พวกคลั่งเจ้า
พวกคลั่งเจ้า (อังกฤษ: Ultra-royalist หรือ Ultra) เป็นกลุ่มหัวเอียงขวาในรัฐสภาฝรั่งเศสตั้งปี 1815 ถึง 1830 ซึ่งเป็นช่วงนำราชวงศ์บูร์บงคืนสู่ราชบัลลังก์ (Bourbon Restoration) พวกคลั่งเจ้าส่วนใหญ่มักเป็นสมาชิกของชนชั้นสูงที่สนับสนุนศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกในฐานะศาสนาประจำรัฐที่ถูกต้องตามกฎหมายฝรั่งเศสเท่านั้น, พระมหากษัตริย์บูร์บง,[15] การแบ่งชนชั้นทางสังคม และการเลือกตั้งตามสำมะโน (census suffrage) อย่างมาก ซึ่งขัดกับเจตจำนงร่วมและความต้องการของชนชั้นกระฎุมพีและแนวคิดเสรีนิยมกับประชาธิปไตย[16]
พวกคลั่งเจ้า Ultraroyalistes | |
---|---|
หัวหน้า | เจ้าชายชาร์ล เคานต์แห่งอาร์ตัว |
ก่อตั้ง | 1815 |
ถูกยุบ | 1830 |
ถัดไป | Legitimists |
หนังสือพิมพ์ | La Gazette La Quotidienne Le Conservateur |
อุดมการณ์ | กษัตริย์นิยม ลัทธิพวกปฏิกิริยา[1][2] Ultramontanism[3][4][5] อนุรักษ์นิยม[6][7] |
จุดยืน | ขวา[8][9][10] ถึงขวาจัด[11][12][13] |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
สี | น้ำเงินและ ขาว (ทางการ) เขียว (ธรรมเนียม)[14] |
สภาผู้แทนราษฎร (ค.ศ. 1824) | 413 / 430 |
การเมืองราชอาณาจักรฝรั่งเศส รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
การเลือกตั้งที่แต่ละบุคคลมีคะแนนเสียงไม่เท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับสถานภาพตามทะเบียนสำมะโนนั้น ส่งผลให้พวกคลั่งเจ้าได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทน (Chamber of Deputies) ถึงสองครั้ง คือ ตั้งแต่ปี 1815 ถึง 1816 และตั้งแต่ปี 1824 ถึง 1827 ในเวลาดังกล่าว สภาได้รับสมญาว่า "สภาทุรคม" (Chambre introuvable) และพวกคลั่งเจ้าซึ่งขึ้นชื่อว่า "ทำตัวเป็นเจ้ายิ่งกว่ายิ่งเจ้า" (plus royalistes que le roi) ได้ครองเสียงข้างมากเด็ดขาดภายใต้การปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII) มาจนถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 10 (Charles X) พวกคลั่งเจ้าดังกล่าวไม่สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม สาธารณรัฐนิยม และประชาธิปไตย พวกเขาไม่ต้องการให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทรงดำเนินการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ทั้งยังต่อต้านการจำกัดอำนาจพระมหากษัตริย์ เพราะหมายจะบูรณะระบอบเก่า (Ancien Régime) และขจัดความแตกแยกซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เองทรงหวังที่จะลดทอนการนำระบอบเก่ากลับมาอีกครั้ง เผื่อประชาชนจะยอมรับระบอบเก่าได้บ้าง
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 สวรรคตในปี 1824 พวกคลั่งเจ้าเสียกำลังใจอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี พระเจ้าชาลส์ที่ 10 ซึ่งเคยเป็นผู้นำพวกคลั่งเจ้าต่อต้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ และร่วมมือกับพวกคลั่งเจ้าในการนำประเทศไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ครั้นเดือนมกราคม 1825 รัฐบาลซึ่งมีฌอแซฟ เดอ วีย์แลล (Joseph de Villèle) ผู้นำพวกคลั่งเจ้า เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการเหยียดหยามศาสนา (Anti-Sacrilege Act) เพื่อกำหนดให้การลักสิ่งเคารพทางศาสนาต้องระวางโทษประหารชีวิต ฌ็อง-นอแอล ฌ็อนเนย์ (Jean-Noël Jeanneney) นักประวัติศาสตร์ เรียกขานพระราชบัญญัตินี้ว่าเป็น "กฎหมายมิคสัญญี" (anachronic law) นอกจากนี้ พวกคลั่งเจ้ายังประสงค์จะจัดตั้งศาลเพื่อจัดการพวกนิยมการเปลี่ยนถึงรากฐาน (radicalism) และจะตรากฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพของสื่อด้วย
