ภัฏฏิโปรลุ
ภัฏฏิโปรลุ (เตลูกู: భట్టిప్రోలు; Bhattiprolu) เป็นหมู่บ้านในอำเภอพปัตละ รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นศูนย์กลางการปกครองของภัฏฏิโปรลุมณฑล[4] ในบู่บ้านเป็นที่ตั้งของ พุทธมหาสถูป ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนอนุสรณ์ความสำคัญระดับชาติ[5] หนึ่งในหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของอักษรพราหมีในอินเดียใต้มาจากภัฏฏิโปรลุ อักษรดังกล่าวปรากฏบนผอบที่เชื่อว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเรียกว่าอักษรภัฏฏิโปรลุ
ภัฏฏิโปรลุ | |
---|---|
หมู่บ้าน | |
พุทธมหาสถูปแห่งภัฏฏิโปรลุ | |
พิกัด: 16°06′09″N 80°46′51″E / 16.1026°N 80.7807°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | อานธรประเทศ |
อำเภอ | พปัตละ |
มณฑล | ภัฏฏิโปรลุ |
การปกครอง[1] | |
• ประเภท | ปัญจยตีราช |
• องค์กร | ภัฏฏิโปรลุ ครามปัญจยัต |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 2,515 ha (6,215 เอเคอร์) |
ประชากร (2011)[3] | |
• ทั้งหมด | 11,092 คน |
• ความหนาแน่น | 440 คน/ตร.กม. (1,100 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 522256 |
รหัสพื้นที่ | +91– |
ทะเบียนพาหนะ | AP |
ในสมัยโบราณ ภัฏฏิโปรลุมีชื่อว่าประติปาลปุระ (Pratipalapura) เป็นเมืองพุทธที่เจริญรุ่งเรือง ส่วนกนึ่งของอาณาจัดรสาละโบราณที่มีอยู่ก่อนอานธรสตวาหนะ[6] หลักฐานจารึกเสนอว่ากษัตริย์นามว่ากุเพรกะ (Kuberaka) เป็นผู้ปกครองภัฏฏิโปรลุใน 230 ปีก่อนคริสต์กาล[7] พุทธมหาสถูปแห่งภัฏฏิโปรลุมีชื่อว่า วิกรมารกะโกฏทิพพะ (Vikramarka Kota Dibba) เข้าใจว่าสร้างขึ้นในระหว่าง 300-200 ปีก่อนคริสต์กาล[8] การขุดค้นที่ภัฏฏิโปรลุพบหลักฐานที่มีความสำคัญทางภาษาศาสตร์ ซึ่งคือหลักฐานภาษาเตลูกูยุคแรก อายุย้อนไปถึง 300 ปีก่อนคริสต์กาล ในปี 1870 มีการค้นพบเนินดินสามเนินที่นำไปสู่การขุดค้นเพิ่มเติม ในปี 1892 นักโราณคดีอาเล็กซันเดอร์ เรีย ขุดพบจารึกสามชิ้นบนผอบที่บรรจุพระธาตุและอัญมณีมีค่า สถูปมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 148 ฟุม ส่วนสูงสุดเป็นโดมมีความสูง 132 ฟุต[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Gram Panchayat Identification Codes" (PDF). Saakshar Bharat Mission. National Informatics Centre. p. 98. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 August 2017. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
- ↑ "District Census Hand Book : Guntur (Part B)" (PDF). Census of India. Directorate of Census Operations, Andhra Pradesh. 2011. pp. 14, 474. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
- ↑ "Population". Census of India. Registrar General and Census Commissioner of India. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
- ↑ "District Census Handbook : Guntur (Part A)" (PDF). Census of India. Directorate of Census Operations, Andhra Pradesh. 2011. pp. 5, 782–783. สืบค้นเมื่อ 3 June 2019.
- ↑ "Centrally Protected Monuments". Archeological Survey of India (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-26. สืบค้นเมื่อ 27 May 2017.
- ↑ Rao, P. R. Ramachandra (2005). The Splendour of Andhra Art (ภาษาอังกฤษ). Michigan: University of Michigan (ตีพิมพ์ 8 December 2009). p. 176.
- ↑ Chhabra, Bahadur Chand (13 March 2007). Svasti Śrī. Michigan: University of Michigan. p. 65.
- ↑ Mandal, Dr. Bindeshwar Prasad (14 August 2021). A Handbook of Sociology. K.K. Publications. p. 296.
- ↑ Rea, Alexander (1894). South Indian Buddhist Antiquities (1st ed.). Madras: Government Press, ASI. p. 2. ISBN 9788120605121.