มนัส เศียรสิงห์

มนัส เศียรสิงห์ (15 ตุลาคม พ.ศ. 2497 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น แดง ศิลปิน นักวาดภาพ เป็นนักกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา และถูกกระสุนปืนเสียชีวิต บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา

มนัส เศียรสิงห์
เกิด15 ตุลาคม พ.ศ. 2497
อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
เสียชีวิต6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (21 ปี)
กรุงเทพมหานคร
สาเหตุเสียชีวิตถูกยิงในเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลาฯ
อาชีพนักศึกษา, จิตรกร

ประวัติ

แก้

มนัส เป็นชาวตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายมณี เศียรสิงห์ และนางสงกรานต์ เกาะทอง [1] เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพที่ โรงเรียนกรุงเทพวิจิตรศิลป์ และเข้าร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและเดินขบวน ช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และได้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในขบวนการนักศึกษาประชาชนระยะนั้น ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อแผนกประติมากรรมสากล คณะวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยเพาะช่าง ระหว่างศึกษา ได้สมัครเป็นสมาชิก แนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2519

มนัส เศียรสิงห์ ถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิตพร้อมกับเพื่อนนักศึกษาอีกสองสามคน ขณะทำหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัย [1][2] บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเวลารุ่งสางของวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

รางวัล มนัส เศียรสิงห์ “แดง”

แก้

ในปี พ.ศ. 2544 ฝ่ายศิลปกรรม สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้ริเริ่มมอบรางวัล เพื่อมุ่งหวังส่งเสริมคนทำงานศิลปะ ที่มีความคิดและอุดมการณ์ เนื่องในวาระครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 [3] ใช้ชื่อว่า รางวัล มนัส เศียรสิงห์ “แดง” (Red Art Award) โดยมีวาระการมอบรางวัล 5 ปี ต่อครั้ง มี 2 ประเภท คือ รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” และ รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินเกียรติยศ โดยมุ่งเน้นที่การทำงานอย่างต่อเนื่องของศิลปิน[4]

รายนามผู้รับรางวัล

แก้
  • ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2544
  • ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2549 [5]
  • ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2554[6]
    • รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินเกียรติยศ
      • สุรพล ปัญญาวชิระ
    • รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง”
      • ไม่มีผู้ได้รับรางวัล
  • ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2560[7]
    • รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” ศิลปินเกียรติยศ
      • เลอพงษ์ พุฒิชาติ
      • สมชาย วัชระสมบัตร
    • รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง”
      • จิตติมา ผลเสวก
      • พิน สาเสาร์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 มนัส เศียรสิงห์ เป็นใคร[ลิงก์เสีย] สิงห์สนามหลวงสนทนา, เนชั่นสุดสัปดาห์, 2 มิถุนายน 2549
  2. บันทึกเหตุการณ์ 6 ตุลา
  3. "รางวัล มนัส เศียรสิงห์ "แดง" เกียรติแห่งคนทำงานศิลปะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-26.
  4. โครงการรางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” RED ART AWARD สถาบันปรีดี พนมยงค์
  5. "รางวัล มนัส เศียรสิงห์ "แดง" ครั้งที่ 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-09-26.
  6. matichon (2016-05-28). ""สินธุ์สวัสดิ์" แจง รางวัลมนัส เศียรสิงห์ "แดง" บอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าศิลปินยังมีจุดยืน"ประชาธิปไตย"อยู่หรือไม่". มติชนออนไลน์.
  7. "หน้า 34 – สำนักข่าวชายขอบ : transbordernews". webcache.googleusercontent.com.