ปลูตาร์โคส

(เปลี่ยนทางจาก พลูทาร์ก)

ปลูตาร์โคส (กรีก: Πλούταρχος, [ˈplúːtarkʰos]; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) หรือรู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า พลูทาร์ก (อังกฤษ: Plutarch) และในชื่อภาษาโรมันซึ่งเขาได้ใช้เมื่อกลายมาเป็นพลเมืองโรมันคือ ลูกิอุส เม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (ละติน: Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs;[1]) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ

ปลูตาร์โคส
หน้าปกหนังสือของปลูตาร์โคส
เกิดราว ค.ศ. 46
ไครอเนอา, โบยอตีอา
เสียชีวิตราว ค.ศ. 120
เดลฟี, พอกิส
สัญชาติชาวโรมันเชื้อสายกรีก
ชื่ออื่นลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส
อาชีพนักประวัติศาสตร์, นักเขียนชีวประวัติ, นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโต
ยุคสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1 และ 2
ผลงานเด่นชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง และ โมราเลีย
แบบแผนการกล่าวถึงชีวประวัติและอื่น ๆ
ตำแหน่งนักประวัติศาสตร์
คู่สมรสตีมอกเซนา
บิดามารดา
  • นีการ์คุส? (บิดา)
นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน
Moralia, 1531

งานเขียนที่สำคัญของปลูตาร์โคสก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia)[2] ปลูตาร์โคสเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล์

ชีวิตเบื้องต้น

แก้
 
ซากของวัดอพอลโลและเดลไดที่ปลูตาร์โคสเป็นนักบวชที่มีหน้าที่ตีความหมายของคำพยากรณ์เทพพยากรณ์ (oracle)

ปลูตาร์โคสเกิดราวปี ค.ศ. 46 ในเมืองเล็ก ๆ ชื่อไครอเนอา (Χαιρώνεια) ในบริเวณที่เรียกว่าโบยอตีอา (Βοιωτία) ในกรีซ ชื่อของพ่ออาจจะเป็นนีการ์คุสที่สันนิษฐานจากการตั้งชื่อตามธรรมเนียมกรีกที่ตั้งชื่อข้ามชั่วคน ครอบครัวมีฐานะดี ปู่ของปลูตาร์โคสชื่อลัมปรีอัสตามที่บันทึกใน โมราเลีย[3] ปลูตาร์โคสกล่าวถึงพี่น้องชายตีมอนและลัมปรีอัสหลายครั้งในบทความที่เขียน และเมื่อกล่าวถึงตีมอนก็เป็นกล่าวถึงด้วยความรัก ในปี ค.ศ. 1624 รุอาลดุส (Rualdus) กล่าวในงานเขียน ชีวิตของปลูตาร์โคส ว่ามีภรรยาชื่อตีมอกเซนาจากหลักฐานงานเขียนของปลูตาร์โคสเอง ที่เป็นจดหมายที่เขียนถึงภรรยาขอร้องไม่ให้เศร้าโศกจนเกินควรจากการสูญเสียลูกสาวคนโตสองคนที่คนหนึ่งชื่อตีมอกเซนาเช่นเดียวกับแม่ สิ่งที่น่าสนใจในจดหมายฉบับนี้คือนัยยะที่ปลูตาร์โคสกล่าวถึงความเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิด (reincarnation)

จำนวนลูกชายของปลูตาร์โคสไม่เป็นที่ทราบ แต่ลูกชายสองคนในจำนวนนั้น คือ เอาโตบูลุสและปลูตาร์โคส (ชื่อเดียวกับพ่อ) ได้รับการกล่าวถึงบ่อยครั้ง ปลูตาร์โคสเขียนอุทิศให้ลูกสองคนนี้ในศาสตรนิพนธ์เกี่ยวกับบทสนทนาไทมีอัสของเพลโต เมื่อเอาโตบูลุสแต่งงาน ปลูตาร์โคสก็กล่าวถึงในบทเขียน เทเบิลทอล์ก อีกบุคคลหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงคือโซกลารุสซึ่งกล่าวถึงที่เป็นนัยยะว่าเป็นลูก แต่ก็ระบุเป็นที่แน่นอนไม่ได้ ศาสตรนิพนธ์ที่เกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับการแต่งงานซึ่งกล่าวถึงยูริดิซี (Eurydice) และป็อลลิอานุส (Pollianus) ก็ดูเหมือนจะพูดว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับครอบครัว แต่ก็สรุปไม่ได้ว่าเป็นลูกสาวหรือไม่[4]

ปลูตาร์โคสศึกษาคณิตศาสตร์และปรัชญาที่สถาบันเพลโต (Platonic Academy) แห่งเอเธนส์ภายใต้การดูแลของแอมโมเนียสแห่งเอเธนส์ (Ammonius of Athens) ระหว่างปี ค.ศ. 66 ถึงปี ค.ศ. 67[5] เขามีเพื่อนผู้มีอิทธิพลหลายคนที่รวมทั้งกวินตุส ซอซิอุส แซแนกิโอ (Qvintvs Sosivs Senecio) และกาอิอุส มินิกิอุส ฟุนดานุส (Gaivs Minicivs Fvndanvs) ทั้งสองเป็นสมาชิกวุฒิสภาคนสำคัญที่ปลูตาร์โคสอุทิศงานบางชิ้นให้ต่อมา[ต้องการอ้างอิง] ปลูตาร์โคสเดินทางอย่างกว้างไกลในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่รวมทั้งกรีซตอนกลาง, สปาร์ตา, คอรินท์, เปตรา, ซาร์ดีส, อเล็กซานเดรีย และไปยังโรมสองครั้ง

เมื่อได้เป็นพลเมืองโรมันปลูตาร์โคสก็เปลี่ยนชื่อเป็น "ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส" โดยมีกงสุลลูกิอุส แม็สตริอุส โฟลรุส (Lvcivs Mestrivs Florvs) เป็นผู้รับรองที่ปลูตาร์โคสใช้เป็นแหล่งข้อมูลในหนังสือ ชีวิตของออโท[6]

อ้างอิง

แก้
  1. The name Mestrius or Lucius Mestrius was taken by Plutarch, as was common Roman practice, from his patron for Roman citizenship in the empire; in this case Lucius Mestrius Florus, a Roman consul.
  2. "Plutarch". Oxford Dictionary of Philosophy.
  3. Symposiacs, Book IX, questions II & III
  4. Aubrey Stewart, George Long. "Life of Plutarch". Plutarch's Lives, Volume I (of 4). The Gutenberg Project. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
  5. "Plutarch Bio (46c.-125)". The Online Library of Liberty. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-10. สืบค้นเมื่อ 2006-12-06. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  6. Plutarch, Otho 14.1