ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์
ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอดีตโฆษกกระทรวงยุติธรรม
ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 179 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศุภชัย โพธิ์สุ |
เลขาธิการพรรคเพื่อชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน พ.ศ. 2564 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | |
ก่อนหน้า | ลินดา เชิดชัย |
ถัดไป | ลินดา เชิดชัย |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507 อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–2554) ชาติไทยพัฒนา (2554–2557) เสรีรวมไทย (2557–2561) เพื่อชาติ (2561–2565) เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษา ปริญญาโทสาขาการจัดการระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยนิวพอร์ต ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
แก้การเมือง
แก้ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เข้าร่วมงานการเมืองครั้งแรกในปี 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในนามพรรคประชาธิปัตย์[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 ลำดับที่ 9 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อ สุขุมพงศ์ โง่นคำ ลาออก เขาจึงได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน[2] กระทั่งในปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน[3] เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนกับ ศุภชัย โพธิ์สุ [4] แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าทั้งศุภชัย และภูมิพัฒน์ แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
ในปี 2562 ภูมิพัฒน์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ[5] ในปี 2564
ภูมิพัฒน์ ถูกกล่าวถึงในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปี 2563 ว่าอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนให้ลงสมัคร[6] นายก อบจ.นครพนม แต่ท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยก็ให้การสนับสนุน นายสมชอบ นิติพจน์ อดีตนายก อบจ.นครพนม ลงสมัครแทน
ต่อมา ภูมิพัฒน์ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการวางตัวให้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 1[7] และได้รับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566 ในที่สุด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ภูมิพัฒน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคภูมิใจไทย (เลื่อนแทน)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย
ธุรกิจ
แก้ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เป็นประธานกรรมการ บริษัท โนบิชา กรุ๊ป จำกัด หรือธุรกิจแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกในชื่อ "โนบิชา" [8] เนื่องจากภูมิพัฒน์เป็นผู้ที่ชื่นชอบดื่มชา จึงได้พัฒนาสูตรและต่อยอดเป็นธุรกิจร้านชาไข่มุกที่เป็นที่รู้จักกันดี โดยเครื่องหมายการค้าของโนบิชาซึ่งเป็นรูปเด็กผู้ชายใส่แว่นตา นำมาจากตัวนายภูมิพัฒน์เอง [9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ระอุ! เจาะสนามเลือกตั้ง เขต 1 นครพนม ‘ครูแก้ว’ แชมป์เก่า สู้สูสีวัดพลัง ‘เพื่อไทย’
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
- ↑ เอเอสทีวีผู้จัดการ, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
- ↑ นครพนมแข่งเดือด! วัดบารมีบิ๊กสีน้ำเงิน "ครูแก้ว" ศุภชัย โพธิ์สุ
- ↑ พี่สาว‘ยงยุทธ ติยะไพรัช’ นั่งหัวหน้า ‘เพื่อชาติ’ ส่วน ‘ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์’ นั่งเลขาฯ
- ↑ ศึกชิงนายก อบจ.นครพนมเดือด “ครูแก้ว” ส่งลูกสาววัดบารมี “ดร.สมชอบ” ด้าน “ณพจน์ศกร” ได้แรงหนุนจากคณะก้าวหน้า
- ↑ สะเทือนทั้งอีสานแค่ อุ๊งอิ๊งเว่า "สำบายดีบ้อ".
- ↑ โนบิชา
- ↑ ประวัติของโนบิชา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