พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
- สำหรับบรรดาศักดิ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยซึ่งทรงทำงานในกรม ดูได้ที่ เจ้าต่างกรม
- สำหรับบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทย ดูได้ที่ บรรดาศักดิ์ไทย
- สำหรับบรรดาศักดิ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ดูได้ที่ ฐานันดรศักดิ์ไทย
พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง พ.ศ. 1998 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา เป็นกฎหมายที่กำหนดตำแหน่งศักดินา บรรดาศักดิ์ ลำดับชั้น โครงสร้างส่วนราชการในระบบราชการ สมัยโบราณ เทียบได้กับ กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ในปัจจุบัน แต่ในกฎหมายนี้ได้กำหนด ฐานันดรศักดิ์ประชาชนตั้งแต่ พระมหาอุปราชลงมาจนถึงพลเมืองขั้นต่ำสุดคือทาส พระไอยการนี้ กำหนดให้ประชาชนทุกคนมีศักดินาสูงต่ำ ตามคำสำคัญในโครงสร้างสังคม โดยศักดินานี้ กำหนดเป็นไร่ (หน่วยวัดพื้นที่ของไทยสมัยโบราณเท่ากับ 1,600 ตารางเมตร)
ตัวพระไอยการประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ศักดินาของพลเรือน ศักดินาทหาร และศักดินาของขุนนางในห้วเมืองนอกราชธานี
โครงสร้างศักดินา
แก้ศักดินา | จำนวนผู้ถือศักดินา | ฐานะของผู้ถือศักดินา |
100,000 | 1 | พระมหาอุปราช, พระยุพราช |
50,000 | ไม่ทราบจำนวน | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม |
40,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ / ลูกยาเธอเจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม |
20,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าน้องยา / น้องนางเธอ เจ้าฟ้าซึ่งมิได้ทรงกรม |
15,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ / ลูกยาเธอซึ่งมิได้ทรงกรม, พระเจ้าน้องยาเธอ / น้องนางเธอพระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม, พระเจ้าลูกเธอ / ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม |
11,000 | "-----" | พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม |
10,000 | 20 | เจ้าพระยาอัครมหาสนาบดี, เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม, เจ้าพระยา (ชั้นสุพรรณบัฏ) |
7,000 | "-----" | พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าซึ่งมิได้ทรงกรม |
6,000 | "-----" | พระเจ้าลูกเธอ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าซึ่งไม่ทรงกรม |
5,000 | 2 | |
4,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า ซึ่งได้ทรงกรม |
3,000 | ขุนนางระดับกลาง | |
2,400 | ขุนนางระดับกลาง | |
2,000 | ขุนนางระดับกลาง | |
1,600 | ||
1,500 | หม่อมเจ้า | |
1,400 | ||
1,200 | ||
1,000 | พระสนมเอก, ขุนนางชั้นพระ - พระยา, หม่อมราชนิกุล | |
800 | ขุนนางชั้น พระ | |
600 | ขุนนางชั้น หลวง | |
500 | หม่อมราชวงศ์ | |
400 | หม่อมหลวง / ขุนนางชั้น ขุน | |
รวม |
ภริยาของขุนนางที่เป็นภรรยาพระราชทาน หรือภรรยาหลวงถือศักดินาครึ่งหนึ่งของสามี อนุภรรยามีศักดินาครึ่งหนึ่งของภรรยาหลวง ภรรยาทาสที่มีบุตรแล้วศักดินาเท่ากับอนุภรรยา
สามเณรรู้ธรรม (คือสอบได้เปรียญ) ศักดินา 300 สามเณรไม่รู้ธรรม 200 พระภิกษุรู้ธรรมศักดินา 600 พระภิกษุไม่รู้ธรรมศักดินา 400 พระครูรู้ธรรมศักดินา 2,400 พระครูไม่รู้ธรรม ศักดินา 1,000 พราหมณ์มีความรู้ด้านศิลปศาสตร์ศักดินา 400 พราหมณ์ทั่วไปศักดินา 200 ตาปะขาวรู้ธรรมศักดินา 200 ตาปะขาวไม่รู้ธรรมศักดินา 100
นอกจากนี้ยังกำหนดไว้ว่า ไพร่ (ประชาชนทั่วไป) มีศักดินา 10-25 ไร่ ทาส, ขอทาน มีศักดินา 5 ไร่
ศักดินานี้ ไม่ใช่จำนวนที่นาที่ถือครองจริง ๆ เป็นเพียงแต่ตัวเลขจัดลำดับชั้น (Ranking) ของประชาชนในราชอาณาจักร เนื่องจากสังคมไทยสมัยโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรม การถือครองที่นาเป็นเครื่องชี้ฐานะของคนในสังคม ดังนั้น ระบบการจัดลำดับชั้นของสังคม จึงใช้การนับจำนวนนาเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจง่ายในบริบทและโครงสร้างสังคมสมัยนั้น ส่วนจำนวนการถือครองที่นาจริง ๆ นั้นเป็นทรัพย์สิน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบศักดินา ดังจะเห็นได้ว่า ทาสและขอทาน หรือพระภิกษุก็มีการกำหนดศักดินาไว้ ศักดินาจึงไม่ใช่สิทธิในการถือครองที่ดิน
ศักดินานี้มีความสำคัญทางกฎหมายเนื่องจากใช้ในการปรับไหม ในทางศาลในคดีละเมิด เช่นหากผู้มีศักดินาสูงละเมิดผู้มีศักดินาต่ำกว่า จะต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยเป็นสัดส่วนตามศักดินาของตน และหากผู้มีศักดินาต่ำไปละเมิดผู้มีศักดินาสูง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยสินไหมตามศักดินาของผู้มีศักดินาสูงกว่า ดังนั้นศักดินาจึงใช้วัด "ค่า" ของคนในสังคมในยุคนั้นในระบบกฎหมายของรัฐ
กฎหมายที่กำหนดศักดินาในสังคมไทยได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมในรัชสมัยรัชกาลที่ 2, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระไอยการตำแหน่งนาเมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ. ๑๑๗๓ (กฎหมายตราสามดวง ฉบับจัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2547 หน้า 424) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาทูต (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ หน้า ๓๑๘) พระราชบัญญัติตำแหน่งศักดินาพระบรมวงศานุวงศ์ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ หน้า ๒๖๕) พระราชบัญญัติศักดินาทหาร(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ แผ่นที่ ๒๑) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาผู้พิพากษาและข้าหลวง(ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๙ แผ่นที่ ๒๔) พระราชบัญญัติศักดินาขุน หมื่น นายเวร เสมียน (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ แผ่นที่ ๓๐) รายละเอียดเพิ่มเติมค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา