พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต (พ.ศ. 2555)
พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต (อักษรโรมัน: Jelawat)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นลาวิน (ตากาล็อก: Lawin)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงเป็นอันดับสองรองจากไต้ฝุ่นซันปา ประจำฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 ในแง่ของอัตราเร็วลมพายุสูงสุดสิบนาทีซึ่งวัดได้เท่ากับไต้ฝุ่นซันบา นอกจากนี้พายุโบเวนและพายุซันบา รวมถึงพายุไต้ฝุ่นเจอลาวัตเป็นไต้ฝุ่นที่ขึ้นฝั่งเกาะโอกินาว่าในปี พ.ศ. 2555 ชื่อเจอลาวัตเป็นชื่อที่ส่งโดยประเทศมาเลเซีย โดยคำว่า "เจอลาวัต" ในภาษามาเลเซียหมายถึง ปลาบ้า
พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัตขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 20 กันยายน พ.ศ. 2555 |
นอกเขตร้อน | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 |
สลายตัว | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.72 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.72 นิ้วปรอท |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 2 ราย |
ความเสียหาย | $115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2555 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, รัฐอะแลสกา, ไต้หวัน, รัสเซียตะวันออกไกล |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 |
พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัตมีความเร็วลมสูงสุดในช่วงปลายวันที่ 24 กันยายนและคงไว้ได้เกือบสองวัน พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนที่ผ่านจังหวัดโอกินาว่าเมื่อวันที่ 29 กันยายนและในที่สุดก็ขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดไอจิในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 กันยายน มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากเหตุการณ์พายุครั้งนี้[1]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
แก้- วันที่ 17 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนทางทิศตะวันออกของกวม
- วันที่ 20 กันยายน JTWC ประกาศ TCFA พร้อม JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD), 8 ชั่วโมงต่อมา PAGASA ได้ทวีความรุนแรงของระบบให้เป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "ลาวิน (Lawin)" จากนั้น JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของมันเป็นดีเปรสชันเขตร้อนด้วยเช่นกัน
ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน (TS) และใช้ชื่อ "เจอลาวัต (Jelawat)" เช่นเดียวกับ JTWC
- วันที่ 21 กันยายน เพียงครึ่งวันต่อจากนั้น JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง (STS)
- วันที่ 23 กันยายน ทั้ง JMA และ JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นไต้ฝุ่น (TY) ขณะที่ตัวพายุเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 (Category 1 Typhoon) และกลายเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Typhoon) ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ขณะที่เริ่มมีการพัฒนาของตาพายุเล็ก ๆ บริเวณใจกลางพายุ
- วันที่ 25 กันยายน เจอลาวัต มีขนาดกว้างขึ้น 50 กิโลเมตร หลังจากมีพนังขอบตาพายุ, JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (Category 5 Super Typhoon)
- วันที่ 26 กันยายน JTWC ประกาศลดระดับความรุนแรงเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Super Typhoon)
- วันที่ 28 กันยายน หลังจากไต้ฝุ่นเจอลาวัตขึ้นฝั่งที่เกาะไต้หวัน ก็ได้อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จาก ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 และ 2 และเนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้นทำให้มันอ่อนกำลังลงไปอีกเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 1
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ "เจอลาวัต" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 1 ลำดับที่ 8 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศมาเลเซีย
- ↑ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ลาวิน" (21 ถึง 28 กันยายน พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต (1217)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต (1217)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต (1217)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเจอลาวัต (18W)