พลังงานความร้อน

พลังงานความร้อน หรือ พลังงานอุณหภาพ (อังกฤษ: thermal energy) เป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงาน มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์ พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ พลังงานเปลวไฟ ฯลฯ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อนยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย[1][2][3]

พลังงานความร้อนสามารถแปลงเป็นพลังงานอื่นๆได้โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ Steam engine แปลงพลังงานความร้อนเป็น พลังงานกล โดยอาศัยความร้อนต้มนำให้เดือด แล้วนำแรงดันของไอนำผลักลูกสูบให้เคลื่อนที่ทำให้เกิดพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ไปปั่นเพลาให้หมุนจึงเกิดเป็นพลังงานกลและยังไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย[4]

หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ "แคลอรี" โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "แคลอรีมิเตอร์"

อ้างอิง

แก้
  1. Bailyn, M. (1994). A Survey of Thermodynamics, American Institute of Physics Press, New York, ISBN 0-88318-797-3, p. 82.
  2. Thomas W. Leland Jr., G. A. Mansoori (บ.ก.), Basic Principles of Classical and Statistical Thermodynamics (PDF), เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28, สืบค้นเมื่อ 2014-01-02
  3. Born, M. (1949). Natural Philosophy of Cause and Chance, Oxford University Press, London, p. 31.
  4. Robert F. Speyer (2012). Thermal Analysis of Materials. Materials Engineering. Marcel Dekker, Inc. p. 2. ISBN 978-0-8247-8963-3.