มหาสฟิงซ์แห่งกีซา (อังกฤษ: The Great Sphinx of Giza) คือรูปสฟิงซ์ สัตว์ในตำนานที่มีหัวเป็นมนุษย์และร่างกายเป็นสิงโต[1] ที่ผ่านการแกะสลักบนหินปูน มีท่าเอนกายในแนวทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงกีซาที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในเมืองกีซา ประเทศอียิปต์ ใบหน้าของสฟิงซ์ดูเหมือนจะเป็นตัวแทนของฟาโรห์คาเฟร[2]

มหาสฟิงซ์
มหาสฟิงซ์ตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
มหาสฟิงซ์
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอียิปต์
ที่ตั้งกีซา
ภูมิภาคประเทศอียิปต์
พิกัด29°58′31″N 31°08′16″E / 29.97528°N 31.13778°E / 29.97528; 31.13778
ความยาว73 เมตร (240 ฟุต)
ความกว้าง19 เมตร (62 ฟุต)
ความสูง20 เมตร (66 ฟุต)
ความเป็นมา
วัสดุหินปูน
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพฟื้นฟูบางส่วน

รูปร่างเดิมของสฟิงซ์สลักจากหินดาน ที่ภายหลังฟื้นฟูด้วยบล็อกหินปูน[3] มีความยาวจากเท้าหน้าไปที่หาง 73 เมตร (240 ฟุต) ความสูงจากฐานไปยังหัวที่ 20 เมตร (66 ฟุต) และความกว้างตรงโหนกหลังที่ 19 เมตร (62 ฟุต)[4] จมูกของมันหักโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึง 10

สฟิงซ์เป็นมหาประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในอียิปต์ และเป็นหนึ่งในรูปปั้นที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก หลักฐานทางโบราณคดีกล่าวแนะว่ารูปปั้นนี้สร้างขึ้นโดยชาวอียิปต์โบราณในราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์รัชสมัยฟาโรห์คาเฟร (ป. 2558–2532 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[5][6][7]

ที่มาของชื่อ"สฟิงซ์"

แก้

ไม่มีใครทราบชื่อเดิมของสฟิงซ์ที่ผู้สร้างในสมัยราชอาณาจักรเก่าตั้งไว้ เนื่องจากวิหารสฟิงซ์ที่ปิดหรืออาจเป็นสฟิงซ์ในเวลานั้นยังสร้างไม่เสร็จ ทำให้วัสดุทางวัฒนธรรมจึงมีจำกัด[8] ในสมัยราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ สฟิงซ์ได้รับการบูชาเป็นเทพสุริยะ Hor-em-akhet ("ฮอรัสแห่งขอบฟ้า"; แผลงเป็นกรีก: Harmachis)[9] และฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 (1401–1391 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือ 1397–1388 ปีก่อนคริสต์ศักราช)[a] ทรงกล่าวถึงสิ่งนี้เป็นการเฉพาะในศิลาจารึกแห่งความฝัน[10]

ส่วน "สฟิงซ์" ชื่อที่มีการใช้ทั่วไป มีที่มาจากสมัยคลาสสิก ประมาณ 2,000 ปีหลังการก่อสร้าง โดยอิงจากปีศาจในเทพปกรณัมกรีกที่มีหัวผู้หญิง นกเหยี่ยว แมว หรือแกะ และตัวเป็นสิงโตที่มีปีกของอินทรี (ถึงแม้ว่ามหาสฟิงซ์จะมีหัวเป็นมมุษย์และไม่มีปีกเหมือนกับสฟิงซ์อียิปต์ก็ตาม)[11] ศัพท์ภาษาอังกฤษของ sphinx มาจากภาษากรีกโบราณว่า Σφίγξ (ถอดเป็นอักษรโรมัน: sphinx) จากรูปกริยา σφίγγω (ถอดเป็นอักษรโรมัน: sphingo / บีบ) ตามสฟิงซ์กรีกที่จะรัดคอใครก็ตามที่ไม่สามารถตอบปริศนาคำทายได้[ต้องการอ้างอิง]

นักเขียนชาวอาหรับสมัยกลาง ซึ่งรวมถึง อัลมักรีซี เรียกสฟิงซ์จากภาษาคอปติกที่ถูกแผลงเป็นอาหรับว่า บิลฮีบ (อาหรับ: بلهيب) และ บิลฮะวียะฮ์ (อาหรับ: بلهويه)[12] ซึ่งมาจาก อียิปต์โบราณ: pꜣ-Ḥwr ชื่อเทพเฮารูนของชาวคานาอันที่มีการระบุถึงตัวสฟิงซ์ ชื่อภาษาอาหรับอียิปต์สมัยใหม่เรียกเป็น أبو الهول (อะบู อัลโฮล / อะบู อัลเฮาล์ สัทอักษรสากล: [ʔabu alhoːl], "ผู้น่ากลัว"; แปลว่า "บิดาแห่งความกลัว") ซึ่งตรงกับชื่อในภาษาคอปติก[13]

ประวัติ

แก้
 
ภาพ มหาสฟิงซ์ ถูกทรายทับถมบันทึกเมื่อปี ค.ศ. 1867

ประมาณ 1 พันปีต่อมา หลังจากยุคสมัยของฟาโรห์คาเฟรที่มหาสฟิงซ์ถูกสร้างขึ้น มหาสฟิงซ์ถูกพายุทรายพัดทับถมจนเหลือให้เห็นเพียงส่วนหัว เล่ากันว่ามีเทพเจ้ามาเข้าฝัน เจ้าชายธุตโมส บอกให้พระองค์นำทรายที่ทับถมมหาสฟิงซ์ออก หากทำตามจะส่งผลให้ พระองค์ได้เป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ มหาสฟิงซ์ จึงได้รับการดูแลรักษาเป็นครั้งแรก

เจ้าชายธุตโมสนี้ ต่อมาได้ขึ้นครองอียิปต์เป็น ฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 (Thutmose IV) แห่งราชวงศ์ที่ 18 นับเป็นฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง หลังยุคสมัยของฟาโรห์ธุสโมซิสที่ 4 ในเวลาต่อมา มหาสฟิงซ์ ก็ถูกทรายทับถมอีก และได้รับการดูแลรักษาขึ้นมาใหม่ จนเห็นเต็มตัวในปัจจุบัน

ปัจจุบันใบหน้ามหาสฟิงซ์ ถูกทำลายจนแทบสังเกตรายละเอียดไม่ออก ร่ำลือกันว่า เกิดจากทหารของ นโปเลียน ที่มาอียิปต์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ใช้ใบหน้าของมหาสฟิงซ์ เป็นเป้าซ้อมยิงปืน ทำให้รูปงูแผ่แม่เบี้ยที่หน้าผากชำรุดเสียหาย จมูกแหว่ง และเคราหลุด อย่างไรก็ตามจากหลักฐานภาพวาดเก่าแก่เมื่อ 400 ปีก่อน พบว่าจมูกของมหาสฟิงซ์ชำรุด ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว และมีบันทึกของอาหรับว่า ใบหน้าสฟิงซ์ถูกทำลาย ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้ายุคสมัยของ นโปเลียน หลายร้อยปี

คำถามที่นักโบราณคดีกระแสหลักยังคงตามหาคำตอบกันอยู่ก็คือ เอกสารของอัล-มักริสีที่พูดถึงการกระทำของกลุ่มมุสลิมซูฟียฺนั้นเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน มูฮัมหมัดจะเป็นคนร้ายตัวจริงในการกระทำครั้งนี้หรือไม่ ตอนนี้เรายังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนชิ้นใดพูดถึงการทำลายจมูกของสฟิงซ์ที่เก่าแก่ไปกว่าหลักฐานของอัล-มักริสี ดังนั้นตอนนี้ถ้าถามว่าใครเป็นต้นเหตุให้จมูกของสฟิงซ์บี้แบนเช่นนี้แล้วละก็ คนร้าย(เป็นการชั่วคราว)ของคดีนี้ก็คือมูฮัมหมัด ซา’อิม อัล-ดาห์ร (Muhammad Sa'im al-Dahr) จากกลุ่มมุสลิมซูฟียฺนั่นเอง ซึ่งถูกจับแขวนคอใน ข้อหาทำลายทรัพย์สินของรัฐอย่างไร้เหตุผลเมื่อปี 1378 (พ.ศ. 1921).

นอกจากนี้ยังร่ำลือกันว่า ชิ้นส่วนของจมูกและเครามหาสฟิงซ์ ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และทางการอียิปต์ ได้พยายามดำเนินการทวงถาม เพื่อนำกลับคืนประเทศอียิปต์แต่ยังไม่เป็นผล เรื่องชิ้นส่วนจมูกและเคราของมหาสฟิงซ์นั้น ความจริงปรากฏว่า ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อังกฤษ ได้เก็บรักษา "ส่วนหนึ่ง" ของ เครามหาสฟิงซ์ ที่มีความยาวประมาณ 78 เซนติเมตรเอาไว้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "The Great Sphinx of Giza". Ancient History Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2016-12-07.
  2. Sims, Lesley (2000). "The Great Pyramids". A Visitor's Guide to Ancient Egypt. Saffron Hill, London: Usborne Publishing. p. 17. ISBN 0-7460-30673.
  3. "Saving the Sphinx – NOVA | PBS". pbs.org. สืบค้นเมื่อ 2016-12-07.
  4. Rigano, Charles (2014). Pyramids of the Giza Plateau. p. 148. ISBN 9781496952493.
  5. "Sphinx Project « Ancient Egypt Research Associates". 10 September 2009. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  6. Dunford, Jane; Fletcher, Joann; French, Carole (ed., 2007). Egypt: Eyewitness Travel Guide เก็บถาวร 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. London: Dorling Kindersley, 2007. ISBN 978-0-7566-2875-8.
  7. Lehner 1991.
  8. Lehner 1991, p. 96.
  9. Hawkes, Jacquetta (1974). Atlas of Ancient Archaeology. McGraw-Hill Book Company. p. 150. ISBN 0-07-027293-X.
  10. Bryan, Betsy M. (1991) The Reign of Thutmose IV. The Johns Hopkins University Press. pp. 145–146
  11. "sphinx | mythology". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2016-12-07.
  12. "ص229 - كتاب المواعظ والاعتبار بذكر الخطط والآثار - ذكر الصنم الذي يقال له أبو الهول - المكتبة الشاملة الحديثة". al-maktaba.org. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  13. Peust, Carsten. "Die Toponyme vorarabischen Ursprungs im modernen Ägypten" (PDF). p. 46.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้