พิงก์ฟลอยด์
พิงก์ฟลอยด์ (อังกฤษ: Pink Floyd) เป็นวงดนตรีร็อก ก่อตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1965 พิงก์ ฟลอยด์ ได้เป็นหนึ่งในผู้ทำดนตรีโพรเกรสซีฟร็อค และไซคีเดลิกร็อก อย่างโดดเด่นจนประสบความสำเร็จในระดับสากล ทั้งการแต่งเนื้อเพลงที่อิงเรื่องปรัชญาและแนวความคิดในสังคม การแต่งเพลงที่บรรเลงยาวกว่าเพลงทั่วไป และเทคนิคเอ็ฟเฟกต์เสียงที่สอดแทรกในดนตรี รวมไปถึงการแสดงสดที่แสดงได้อย่างยอดเยี่ยม ฟิงก์ฟลอยด์ ได้กลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จด้านยอดจำหน่ายมากที่สุดตลอดกาลวงหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรียอดนิยม[1]
พิงก์ฟลอยด์ | |
---|---|
พิงก์ฟลอยด์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1968 ถือเป็นเพียงภาพเดียวที่มีรูปถ่ายของสมาชิกครบทั้ง 5 คน เรียงตามเข็มนาฬิกาจากคนนั่งข้างหน้า: กิลมอร์ เมสัน บาร์เร็ตต์ วอเตอส์ และไรต์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
รู้จักในชื่อ |
|
ที่เกิด | ลอนดอน อังกฤษ |
แนวเพลง | |
ช่วงปี |
|
ค่ายเพลง | |
กลุ่มย่อย | นิก เมสันส์ซอเซอร์ฟลูออฟซีเครตส์ (Nick Mason's Saucerful of Secrets) |
สมาชิก | นิก เมสัน (Nick Mason) เดวิด กิลมอร์ (David Gilmour) |
อดีตสมาชิก | ซิด บาร์เร็ตต์ (Syd Barrett) โรเจอร์ วอเตอร์ส (Roger Waters) ริชาร์ด ไรต์ (Richard Wright) |
เว็บไซต์ | pinkfloyd |
พิงก์ฟลอยด์ได้กำเนิดขึ้นเมื่อนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม 3 คน จากมหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์[2] ได้แก่ โรเจอร์ วอเตอร์ส (มือเบส) นิก เมสัน (มือกลอง) และริชาร์ด ไรต์ (มือคีย์บอร์ด) พิงก์ฟลอยด์ ได้รวมวงกันชั่วคราว ต่อมาได้ซิด บาร์เร็ตต์ เข้ามาร่วมเป็นมือกีตาร์อีกคน จึงได้ตั้งวงพิงก์ฟลอยด์ ขึ้นในปี ค.ศ. 1965 พวกเขาไต่ชื่อเสียงขึ้นจากการเป็นวงดนตรีใต้ดินในกรุงลอนดอน ภายใต้การเป็นหัวหน้าวงของบาร์เร็ตต์ ทำให้อัลบั้มเปิดตัว The Piper at the Gates of Dawn ประสบผลสำเร็จด้วยการขึ้นชาร์ทอันดับ 6 ของอังกฤษ พร้อมกับซิงเกิลที่ได้ขึ้นชาร์ทถึง 2 ซิงเกิล เดวิด กิลมอร์ ได้เข้ามาร่วมวงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1967 และบาร์เร็ตต์ ก็ได้ออกจากวงไปในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 จากปัญหาทางสุขภาพจิต วอเตอร์สได้กลายเป็นหัวหน้าวงโดยเป็นผู้แต่งเพลงหลัก ทั้งคิดคอนเซปต์เบื้องหลังอัลบั้มต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น เดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน (1973) วิชยูเวอร์เฮียร์ (1975) แอนิมัลส์ (1977) เดอะวอลล์ (1979) และ เดอะไฟนอลคัต (1983) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอัลบั้มเดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูนที่ได้ติดอันดับชาร์ทของบิลบอร์ด 200ต่อเนื่องยาวนานถึง 741 สัปดาห์ หรือเกือบ 14 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1973 - 1988[3][4] ทำให้อัลบั้มนี้ได้กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดอันดับ 2 ตลอดกาลอีกด้วย
ต่อมาวงได้เกิดปัญหาที่ตรึงเคลียดจน ไรท์ ได้ออกจากพิงก์ฟลอยด์ ในปี ค.ศ. 1979 ตามมาด้วยวอเตอร์สในปี ค.ศ. 1985 จนเหลือเพียงกิลมอร์และเมสัน ซึ่งยังคงวงต่อไป จนไรต์ ได้กลับมาร่วมเป็นครั้ง ๆ สมาชิกทั้ง 3 ได้ออกอัลบั้มเพิ่มเติมอีก 2 อัลบั้ม คือ อะโมเมนทารีลาฟส์ออฟรีซัน (1987) และ เดอะดิวิชันเบลล์ (1994) และได้ทำการทัวร์จนถึงปี ค.ศ. 1994 ในที่สุดวอเตอร์สก็กลับมาร่วมวง ในปี ค.ศ. 2005 ในการแสดงสดคอนเสิร์ตไลฟ์เอท เพียงงานเดียว แต่เขาก็ไม่ได้คิดที่จะร่วมวงอีกต่อไป จนบาร์เร็ตต์ได้เสียชีวิตลงปี ค.ศ. 2006 และไรต์ในปี ค.ศ. 2008 พิงก์ ฟลอยด์ได้ออกสตูดิโออัลบั้มครั้งในชื่อ ดิเอนเลสส์ริเวอร์ (2014) ซึ่งอัลบั้มก็ไม่มีวอเตอร์สร่วมบันทึกเสียง แต่ในส่วนอัลบั้มเป็นการนำดนตรีที่เคยร่วมทำไว้มาทำต่อ ซึ่งได้ทิ้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993-94
พิงก์ฟลอยด์ ได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1996 และหอเกียรติยศทางดนตรีประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2005[5] อ้างข้อมูลจากปี ค.ศ. 2013 วงได้จำหน่ายอัลบั้มไปแล้วกว่า 250 ล้านชุด ทั่วโลก[6] โดยกว่า 75 ล้านชุด ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว
ประวัติ
แก้Pink Floyd วงดนตรีวงนี้ถือกำเนิดขึ้นจากประเทศอังกฤษ ณ มหาวิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ สมาชิกรุ่นดั้งเดิมประกอบด้วย 4 นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม Syd Barrett ซึ่งทำหน้าที่เป็นมือกีตาร์ ร้องนำ และเขียนเพลง Roger Waters ทำหน้าที่เป็นมือเบส Nick Mason ทำหน้าที่เป็นมือกลอง และ Rick Wright ทำหน้าที่มือคีย์บอร์ด
Pink Floyd เป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการทางดนตรียาวนานถึง 30 กว่าปี แนวเพลง ซึ่งพัฒนาเรื่อยๆ ทั้ง Psychidelics ,Syphonic Rock , Progressive Rock , Art Rock จงไปถึง Serious Music และผู้นำของวงในแต่ละยุคซึ่งแตกต่างกันไป
ภายหลัง Syd Barrett ได้ออกจากวงไป โดยได้ David Gilmour มาทำหน้าที่เป็นมือกีตาร์แทน
Rick Wright ได้ถูกไล่ออกจากวงในช่วง ทำอัลบั้มชุด The Wall และได้กลับเข้าวงใหม่ในช่วงอัลบั้ม A Momentary Lapse Of Reason
