มั่น พัธโนทัย
มั่น พัธโนทัย (เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร[1]
มั่น พัธโนทัย | |
---|---|
มั่น ในปี พ.ศ. 2553 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | สิทธิชัย โภไคยอุดม โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (รักษาการ) |
ถัดไป | ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ |
ถัดไป | บุญทรง เตริยาภิรมย์ |
เลขาธิการพรรคมาตุภูมิ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2557 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มกราคม พ.ศ. 2484 |
ประวัติ
แก้มั่น พัธโนทัย หรือ ดร.มั่น พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย (ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม)กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2484 มีพี่น้องกัน 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย(อดีตวุฒิสมาชิก) นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี ฟอร์น วังเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต
ดร.มั่น จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ (ที่1ของรุ่น) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ระดับปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากอเมริกัน ยูนิเวอร์ซิตี้(American University) ในปี พ.ศ. 2512 ปริญญาโททางรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแมริแลนด์(University of Maryland) ในปี พ.ศ. 2516 และระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคนชิงตัน แคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2522
นายมั่น มีบุตรสาวและบุตรชาย รวม 4 คน ได้แก่ นส.มนต์วลี พัธโนทัย , นาย สมรรถ พัธโนทัย, นาย สันต์ พัธโนทัย , นาย ชัชว์ พัธโนทัย
การเมือง
แก้ในทางการเมืองเขาได้ร่วมก่อตั้งพรรคสยามประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2526 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนแรก[2] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรปราการ 4 สมัย สมัยแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งต่อมาอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, มหาดไทย,พาณิชย์, เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรปราการ
มั่น พัธโนทัย เป็นนักการเมืองผู้ใกล้ชิดกับนายวัฒนา อัศวเหมอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายมั่น ได้กลับเข้าทำงานในพรรคราษฎร ในช่วงปี พ.ศ. 2553 และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคมาตุภูมิ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ[3] โดยในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 พรรคมาตุภูมิ[4]
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แก้มั่น พัธโนทัย ได้รับแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[5] ต่อมาภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งเกิดกรณีการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีของสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจของพรรคภูมิใจไทย จึงมีการปรับโควตารัฐมนตรีของพรรคเพื่อแผ่นดิน และดึงพรรคมาตภูมิ เข้าร่วมรัฐบาล โดยนายมั่น พัธโนทัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[6]
ยศกองอาสารักษาดินแดน
แก้- พ.ศ. 2533 นายกองตรี มั่น พัธโนทัย ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองโท มั่น พัธโนทัย[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526
- ↑ คณะกรรมการบริหารพรรคมาตุภูมิ[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
- ↑ ได้รับพระราชทานยศแห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองโท
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า | มั่น พัธโนทัย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สิทธิชัย โภไคยอุดม โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (รักษาการ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี |