ภาษาตูโรโย (ตูโรโย: ܛܘܪܝܐ) เป็นภาษาซีเรียคใหม่หรือภาษาแอราเมอิกใหม่ ใช้พูดในตุรกีตะวันออกและซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายซีเรียคออร์ธอดอกซ์ คำว่าตูโร ( ṭuro) , หมายถึงภูเขา ตูโรโย (Ṭuroyo) จึงหมายถึงสำเนียงภูเขาทงตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ชื่อเก่าของภาษานี้คือซูรายต์ (Ṣurayt) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคำว่าซีเรียค ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคคลาสสิกเป็นภาษาทางศาสนาและวรรณคดี และมีความพยายามที่จะนำกลับมาใช้เป็นภาษาพูด ไม่มีการใช้ภาษาตูโรโยเป็นภาษาเขียนแต่เขียนด้วยภาษาซีเรียคคลาสสิกแทน

ภาษาตูโรโย
ซูรัยต์/ซูร์โยโย
ܛܘܪܝܐ Turoyo
ออกเสียง[tˤuˈrɔjɔ]
ประเทศที่มีการพูดตุรกี, ซีเรีย
ภูมิภาคจังหวัดมาร์ดินทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี; เขตผู้ว่าการอัลฮะซะกะฮ์ในซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ
ชาติพันธุ์ซีรีแอก/อัสซีเรีย
จำนวนผู้พูดunknown (undated figure of 250,000)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีรีแอก (ตะวันตก)
อักษรละติน (ตูโรโย)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
รหัสภาษา
ISO 639-3tru
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ระบบการเขียน

แก้

ในพ.ศ. 2423 มิชชันนารีชาวตะวันตกพยายามเขียนภาษาตูโรโยด้วยอักษรซีเรียคแบบเซอร์โต ด้วยความยุ่งยากในบริเวณบ้านเกิด ผู้พูดภาษาตูโรโยได้อพยพออกไปทั่วโลก ทั้งไปซีเรีย เลบานอน สวีเดนและเยอรมัน ชุมชนผู้พูดภาษานี้ในสวีเดนได้มีการพัฒนาสื่อการสอนด้วยภาษาตูโรโย Yusuf Ishaq พัฒนาระบบการเขียนภาษาตูโรโยด้วยอักษรละติน และเรียกการเขียนแบบนี้ว่า Toxu Qorena! (มาอ่านเถอะ!) และมีการสร้างพจนานุกรมภาษาสวีเดน-ตูโรโยด้วยอักษรนี้

คำศัพท์และระบบเสียง

แก้

ภาษาตูโรโยมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเคิร์ดและภาษาตุรกีมาก ผู้พูดภาษานี้พูดภาษาอื่นได้ด้วย โรงเรียนในโบสถ์ในซีเรียและเลบานอนสอนภาษาซีเรียคคลาสสิกแทนภาษาตูโรโย และมักแทนที่คำที่ไม่ได้มาจากภาษาซ๊เรียคด้วยคำภาษาซีเรียค โบสถ์บางแห่งพยายามพัฒนาการเขียนภาษตูโรโยด้วยวิธีเดียวกับที่เขียนภาษาซีเรียค

ระบบเสียงของภาษาตูโรโยใกล้เคียงกับภาษาซีเรียคคลาสสิก ระบบคำกริยาใกล้เคียงกับภาษาแอราเมอิกใหม่ มีการพัฒนาคำสรรพนามชี้เฉพาะมากกว่าภาษาแอราเมอิก มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ เช่น u-malko (the king) i-malëkṯo (the queen)

อ้างอิง

แก้
  1. "Did you know". Surayt-Aramaic Online Project. Free University of Berlin.
  2. Elissa, Jalinos (23 September 2021). "Breakthrough in Syriac school crisis in Zalin (Qamishli) in North and East Syria, Olaf Taw Association explains to SuroyoTV". SuroyoTV (Interview). สัมภาษณ์โดย Jacob Mirza. Zalin, Syria: SyriacPress. สืบค้นเมื่อ 14 April 2022.
  3. Akbulut, Olgun (2023-10-19). "For Centenary of the Lausanne Treaty: Re-Interpretation and Re-Implementation of Linguistic Minority Rights of Lausanne". International Journal on Minority and Group Rights. -1 (aop): 1–24. doi:10.1163/15718115-bja10134. ISSN 1385-4879.
  4. Erdem, Fazıl Hüsnü; Öngüç, Bahar (2021-06-30). "SÜRYANİCE ANADİLİNDE EĞİTİM HAKKI: SORUNLAR VE ÇÖZÜM ÖNERİLERİ". Dicle Üniversitesi Hukuk Fakültesi Dergisi (ภาษาตุรกี). 26 (44): 3–35. ISSN 1300-2929.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้