และภายหลังทำอัลบั้ม The Final Cut ในปี ค.ศ. 1983 Roger Waters ก็ประกาศลาออกจากวง จึงทำให้วงเหลือสมาชิกเพียงแค่ 3 คน คือ David Gilmour,Nick Mason, Rick Wright
อิทธิพลของวง
แก้พิงก์ฟลอยด์ได้กลายเป็นหนึ่งในวงที่ประสบความสำเร็จสูงสุดและมีอิทธิพลที่สุดวงหนึ่งตลอดกาล[7] ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 250 ล้านชุดทั่วโลก[8] หรือกว่า 75 ล้านชุด ในสหรัฐอเมริกาเพียงที่เดียว และกว่า 37.9 ล้านชุดที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา[9] จากการจัดอันดับของ ซันเดย์ไทมส์ริชลิสต์ (Sunday Times Rich List) ในหัวข้อ ดนตรีเงินล้าน 2013 ของประเทศอังกฤษ ได้จัดอันดับวอเทอรส์ไว้ที่ 12 ด้วยเงินสดประเมินไว้ราว 150 ล้านยูโร กิลมอร์อันดับที่ 27 ด้วยจำนวนเงินราว 85 ล้านยูโร และเมสันอันดับที่ 37 ด้วยสินทรัพย์รวม 50 ล้านยูโร[10]
ในปี ค.ศ. 2004 เอ็มเอสเอ็นบีซี ได้จัดอันดับ พิงก์ฟลอยด์ ไว้ที่ 8 บนหัวข้อ "10 อันดับวงที่ดีที่สุดตลอดกาล"[11] นิตยสารโรลลิงสโตน ก็จัดอันดับที่ 51 บนหัวข้อ "100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[12] นิตยสารคิว ก็ยกให้พิงก์ฟลอยด์เป็นวงที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาล[13] วีเอชวัน จัดอันดับฟิงก์ ฟลอยด์ ไว้ที่อันดับ 18 บนหัวข้อ "100 ศิลปินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[14] นักวิจารณ์เพลงอย่างโคลิน ลาร์คิน ก็จัดอันดับฟิงก์ ฟลอยด์ ไว้ที่ 3 ในหัวข้อ "50 อันดับศิลปินตลอดกาล" ซึ่งอ้างอิงจากผลโหวตรวมจากหนึ่งพันอัลบั้มตลอดกาล ซึ่งฟิงก์ ฟลอยด์ ได้รับโหวตเลือกอัลบั้มไว้มากเป็นอันดับ 3[15]
พิงก์ ฟลอยด์ ชนะรางวัลมากมาย ในปี ค.ศ. 1981 เจมส์ กูทรี วิศวะเครื่องเสียงให้กับวง ก็ได้รับรางวัลแกรมมี ในหัวข้อ "Best Engineered Non-Classical Album" จากอัลบั้มเดอะวอลล์ โรเจอร์ วอเทอรส์ ชนะรางวัลแบฟตา ในหัวข้อ "เพลงแต่งดั้งเดิมที่ดีที่สุดสำหรับภาพยนตร์" ในปี ค.ศ. 1983 สำหรับซิงเกิล "Another Brick in the Wall" จากภาพยนตร์เดอะวอลล์[16] ในปี ค.ศ. 1995 พิงก์ ฟลอยด์ ชนะรางวัลแกรมมี ในหัวข้อ "บรรเลงเพลงร็อกดีที่สุด" สำหรับเพลง "Marooned"[17] ในปี ค.ศ. 2008 สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ก็ได้พระราชทานรางวัลโพลาร์มิวสิก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรางวัลสูงสุดทางดนตรีของประเทศสวีเดน สำหรับการอุทิศด้านงานดนตรีสมัยใหม่ของพิงก์ ฟลอยด์[18] โดยมีวอเทอรส์และเมสันเข้ารับรางวัลพระราชทานนี้ วงได้รับการบรรจุเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 1996 หอเกียรติยศด้านดนตรีของสหราชอารณาจักรในปี ค.ศ. 2005 และหอเกียรติยศฮิตพาเรด ปี ค.ศ. 2010[19]
