ภาษาเนเดบัง เป็นภาษากลุ่มปาปวนใช้พูดในหมู่บ้านบาลุนกาดาและบัวลังทางตะวันออกของเกาะปันตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย และในอาอีร์ ปานัส ภาษานี้มีชื่อเรียกว่า กลามู หมายถึงเผ่า (ตรงกับภาษาอินโดนีเซีย: ซูกู) ชาวกลามูอพยพมาจากเนเดบังมายังบริเวณที่อยู่ในปัจจุบันก่อนอินโดนีเซียได้รับเอกราช ประมาณ พ.ศ. 2473 ศาสนามีบทบาทสำคัญต่อสถานะสังคมและการเปลี่ยนแปลงของภาษา ชาวกลามูในบาลุนบาดาเป็นชาวคริสต์ในขณะที่กลุ่มที่อยู่ในบัวลังและ อาอีร์ ปานัส เป็นมุสลิม และมีกลุ่มผู้อพยพที่พูดภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพมาจากบารานูซารวมอยู่ด้วย ภาษาเนเดบังเป็นภาษาที่ใกล้ตาย ไม่ใคร่มีการใช้ในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในบ้าน ชนส่วนใหญ่ในบาลุนกาดาหันไปพูดภาษาอินโดนีเซีย ส่วนในอาอีร์ ปานัสหันไปพูดภาษาอลอร์สำเนียงบารานูซา ผู้พูดภาษาเนเดบังเหลือน้อยกว่า 200 คน โดยคนที่มีอายุน้อยสุดคือ 50 ปี

ภาษาเนเดบัง
ประเทศที่มีการพูดอินโดนีเซีย
ภูมิภาคเกาะปันตาร์
จำนวนผู้พูด200 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3nec

อ้างอิง

แก้
  • Grimes, Charles E., Tom Therik, Barbara Dix Grimes & Max Jacob. 1997. A guide to the people and languages of Nusa Tenggara. (Paradigma series B 1). Kupang, Indonesia: Universitas Kristen Artha Wacana and Alfa Omega Foundation.
  • Stokhof, W. A. L. 1975. Preliminary notes on the Alor and Pantar languages (East Indonesia). (Pacific Linguistics B-43). Canberra: Australian National University