พระเจ้าสัมประติ
พระเจ้าสัมประติ (อักษรโรมัน: Samprati ค. 224 – 215 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่ง ราชวงศ์เมารยะ พระองค์เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายกุณาละ พระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้มีตาบอด[ต้องการอ้างอิง] พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจาก พระเจ้าทศรถเมารยะ เขาเป็นมหาราชแห่งจักรวรรดิเมารยะที่ยิ่งใหญ่เพียงคนเดียวรองจาก พระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นอัครศาสนูปถัมภกของศาสนาเชน
พระเจ้าสัมประติ | |
---|---|
ครองราชย์ | ป. 224 – 215 ปีก่อนคริสตกาล |
ก่อนหน้า | พระเจ้าทศรถเมารยะ |
ถัดไป | พระเจ้าศาลิศุกะ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์เมารยะ |
พระราชบิดา | เจ้าชายกุณาละ |
พระราชมารดา | พระนางกัญชนามาลา |
ศาสนา | ศาสนาเชน[1] |
การขึ้นครองราชย์
แก้เจ้าชายกุณาละเป็นบุตรของพระนางปัทมวดี ราชินีพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอโศกมหาราช (ซึ่งนางนับถือ ศาสนาเชน) แต่ถูกพระนางติษยรักษิตาทำให้ตาบอด ดังนั้น พระเจ้าทศรถเมารยะ จึงได้เป็นรัชทายาทแทนเจ้าชายกุณาละ เจ้าชายกุณาละอาศัยอยู่ในอุชเชนี ซึ่งต่อมาพระเจ้าสัมประติได้ประสูติที่นั่น เจ้าชายกุณาละปฏิเสธในราชสมบัติอยู่หลายปี เจ้าชายสัมประติเมื่อเจริญวัยขึ้นก็พยายามเข้าเฝ้าพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อทูลขอพระราชบัลลังก์ พระเจ้าอโศกไม่สามารถส่งมอบบัลลังก์ให้กับเจ้าชายสัมประติได้ แต่พระองค์ทรงให้สัญญาว่าเจ้าชายสัมประติจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าทศรถเมารยะ ซึ่งเมื่อพระเจ้าทศรถเมารยะสวรรคตลง พระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป ตามคำสัญญาของพระเจ้าอโศก[ต้องการอ้างอิง] พระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นระยะเวลา 53 ปี[ต้องการอ้างอิง] ในบันทึกเชนระบุว่า Pariśiṣṭaparvan ระบุว่าพระองค์ทรงปกครองทั้ง ปาฏลีบุตร และ อุชเชนี[2] ซึ่งต่อมาหลังจากพระเจ้าอโศกสวรรคตเมือง Surashtra, มหาราษฏระ, รัฐอานธรประเทศ และ ไมซอร์ ได้แยกตัวเป็นอิสระ พระเจ้าสัมประติจึงปลอมตัวเป็นนักบวชเชนไปตีเมือง จึงสามารถยึดเมืองทั้งหมดคืนได้[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ Cort 2010, p. 199.
- ↑ Thapar, Romila (2001). Aśoka and the Decline of the Maurya, New Delhi: Oxford University Press, ISBN 0-19-564445-X, p.187
- ↑ Moti Chandra (1977). Trade and Trade Routes in Ancient India. Abhinav Publications. pp. 75–. ISBN 978-81-7017-055-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sharma, Suresh K.; Sharma, Usha (2004), Cultural and Religious Heritage of India: Jainism, Mittal Publications, ISBN 978-81-7099-957-7
- Cort, John (2010) [1953], Framing the Jina: Narratives of Icons and Idols in Jain History, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-538502-1
- Shah, Natubhai (2004) [First published in 1998], Jainism: The World of Conquerors, vol. I, Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1938-1