ดนตรีของพิงก์ ฟลอยด์ ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นต่อมามากมาย ทั้ง เดวิด โบอี ได้ยกให้บาร์เรตต์ เป็นผู้สร้างแรงบรรดาลใจคนสำคัญ ดิเอดจ์ แห่งยูทู[20] นอกจากนี้ก็ยังมีวงอื่นๆ อีก เช่น ควีน ทูล เรดิโอเฮด[21] ครัฟท์แวร์ค มาลิไลออน ดิออร์บ ควีนซไรเชอ ไนน์อินช์เนลส์ และ เดอะสแมชชิงพัมป์กินส์[22] พิงก์ ฟลอยด์ ยังมีอิทธิพลต่อวงการ นีโอ-โปรเกรสซีฟร็อก ซึ่งแยกตัวออกมาในทศวรรษที่ 1980 อีกด้วย[23]
ผลงาน
แก้สตูดิโออัลบั้ม
แก้- The Piper at the Gates of Dawn (5 สิงหาคม ค.ศ. 1967)
- A Saucerful of Secrets (29 มิถุนายน ค.ศ. 1968)
- Music from the Film More (27 กรกฎาคม ค.ศ. 1969)
- Ummagumma (25 ตุลาคม ค.ศ. 1969)
- Atom Heart Mother (10 ตุลาคม ค.ศ. 1970)
- Meddle (30 ตุลาคม ค.ศ. 1971)
- Obscured by Clouds (3 มิถุนายน ค.ศ. 1972)
- The Dark Side of the Moon (24 มีนาคม ค.ศ. 1973)
- Wish You Were Here (15 กันยายน ค.ศ. 1975)
- Animals (23 มกราคม ค.ศ. 1977)
- The Wall (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979)
- The Final Cut (23 มีนาคม ค.ศ. 1983)
- A Momentary Lapse of Reason (7 กันยายน ค.ศ. 1987)
- The Division Bell (30 มีนาคม ค.ศ. 1994)
- The Endless River (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014)
ไลฟ์ อัลบั้ม
แก้- 1969 Ummagumma (ครึ่งสตูดิโออัลบั้ม ครึ่งแสดงสด)
- 1988 Delicate Sound of Thunder
- 1995 P•U•L•S•E
- 2000 Is There Anybody Out There?
วิดีโอ
แก้- 1972 Live at Pompeii
- 1982 The Wall
- 1989 Delicate Sound of Thunder
- 1992 La Carrera Panamericana
- 2003 The Making of The Dark Side of the Moon
- 2006 P•U•L•S•E DVD
ชุดรวมเพลง
แก้- 1971 Relics
- 1973 A Nice Pair
- 1981 A Collection of Great Dance Songs
- 1983 Works 68
- 1992 Shine On
- 2001 Echoes: The Best of Pink Floyd
- 2007 Oh, By The Way
อ้างอิง
แก้- ↑ "Rock & Roll Hall of Fame: Pink Floyd biography". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ Blake 2008, pp. 37–38 : Mason meeting Waters while studying architecture at the London Polytechnic; Fitch 2005, p. 335 : Waters meeting Mason while studying architecture at the London Polytechnic.
- ↑ For Billboard chart history see: Titus, Christa; Waddell, Ray (2005). "Floyd's 'Dark Side' Celebrates Chart Milestone". Billboard. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; for sales figures see: Smirke, Richard (March 16, 2013). "Pink Floyd, 'The Dark Side of the Moon' At 40: Classic Track-By-Track Review". Billboard. สืบค้นเมื่อ June 22, 2016.; Povey 2008, p. 345 : A US number 1.
