มัสยิดอัลฮะรอม
มัสยิดอัลฮะรอม (อาหรับ: ٱَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ, อักษรโรมัน: al-Masjid al-Ḥarām, แปลตรงตัว 'มัสยิดต้องห้าม')[4] มีอีกชื่อว่า มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์[5] เป็นมัสยิดที่ล้อมรอบกะอ์บะฮ์ในมักกะฮ์ แคว้นมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นสถานที่แสวงบุญในพิธีฮัจญ์ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งถ้าสามารถทำได้ และในอุมเราะฮ์ที่สามารถทำในช่วงใดก็ได้ พิธีแสวงบุญทั้งสองแบบรวมการเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ในมัสยิด มัสยิดใหญ่ยังมีสถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ หินดำ, บ่อซัมซัม, มะกอมอิบรอฮีม และเนินเศาะฟาและมัรวะฮ์[6]
มัสยิดอัลฮะรอม | |
---|---|
อาหรับ: ٱَلْمَسْجِدُ ٱلْحَرَامُ | |
ภาพถ่ายทางอากาศของมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | อิสลาม |
นิกาย | มุสลิม |
หน่วยงานกำกับดูแล | Yasser Al-Dosari (อิหม่าม) อับดุรเราะห์มาน อัสซุดัยส์ (อิหม่าม) ซะอูด อัชชุร็อยม์ (อิหม่าม) อับดุลลอฮ์ อะวาด อัลญุฮะนี (อิหม่าม) มาฮิร อัลมุอัยกิลี (อิหม่าม) ศอเลียะห์ บิน อับดุลลอฮ์ อัลฮุมัยด์ (อิหม่าม) Faisal Ghazawi (อิหม่าม) Bandar Baleela (อิหม่าม) อะลี อะห์มัด มุลลา (หัวหน้ามุอัซซิน) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | มักกะฮ์ ฮิญาซ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย)[1] |
ผู้บริหาร | รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 21°25′21″N 39°49′34″E / 21.42250°N 39.82611°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | มัสยิด |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความจุ | 2.5 ล้านคน[2] |
หอคอย | 9 |
ความสูงหอคอย | 89 m (292 ft) |
พื้นที่ทั้งหมด | 356,000 ตารางเมตร (88 เอเคอร์) [3] |
ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2020[update] มัสยิดนี้เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผ่านการบูรณะและขยายมาหลายปี[7] โดยผ่านการปกครองของเคาะลีฟะฮ์ สุลต่าน และกษัตริย์หลายพระองค์ โดยปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมของพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย ผู้ดำรงพระบรมราชอิสริยยศผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง[8]
ประวัติศาสตร์
แก้มีการโต้แย้งว่ามัสยิดใดเก่าแก่ที่สุด ระหว่างมัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ มัสยิดอัศเศาะฮาบะฮ์ในมัสซาวา ประเทศเอริเทรีย[9] และมัสยิดกุบาอ์ในมะดีนะฮ์[10] ตามธรรมเนียมอิสลาม ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีมาก่อนศาสดามุฮัมมัด[11][12][13] โดยเผยแพร่ผ่านศาสดาหลายท่าน เช่น อิบรอฮีม[14] มุสลิมยกให้อิบรอฮีมเป็นผู้สร้างกะอ์บะฮ์ในมักกะฮ์ และภายหลังจัดตั้งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมุสลิมมองว่าเป็นมัสยิดแห่งแรก[15]เท่าที่เคยมีมา[16][17][18] ในขณะที่นักวิชาการกลุ่มอื่นรายงานว่า ศาสนาอิสลามปรากฏขึ้นในช่วงชีวิตของมุฮัมมัดในคริสต์ศตวรรษที่ 7[19] และส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างมัสยิดจึงปรากฏในภายหลัง ถ้าตามกรณีนี้ มัสยิดเศาะฮาบะฮ์[20] หรือมัสยิดกุบาอ์อาจเป็นมัสยิดแรกที่สร้างขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม[15]
สมัยอิบรอฮีมและอิสมาอีล
แก้รายงานจากอัลกุรอาน อิบรอฮีมกับอิสมาอีล ลูกของท่าน "ได้ก่อฐานของบ้านหลังนั้น"[21] ซึ่งนักอธิบายหลายคน[โดยใคร?]ระบุเป็น กะอ์บะฮ์ หลังอิบรอฮีมสร้างกะอ์บะฮ์เสร็จ มีเทวทูตนำหินดำมาให้ท่าน ซึ่งตามธรรมเนียมระบุว่าเป็นหินที่ตกลงมาจากสวรรค์ ลงไปยังบริเวณใกล้ ๆ เนินอะบุ กุบัยส์[ต้องการอ้างอิง] นักวิชาการอิสลามเชื่อว่าหินดำเป็นสิ่งเดียวที่ยังคงเหลือจากการก่อสร้างครั้งแรก[ต้องการอ้างอิง]
หลังตั้งหินดำที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์แล้ว พระเจ้าตรัสแก่อิบรอฮีมว่า “และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง"[22]
สมัยมุฮัมมัด
แก้จนกระทั่งมุฮัมมัดยึดครองมักกะฮ์ในค.ศ.630 ท่านและอะลีทำลายรูปปั้นทั้งหมดตามที่กุรอานได้กล่าวไว้[23] เป็นจุดสิ้นสุดของพหุเทวนิยมและเริ่มการปกครองแบบเอกเทวนิยม.[24][25][26][27]
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
แก้การปรับปรุงครั้งแรกเริ่มในปีค.ศ.692 โดยอับดุลมาลิก อิบนุ มัรฺวาน[28] หลังจากศตวรรษที่ 8 เสามัสยิดถูกเปลี่ยนเป็นกระเบี้องโดยอัลวะลีดที่ 1[29][30]
ราชวงศ์ออตโตมัน
แก้ในปีค.ศ. 1570 สุลต่านเซลิมที่ 2 และมิมาร ซินาน ปรับปรุงมัสยิด โดยสิ่งก่อสร้างนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน
สมัยซาอุดีอาระเบีย
แก้การขยายครั้งใหญ่เกิดขึ้นระหว่าง 1955 และ 1973 โดยเพิ่มหออะซานสี่หอ เปลี่ยนเพดาน และพื้นให้สวยขึ้น ในระหว่างการปรับปรุงมีหลายอย่างที่สร้างในสมัยออตโตมันถูกทำลาย
ปัจจุบัน
แก้ในปี 2007 มีการขยายมัสยิดที่จะเสร็จในปี 2020 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอห์ บิน อับดัลอะซิซ อาล สะอูดเพื่อเพิ่มความจุกว่าสองล้านคน อย่างไรก็ตามพระองค์สวรรคตในปี 2015 หลังจากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูดได้ดำเนินโครงการต่อ[31] โดยในปี 2016 โดยมีค่าใช้จ่ายกว่าหนึ่งแสนล้านดอลลาร์[32]
การทำลายสถานที่ทางประวัติศาสตร์
แก้มีข้อโต้เถียงบางส่วนว่าโครงการขยายมัสยิดอัลฮะรอมและมักกะฮ์ทำให้เกิดความเสียหายต่อสถานที่สำคัญในยุคต้นของศาสนาอิสลาม อาคารสมัยโบราณหลายหลังที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ถูกรื้อทำลายเพื่อให้พื้นที่สำหรับการขยาย ตัวอย่างบางส่วนมีดังนี้:[33][34]
- ดารุลอัรกอม โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรกที่มุฮัมมัดให้คำสอน ปัจจุบันถูกรื้อเพื่อปูกระเบี้องหินอ่อน[ต้องการอ้างอิง]
- บ้านของอะบูญะฮัลถูกทำลายและสร้างเป็นห้องน้ำสาธารณะ[ต้องการอ้างอิง]
- โดมเหนือบ่อซัมซัมถูกทำลาย[ต้องการอ้างอิง]
- มีการรื้อซุ้มประตูสมัยออตโตมันบางส่วน[35]
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Location of Masjid al-Haram". Google Maps. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 24 September 2013.
- ↑ "AL HARAM". makkah-madinah.accor.com.
- ↑ Daye, Ali (21 March 2018). "Grand Mosque Expansion Highlights Growth of Saudi Arabian Tourism Industry (6 mins)". Cornell Real Estate Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
- ↑ Denny, Frederick M. (9 August 1990). Kieckhefer, Richard; Bond, George D. (บ.ก.). Sainthood: Its Manifestations in World Religions. University of California Press. p. 69. ISBN 9780520071896. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2021. สืบค้นเมื่อ 18 August 2019.
- ↑ "Great Mosque of Mecca | History, Expansion, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
- ↑ อัลกุรอาน 3:97 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
- ↑ "Mecca crane collapse: Saudi inquiry into Grand Mosque disaster". BBC News. 12 September 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2015. สืบค้นเมื่อ 12 February 2019.
- ↑ "Is Saudi Arabia Ready for Moderate Islam? - Latest Gulf News". www.fairobserver.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 November 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-11-25.
- ↑ Reid, Richard J. (12 January 2012). "The Islamic Frontier in Eastern Africa". A History of Modern Africa: 1800 to the Present. John Wiley and Sons. p. 106. ISBN 978-0470658987. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ Palmer, A. L. (2016-05-26). Historical Dictionary of Architecture (2 ed.). Rowman & Littlefield. pp. 185–236. ISBN 978-1442263093. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
- ↑ Esposito, John (1998). Islam: The Straight Path (3rd ed.). Oxford University Press. pp. 9, 12. ISBN 978-0-19-511234-4.
- ↑ Esposito (2002b), pp. 4–5.
- ↑ Peters, F.E. (2003). Islam: A Guide for Jews and Christians. Princeton University Press. p. 9. ISBN 978-0-691-11553-5.
- ↑ Alli, Irfan (2013-02-26). 25 Prophets of Islam. eBookIt.com. ISBN 978-1456613075. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
- ↑ 15.0 15.1 Palmer, A. L. (2016-05-26). Historical Dictionary of Architecture (2nd ed.). Rowman & Littlefield. pp. 185–236. ISBN 978-1442263093. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 22 October 2018.
- ↑ Michigan Consortium for Medieval and Early Modern Studies (1986). Goss, V. P.; Bornstein, C. V. (บ.ก.). The Meeting of Two Worlds: Cultural Exchange Between East and West During the Period of the Crusades. Vol. 21. Medieval Institute Publications, Western Michigan University. p. 208. ISBN 978-0918720580. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
- ↑ Mustafa Abu Sway. "The Holy Land, Jerusalem and Al-Aqsa Mosque in the Qur'an, Sunnah and other Islamic Literary Source" (PDF). Central Conference of American Rabbis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-28.
- ↑ Dyrness, W. A. (2013-05-29). Senses of Devotion: Interfaith Aesthetics in Buddhist and Muslim Communities. Vol. 7. Wipf and Stock Publishers. p. 25. ISBN 978-1620321362. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
- ↑ Watt, William Montgomery (2003). Islam and the Integration of Society. Psychology Press. p. 5. ISBN 978-0-415-17587-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 9 February 2019.
- ↑ Reid, Richard J. (12 January 2012). "The Islamic Frontier in Eastern Africa". A History of Modern Africa: 1800 to the Present. John Wiley and Sons. p. 106. ISBN 978-0470658987. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ อัลกุรอาน 2:127 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
- ↑ "Quran 22:27". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2016.
- ↑ อัลกุรอาน 21:57–58
- ↑ Mecca: From Before Genesis Until Now, M. Lings, pg. 39, Archetype
- ↑ Concise Encyclopedia of Islam, C. Glasse, Kaaba, Suhail Academy
- ↑ Ibn Ishaq, Muhammad (1955). Ibn Ishaq's Sirat Rasul Allah – The Life of Muhammad Translated by A. Guillaume. Oxford: Oxford University Press. pp. 88–9. ISBN 9780196360331.
- ↑ Karen Armstrong (2002). Islam: A Short History. p. 11. ISBN 0-8129-6618-X.
- ↑ Guidetti, Mattia (2016). In the Shadow of the Church: The Building of Mosques in Early Medieval Syria: The Building of Mosques in Early Medieval Syria (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 113. ISBN 9789004328839. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ Petersen, Andrew (2002). Dictionary of Islamic Architecture (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781134613656. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ Ali, Wijdan (1999). The Arab Contribution to Islamic Art: From the Seventh to the Fifteenth Centuries (ภาษาอังกฤษ). American Univ in Cairo Press. ISBN 9789774244766. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
- ↑ Ambitious new architecture plan for Al-Masjid Al-Haram
- ↑ https://www.telegraph.co.uk/travel/lists/the-worlds-most-expensive-buildings/masjid-al-haram-mecca-saudi-arabia/
- ↑ Taylor, Jerome (24 September 2011). "Mecca for the Rich: Islam's holiest site turning into Vegas". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 5 December 2017.
- ↑ Abou-Ragheb, Laith (12 July 2005). "Dr.Sami Angawi on Wahhabi Desecration of Makkah". Center for Islamic Pluralism. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 November 2010.
- ↑ "Ottoman Portico Demonstrates Kurşun's Lack of Knowledge of Historical Sources". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). 2020-07-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-08.