ทว่า ในปี 1830 นั้นเอง เกิดการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมเสียก่อน เป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 (Louis Philippe I) ราชนิกุลออร์เลอ็อง (Orléans) ซึ่งสนับสนุนนโยบายเสรีนิยม ได้เสวยราชย์ ส่วนพวกคลั่งเจ้าต้องพ้นจากอำนาจและล่าถอยไปอยู่อาศัยอย่างสันโดษในแถบชนบท พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปทรงยกเลิกพระราชบัญญัติข้างต้นในไม่กี่เดือนหลังทรงครองราชย์ แต่พวกคลั่งเจ้ายังมีอิทธิพลอยู่ต่อไปจนถึงปี 1879 เป็นอย่างน้อย ครั้นเกิดวิกฤติการณ์ 16 พฤษาคม 1877 อำนาจราชศักดิ์ของพวกคลั่งเจ้าลดน้อยถอยลงไปมากยิ่ง เขาเหล่านั้นจึงบรรเทาความสุดโต่งในแนวคิด และตั้งเป้าหมายใหม่เป็นการนำราชวงศ์บูร์บง (Bourbon) หวนคืนสู่ราชบัลลังก์อีกครั้ง นับแต่นั้น พวกคลั่งเจ้าจึงได้ชื่อใหม่ว่า "เหล่าผู้สืบสิทธิโดยนิติธรรม" (Legitimists)
ปัจจุบัน พวกคลั่งเจ้า (ultra-royalist) สามารถหมายถึง บุคคลซึ่งนิยมเจ้าอย่างยิ่งยวด[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ De Bertier, Ferdinand; De Bertier de Sauvigny, Guillaume (1993). Editions Tallandier (บ.ก.). Souvenirs d'un ultra-royaliste (1815-1832). ISBN 9782235021197.
- ↑ De Waresquiel, Emmanuel (2005). Fayard (บ.ก.). L'histoire à rebrousse-poil: Les élites, la Restauration, la Révolution. ISBN 9782213659480.
- ↑ Histoire de France, pendant les annees 1825, 1826, 1827 et commencement de 1828, faisant suite a l'Histoire de France par l'abbe de Montgaillard. Vol. 1. 1829. p. 74.
- ↑ Treuttel et Würtz, บ.ก. (1844). Encyclopédie des gens du monde: répertoire universel des sciences, des lettres et des arts ; avec des notices sur les principales familles historiques et sur les personnages célèbres, morts et vivans. Vol. 22. p. 364.
- ↑ Bailleul, Jacques-Charles (1819). Situation de la France. p. 261.
- ↑ Le Normant, บ.ก. (1818). Le Conservateur: le roi, la charte et les honnêtes gens. Vol. 1. p. 348.
- ↑ Reboul, Pierre (1973). Presses Univ. Septentrion (บ.ก.). Chateaubriand et le conservateur. p. 288.
- ↑ Jean-Jacques Oechslin (1960). Le mouvement ultra-royaliste sous la Restauration: son idéologie et son action politique (1814-1830). Librairie générale de droit et de jurispurudence, R. Pichon & R. Durand-Auzias. p. 209.
- ↑ Pierre Triomphe, Pierre Triomphe (2013). L'antiparlementarisme sous la Restauration. Parlement[s], Revue d'histoire politique 2013/3 (n° HS 9). pp. 35–47.
- ↑ Bertrand Goujon (2012). Monarchies postrévolutionnaires. 1814-1848: (1814-1848). Vol. II (Le Seuil ed.). Paris. ISBN 9782021094459.
- ↑ Beach, Vincent Woodrow (1977). Charles X of France: His Life and Times (1st ed.). Boulder, Colorado, United States: Pruett Publishing Company. p. 158.
- ↑ Hudson, Nora Eileen (1936). Ultra-royalism and the French Restoration. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. p. 196.
- ↑ Boisnormand de Bonnechose, François Paul Émile (1882). History of France to the Revolution of 1848. London, United Kingdom: Ward, Lock, and Co. p. 460.
- ↑ Fitzpatrick, Brian (2002). Cambridge University Press (บ.ก.). Catholic Royalism in the Department of the Gard 1814-1852. p. 49. ISBN 9780521522304.
- ↑ Ultraroyalist. Dictionary of Politics and Government, 2004, p. 250.
- ↑ "Ultra". Encyclopaedia Britannica. "The ultras represented the interests of the large landowners, the aristocracy, clericalists, and former émigrés. They were opposed to the egalitarian and secularizing principles of the Revolution, but they did not aim at restoring the ancien régime; rather, they were concerned with manipulating France’s new constitutional machinery in order to regain the assured political and social predominance of the interests they represented".
- ↑ Ultraroyalist. Dictionary of Politics and Government, 2004, p. 250.