พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค)

พระสุธรรมาธิบดี นามเดิม เพิ่ม นาควาณิช ฉายา อาภาโค เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร แม่กองธรรมสนามหลวง และกรรมการมหาเถรสมาคม

พระสุธรรมาธิบดี

(เพิ่ม อาภาโค)
ส่วนบุคคล
เกิด31 ธันวาคม พ.ศ. 2459 (82 ปี 299 วัน ปี)
มรณภาพ26 ตุลาคม พ.ศ. 2542
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480
พรรษา63
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
แม่กองธรรมสนามหลวง

ประวัติ

แก้

ชาติกำเนิด

แก้

พระสุธรรมาธิบดี มีนามเดิมว่า เพิ่ม นาควาณิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ภูมิลำเนาอยู่บ้านทุ่งหลวง หมู่ 3 ตำบลนาสาร อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อนายแป้น มารดาชื่อนางหนู (สกุลเดิมศรีแฉล้ม) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 5 คน และต่างมารดาอีก 6 คน เมื่อโตขึ้นได้ศึกษาที่โรงเรียนวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช จนจบชั้นประถมบริบูรณ์

อุปสมบท

แก้

พ.ศ. 2474 ย้ายมาอยู่วัดราชาธิวาส และได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ณ วัดราชาธิวาส โดยมีพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชาธิวาส โดยมีพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระภัทรธรรมธาดา (ฮั้ว โสภิโต) ขณะยังเป็นพระครูโสภิตอาวาสวัตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ การบวชทั้งสองครั้งมีเจ้าจอมสว่าง ในรัชกาลที่ 5 เป็นเจ้าภาพ

การศึกษา

แก้

ศาสนกิจ

แก้

หลังจบการศึกษาแล้วได้ย้ายมาอยู่วัดพระนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดรามประดิษฐ์ ได้พัฒนาวัดจนรุ่งเรืองทั้งด้านถาวรวัตถุและการจัดการศึกษา ถึงปี พ.ศ. 2503 จึงย้ายกลับมาอยู่วัดพระนคร

พ.ศ. 2506 พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) ถูกปลดจากเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสและถอดจากสมศักดิ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) และพระธรรมปาโมกข์ (วิน ธมฺมสาโร) ได้สนับสนุนให้ท่านมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อ แม้ในระยะแรกจะประสบปัญหายุ่งยากในการปกครอง แต่ในที่สุดท่านก็เป็นที่ยอมรับจากพระในวัด ได้ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาตราบจนมรณภาพ

สมณศักดิ์

แก้
  • 4 ธันวาคม พ.ศ. 2493 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอริยคุณาภรณ์[1]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปัญญาภรณ์ สุนทรธรรมบัณฑิต ปริยัติกิจโกศล วิมลคณธุราทร ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2510 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปัญญากวี ตรีปิฎกคุณาลังการ ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ สุนทรอรรถสาทิส วิจิตรธรรมภาณี ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสุธรรมาธิบดี ศรีปริยัติสัทธรรมโกศล โสภณสีลาจารประยุต วิสุทธิธรรมวรนายก ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]

มรณภาพ

แก้

พระสุธรรมาธิบดี ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคหัวใจขาดเลือด เมื่อวันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เวลา 03.30 น. ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุได้ 82 ปี 299 วัน พรรษา 63 ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญ วัดราชาธิวาสวิหาร

วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่กลองชนะประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเวลากลางคืน กำหนด 7 คืน

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2543 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ไปพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[6]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจังความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม, ตอน, , หน้า 6321
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอนที่ 104 ง ฉบับพิเศษ, 15 ธันวาคม 2504, หน้า 5
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 84, ตอนที่ 128 ง ฉบับพิเศษ, 30 ธันวาคม 2510, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 94, ตอนที่ 3 ง ฉบับพิเศษ, 6 มกราคม 2520, หน้า 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 107, ตอนที่ 138 ก ฉบับพิเศษ, 6 สิงหาคม 2533, หน้า 17-20
  6. ประวัติวัดราชาธิวาสวิหาร, หน้า ?
บรรณานุกรม
  • พระราชกวีและคณะ. ประวัติวัดราชาธิวาสวิหาร. กรุงเทพฯ : วัดราชาธิวาส, 2545. 300 หน้า. หน้า 173-195. ISBN 974-85891-1-7 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum