มะค่าแต้

สปีชีส์ของพืช

มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม มะค่าหลุม มะค่าลิง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sindora siamensis) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminosae ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ฝักแบนหรือกลมแบน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E. Teijsmann ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย กระจายพันธุ์ในมาเลเซียตะวันตก ไทย, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และบังกลาเทศ[3]

มะค่าแต้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: ถั่ว
Fabales
วงศ์: ถั่ว
Fabaceae
สกุล: สกุลมะค่าแต้
Sindora
Teijsm. ex Miq., Ann. Mus. Bot. Lugduno-Batavi 3: 86 (1867)[2]
สปีชีส์: Sindora siamensis
ชื่อทวินาม
Sindora siamensis
Teijsm. ex Miq., Ann. Mus. Bot. Lugduno-Batavi 3: 86 (1867)[2]
ชื่อพ้อง
  • Galedupa cochinchinensis (Baill.) Prain[3]
  • G. siamensis (Teijsm.) Prain
  • Grandiera cochinchinensis Leféb. ex Baill.[3]
  • Sindora cochinchinensis Baill.[3]
  • Sindora siamensis var. siamensis
  • S. wallichii var. siamensis (Teijsm.) Baker

ในภาคอีสานของไทยมีมะค่าแต้สองสายพันธุ์คือแต้โหลน ฝักแบบรูปไข่ ไม่มีหนาม และแต้หนาม ฝักแบนรูปไข่ มีหนาม นิยมใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้าง ของใช้ เปลือกนำมาแช่น้ำให้ได้น้ำสีน้ำตาลแดง ใช้แช่แผลจากการคลอดบุตรให้สมานตัวเร็ว ไม่ติดเชื้อ ใบใช้แทนช้อนในการตักอาหารที่มีน้ำเช่นแกงได้[4]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 80
  1. Choo, L.M. (2021). "Sindora siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T33242A2835471. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T33242A2835471.en. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
  2. "Sindora siamensis Teijsm. ex Miq., Ann. Mus. Bot. Lugduno-Batavi 3: 86 (1867)". International Plant Name Index (IPNI). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Sindora siamensis Teijsm. ex Miq". Plants of the World Online (POWO). Royal Botanic Gardens, Kew/Science. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  4. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 73 - 75