พฤฒิชัย วิริยะโรจน์
พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ ผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อไทย ต่อมาได้สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ
พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ | |
---|---|
ผู้แทนการค้าไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย ไทยรักษาชาติ |
ประวัติ
แก้พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาวิชาการตลาด จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
พฤฒิชัย เป็นน้องชายของนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันนายพฤฒิชัย ยังมีสถานะภาพโสด
การทำงาน
แก้พฤฒิชัย วิริยะโรจน์ ประกอบอาชีพนักธุรกิจส่งออกก่อนจะเข้าสู่งานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 แต่มาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 85[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนการค้าไทย ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 72[3]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คือ การยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคฯ[4][5] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติพร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ "แจก'63เก้าอี้'ข้าราชการการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
- ↑ "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