał nam przykład Bonaparte
Jak zwyciężać mamy.

Refren


ข้ามแม่น้ำวิสวาและวาร์ตาได้
ความเป็นชาวโปลจักมีแก่เรา
โบนาปาร์ตชี้ทางให้เห็นแล้ว
ว่าเราจักคว้าชัยได้อย่างไร

ประสานเสียง

III
Jak Czarniecki do Poznania
Po szwedzkim zaborze,
Dla ojczyzny ratowania
Wrócim się przez morze.

Refren

3
[jak t͡ʂar.ˈɲɛt͡s.ki dɔ pɔ.ˈzna.ɲa]
[pɔ ˈʂfɛt͡s.kim za.ˈbɔ.ʐɛ]
[dla ɔj.ˈt͡ʂɨz.nɨ ra.tɔ.ˈva.ɲa]
[ˈvru.t͡ɕim ɕɛ pʂɛz‿ˈmɔ.ʐɛ]

[ˈrɛf.rɛn]


ดั่งคซาร์เนียสกีกลับสู่ปอซนัญ
เมื่อสวีเดนเข้ารุกราน
เพื่อกอบกู้ปิตุภูมิของท่าน
พวกเราจะกลับมาจากฟากทะเล

ประสานเสียง

III
Jak Czarniecki do Poznania
Wracał się przez morze
Dla ojczyzny ratowania
Po szwedzkim rozbiorze.

Refren


ดั่งคซาร์เนียสกีกลับสู่ปอซนัญ
ข้ามมาจากอีกฟากของทะเล
เพื่อกอบกู้ปิตุภูมิของท่าน
จากการรุกรานของสวีเดน

ประสานเสียง

 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 

IV
Niemiec, Moskal nie osiędzie,
Gdy jąwszy pałasza,
Hasłem wszystkich zgoda będzie
I ojczyzna nasza

Refren


มีหรือพวกเยอรมันฤๅรัสเซียจะนิ่งเฉยได้
เมื่อเรามีศัสตราวุธอยู่ในมือ
"ปรองดอง" ไซร้เป็นคำเตือนใจคนทุกเหล่า
เช่นเดียวกับปิตุภูมิของเรา

ประสานเสียง

IV
Już tam ojciec do swej Basi
Mówi zapłakany –
Słuchaj jeno, pono nasi
Biją w tarabany.

Refren

4
[juʂ tam ˈɔj.t͡ɕɛd͡z‿dɔ sfɛj ˈba.ɕi]
[ˈmu.vi za.pwaˈka.nɨ]
[ˈswu.xaj ˈjɛ.nɔ ˈpɔ.nɔ ˈna.ɕi]
[ˈbi.jɔw̃ f‿ta.ra.ˈba.nɨ]

[ˈrɛf.rɛn]


บิดากล่าวกับบาเซีย บุตรี
ทั้งน้ำตาอาบแก้มว่า
ฟังสิลูกเอ๋ย เขาลือ
ว่าคนหนุ่มพากันลั่นกลองรบ

ประสานเสียง

V
Już tam ojciec do swej Basi
Mówi zapłakany
Słuchaj jeno, pono nasi
Biją w tarabany.

Refren


บิดากล่าวกับบาเซีย บุตรี
ทั้งน้ำตาอาบแก้มว่า
ฟังสิลูกเอ๋ย เขาลือ
ว่าคนหนุ่มพากันลั่นกลองรบ

ประสานเสียง

 
 
 

 
 
 

 
 
 

VI
Na to wszystkich jedne głosy
Dosyć tej niewoli
Mamy racławickie kosy
Kościuszkę Bóg pozwoli.

Refren


ทุกคนกู่ก้อง
"พอกันทีกับการจองจำนี้!"
เรามีเคียวแห่งรัตสลาวิเซ
นำโดยท่านกอชชุชกอหากพระเจ้าประสงค์

ประสานเสียง

เชิงอรรถ

แก้
  1. ซึ่งชื่อหลังเป็นการเรียกขานเพลงนี้ตามเนื้อร้องวรรคแรก
  2. ดูเพิ่มที่Help:IPA/Polishและระบบเสียงของภาษาโปแลนด์

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้