ภาษาเวลส์
ภาษาเวลส์ (อังกฤษ: Welsh; เวลส์: Cymraeg, [kəmˈraːiɡ] ( ฟังเสียง) หรือ y Gymraeg, [ə ɡəmˈraːiɡ]) เป็นภาษาเคลต์ในกลุ่มย่อยบริตันที่พูดโดยชาวเวลส์ ภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ในประเทศเวลส์ ประเทศอังกฤษบางพื้นที่ และใน Y Wladfa (นิคมเวลส์ในจังหวัดชูบุต ประเทศอาร์เจนตินา)[7]
ภาษาเวลส์ | |
---|---|
Cymraeg, y Gymraeg | |
ออกเสียง | [kəmˈraːiɡ] |
ภูมิภาค | สหราชอาณาจักร (ประเทศเวลส์, ประเทศอังกฤษ), ประเทศอาร์เจนตินา (จังหวัดชูบุต) |
ชาติพันธุ์ | ชาวเวลส์ |
จำนวนผู้พูด |
|
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | |
ภาษาถิ่น | |
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ประเทศเวลส์ |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ประเทศอาร์เจนตินา (จังหวัดชูบุต) |
ผู้วางระเบียบ |
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | cy |
ISO 639-2 | wel (B) cym (T) |
ISO 639-3 | cym |
Linguasphere | 50-ABA |
ประชากรที่พูดภาษาเวลส์ในประเทศเวลส์ตามสำมะโน ค.ศ. 2021 | |
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลก (2010) ของยูเนสโกจัดให้ภาษาเวลส์เป็นภาษาที่มีความเสี่ยง[6] | |
ในอดีตมีหลายชื่อในภาษาอังกฤษ ได้แก่ "บริเตน" (British)[8] "Cambrian"[9] "Cambric"[10] และ "Cymric".[11]
ปัจจุบันภาษาเวลส์เป็นภาษาที่อยู่ระหว่างการถูกฟื้นฟู หลังจากที่เสื่อมโทรมมาหลายศตวรรษเพราะการปกครองของอังกฤษ โดยเฉพาะหลังจากการผ่าน พรบ. Laws in Wales Act ในปี ค.ศ. 1535 เพื่อผนวกเวลส์เข้ามาเป็นแผ่นดินเดียวและอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันกับอังกฤษ การฟื้นฟูความคิดชาตินิยมในเวลส์ระหว่างศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคชาตินิยมเวลส์ หรือ ไพลด์คัมรี (Plaid Cymru) ในปี ค.ศ. 1925 และสมาคมภาษาเวลส์ในปี 1962 ได้กระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูภาษาเวลส์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1993 รัฐสภาของสหราชอาณาจักรผ่าน Welsh Language Act 1993 เพื่อรับรองว่าภาษาเวลส์จะได้รับการปฏิบัติเทียบเท่ากับภาษาอังกฤษในภาครัฐอย่างพอสมควรแก่เหตุ และเท่าที่จะเป็นไปได้
แม้ตามสถิติอย่างเป็นทางการจะมีผู้ที่รู้ภาษาเวลส์ราว 7 แสนคนทั่วสหราชอาณาจักร หรือประมาณร้อยละ 19 ของของประชากรเวลส์ แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาภาษาเวลส์จากหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับในโรงเรียน แต่ไม่ใช่ประชากรที่พูดเวลส์เป็นภาษาแม่ หรือสามารถใช้ภาษาเวลส์ในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้แม้ว่าภาษาเวลส์จะมีสถานะเป็นภาษาทางการ (de jure) แต่ภาษาอังกฤษก็ยังคงถูกพูดและใช้อย่างแพร่หลายทั้งในทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ กฎหมาย ทางสังคมและวัฒนธรรม[12]
ตัวอย่าง
แก้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1:
Genir pawb yn rhydd ac yn gydradd â'i gilydd mewn urddas a hawliau. Fe'u cynysgaeddir â rheswm a chydwybod, a dylai pawb ymddwyn y naill at y llall mewn ysbryd cymodlon. [13] |
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ[14] |
อ้างอิง
แก้- ↑ Hywel Jones. "Estimation of the number of Welsh speakers in England" (PDF). calls.ac.uk.
- ↑ Devine, Darren (2013-03-30). "Patagonia's Welsh settlement was 'cultural colonialism' says academic". Wales Online. Cardiff: Trinity Mirror. สืบค้นเมื่อ 6 May 2017.
Now, though 50,000 Patagonians are thought to be of Welsh descent, the number of Welsh speakers is believed to be between only 1,500 and 5,000.
- ↑ "Wales and Patagonia". Wales.com – The official gateway to Wales. Welsh Government. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2016.
Today the province of Chubut, where most Welsh immigrants settled, has a population of 550,000 people. Of these, some 50,000 can claim Welsh ancestry and 5,000 speak the Welsh language.
- ↑ "Population of immigrant mother tongue families, showing main languages comprising each family, Canada, 2011". Statistics Canada. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
- ↑ "Cultural diversity: Census 2021". Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 8 October 2023.
- ↑ "Atlas of the world's languages in danger". UNESCO Digital Library. p. 183. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
- ↑ Edwards, Huw. "Why do they speak Welsh in South America?". BBC iWonder. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2017.
- ↑ E.g. in the Act of Uniformity 1662 (13–14 Chas. II, c. 55) §27: "That the Book [of Common Prayer] hereunto annexed be truly and exactly translated into the British or Welsh tongue."
- ↑ Nolan, Edward Henry (1859). Great Britain As It Is. London: John Lane & Co. p. 47. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2018.
- ↑ Jackson, John (1752). Chronological Antiquities. Vol. III. London: J Noon. p. 143.
- ↑ Walter Thomas, Mrs D; Hughes, Edward (1879), The Cymric Language, Cardiff: D Duncan & Sons
- ↑ "National Assembly for Wales (Official Languages) Act 2012". www.legislation.gov.uk. The National Archives. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2018.
The official languages of the Assembly are English and Welsh.
- ↑ "OHCHR | Universal Declaration of Human Rights - Welsh (Cymraeg)". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
- ↑ "Universal Declaration of Human Rights". United Nations.
ข้อมูล
แก้- J.W. Aitchison; H. Carter (2000). Language, Economy and Society. The changing fortunes of the Welsh Language in the Twentieth Century. Cardiff. University of Wales Press.
- J.W. Aitchison; H. Carter (2004). Spreading the Word. The Welsh Language 2001. Y Lolfa.
อ่านเพิ่ม
แก้- Bell, Elise; Archangeli, Diana B.; Anderson, Skye J.; Hammond, Michael; Webb-Davies, Peredur; Brooks, Heddwen (2021). "Northern Welsh". Illustrations of the IPA. Journal of the International Phonetic Association: 1–24. doi:10.1017/S0025100321000165, with supplementary sound recordings.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Welsh Language (Wales) Measure 2011: available in Welsh and **English.
- Welsh Language Commissioner
- Welsh language at Omniglot
- Welsh Language Board: The Vitality of Welsh: A Statistical Balance Sheet, August 2010
- Link for Welsh language statistics from the Welsh Assembly Government (accessed 10 January 2009)
- Example knowledge of Welsh (KS25) data (Newport) from the Office for National Statistics