- ↑ Schaffner, p. 183
- ↑ Povey 2008, p. 286 : Rock and Roll Hall of Fame induction; Povey 2008, p. 287 : The UK Hall of Fame induction; For the Hit Parade Hall of Fame induction see: "Pink Floyd – 2010 Inductee". Hit Parade Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For 250 million records sold see: "Pink Floyd Reunion Tops Fans' Wish List in Music Choice Survey". Bloomberg Television. 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 75 million RIAA certified units sold see: "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 37.9 million albums sold since 1993 see: "The Nielsen Company & Billboard's 2012 Music Industry Report". Business Wire. 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
- ↑ "Rock & Roll Hall of Fame: Pink Floyd biography". Rock and Roll Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For 250 million records sold see: "Pink Floyd Reunion Tops Fans' Wish List in Music Choice Survey". Bloomberg Television. 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For 250 million records sold see: "Pink Floyd Reunion Tops Fans' Wish List in Music Choice Survey". Bloomberg Television. 26 September 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 75 million RIAA-certified units sold see: "Top Selling Artists". Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.; For 37.9 million albums sold since 1993 see: "The Nielsen Company & Billboard's 2012 Music Industry Report". Business Wire. 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 10 May 2014.
- ↑ "Sunday Times Rich List 2013: Music Millionaires". 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2013.
- ↑ Olsen, Eric (3 March 2004). "The 10 best rock bands ever: A purely subjective list of the groups that changed music forever". today.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "100 Greatest Artists: 51) Pink Floyd". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-10. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ Barnes, Anthony (3 October 2004). "Q: Which is biggest band of all time? A: And readers say..." The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For VH1's "100 Greatest Artists of All Time" see: Juzwiak, Rich (10 August 2010). "Who Will Come Out On Top Of VH1's 100 Greatest Artists Of All Time?". VH1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-01. สืบค้นเมื่อ 23 August 2012.
- ↑ Larkin, Colin (1998). All Time Top 1000 Albums: The World's Most Authoritative Guide to the Perfect Record Collection. Virgin. p. 281. ISBN 978-0-7535-0258-7.
- ↑ Povey 2008, p. 348 : Grammy award for The Wall; For the 1982 BAFTA awards see: "BAFTA: Awards Database". BAFTA. 1982. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ "And the Winners Are ..." The New York Times. 2 March 1995. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ Nordstrom, Louise (21 May 2008). "Pink Floyd wins Polar Music Prize". USA Today. สืบค้นเมื่อ 7 October 2010.
- ↑ Povey 2008, p. 286 : Rock and Roll Hall of Fame induction; Povey 2008, p. 287 : The UK Hall of Fame induction; For the Hit Parade Hall of Fame induction see: "Pink Floyd – 2010 Inductee". Hit Parade Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2 August 2012.
- ↑ For Bowie naming Barrett an inspiration see: Bychawski, Adam (11 July 2006). "David Bowie pays tribute to Syd Barrett". NME. สืบค้นเมื่อ 13 October 2009.; For Edge buying his first delay pedal see: McCormick, Neil (editor) (2006). U2 by U2. HarperCollins. p. 102. ISBN 978-0-00-719668-5.
{{cite book}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Kitts & Tolinski 2002, p. 126
- ↑ For Queen citing Pink Floyd as an influence see: Sutcillfe, Phil (2009). Queen: The Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock. Voyageur Press. p. 17. ISBN 978-0-7603-3719-6.; For Kraftwerk see: Queenan, Joe (22 February 2008). "Vorsprung durch Techno". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.; For Marillion see: Thore, Kim (27 August 2009). "Steve Rothery Interview". All Access Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.; For Tool see: The 50 Greatest Bands. Spin. February 2002. p. 78. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.; Manning 2006, p. 288
- ↑ "Pop/Rock » Art-Rock/Experimental » Neo-Prog". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 28 July 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- Pink Floyd's UK site เก็บถาวร 2009-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Pink Floyd's U.S. site
- อื่น ๆ
- Roger Waters official site
- David Gilmour official site
- Brain Damage - Pink Floyd News Resource.
- Another Link on the Wall - A large collection of fan sites, news resources and other external links, updated regularly.