พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701

พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701 (อังกฤษ: Act of Settlement 1701) เป็นพระราชบัญญัติที่ประกาศใช้โดยรัฐสภาอังกฤษเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์แห่งอังกฤษต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ โดยมีการบัญญัติให้โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ พระราชนัดดา(หลานตา) ในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และผู้สืบเชื้อสายต่อจากเจ้าหญิงโซฟีโดยต้องเป็นศาสนิกชนชาวโปรเตสแทนต์ เป็นรัชทายาท

พระราชบัญญัติว่าด้วยการ
สืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1701
พระราชบัญญัติ
ชื่อเต็มพระราชบัญญัติสำหรับเพิ่มเติมข้อจำกัดแห่งพระมหากษัตริย์ และเพื่อการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในพระราชบัญญัตินี้
อ้างอิง12 และ 13 Will 3 c. 2
เขตอำนาจราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรไอร์แลนด์
วาระ
ได้รับพระบรมราชานุญาตค.ศ. 1701
เริ่มใช้เมื่อค.ศ. 1701
การแก้ไขเพิ่มเติม
เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.สิทธิพื้นฐาน ค.ศ. 1689
สถานะ: มีการแก้ไขเพิ่มเติม
เนื้อความของกฎหมายตามที่ตราขึ้นในครั้งแรก
เนื้อความที่ปรับปรุงตามการแก้ไขเพิ่มเติม

เดิมพระราชบัญญัติได้นำเสนอต่อรัฐสภาอังกฤษใน ค.ศ. 1700 และรัฐสภามีมติรับหลักการในปีถัดมา ต่อมาได้มีเสนอญัตติแก้ไขข้อความในพระราชบัญญัติครอบคลุมไปถึงราชบัลลงก์แห่งสกอตแลนด์ตามความในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707

ที่มา

แก้

เนื่องในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ลำดับการสืบสันตติวงศ์ของราชบัลลังก์อังกฤษจึงเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสิทธิ ค.ศ. 1689 ซึ่งบัญญัติให้ถือว่าการเสด็จลี้ภัยไปต่างแดนของพระเจ้าเจมส์ ที่ 2เป็นการสละราชสมบัติโดยปริยาย และให้พระราชธิดาในพระเจ้าเจมส์ที่ 2 พร้อมด้วยพระราชสวามีเสด็จขึ้นทรงราชย์แทนเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 และพระเจ้าวิลเลียม ที่ 3 ตามลำดับ โดยให้ปกครองประเทศร่วมกัน

ในกรณีนี้ ผู้มีสิทธิสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากกษัตริย์ทั้งสองคือพระราชบุตรของทั้งสองพระองค์เอง ลำดับต่อมาได้แก่เจ้าหญิงแอนน์ น้องสาวของพระนางเจ้าแมรี ต่อมาได้แก่พระทายาทของเจ้าหญิงแอนน์ จากนั้นจึงเป็นพระราชบุตรของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 หากทรงเสกสมรสใหม่ภายหลังการสวรรคตของพระนางเจ้าแมรี

อย่างไรก็ดีสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1694 พระโอรสพระองค์สุดท้ายของเจ้าหญิงแอนน์สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1700 และพระเจ้าวิลเลียม ที่ 3 มิได้ทรงเสกสมรสใหม่ กับทั้งโอกาสที่เจ้าหญิงแอนน์จะมีพระราชบุตรอีกก็เป็นไปได้ยากเพราะมีพระชนมายุมากขึ้น จึงเกิดปัญหาว่าผู้ใดควรเป็นผู้สืบพระราชสันตติวงศ์นี้ต่อไป

รัฐบาลเห็นเป็นความจำเป็นที่จะต้องตราพระราชบัญญัตินี้เพื่อ

  1. กำหนดให้แน่นอนซึ่งตัวบุคคลผู้สมควรสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์ทั้งสองพระองค์ข้างต้น โดยในพระราชบัญญัตินี้บัญญัติให้เป็นเจ้าหญิงแอนน์
  2. กระทำให้มั่นใจว่าผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์เป็นศาสนิกชนชาวโปรเตสแตนต์
  3. ป้องกันมิให้ผู้ไม่มีสิทธิในพระราชบัลลังก์อ้างสิทธิดังกล่าว ซึ่งได้แก่ เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวต และ ลุยซา มาเรีย เทเรซา สจวต

พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1701

เนื้อหาของพระราชบัญญัติ

แก้
 
"ท่านหญิงโซฟีแห่งพาลาทิเนต" พระชายาในเจ้าผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์
ภาพเหมือนเขียนโดยน้องสาวหลุยส์ ฮอลแลนดีนราว ค.ศ. 1644

พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ระบุว่าราชบัลลังก์อังกฤษจะผ่านไปยังสายของโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์– พระราชนัดดาในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ– และผู้สืบเชื้อสายจากพระองค์ผู้เป็นโปรเตสแตนต์ผู้ที่ยังมิได้เสกสมรสกับผู้เป็นโรมันคาทอลิก; ผู้ที่เป็นโรมันคาทอลิกหรือเสกสมรสกับผู้เป็นโรมันคาทอลิกถูกห้ามจากการมีสิทธิในการครองราชบัลลังก์ “ตลอดกาล” อีกแปดมาตราของพระราชบัญญัติจะมีผลใช้ได้ก็เมื่อหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และพระราชินีนาถแอนน์:[1]

  • กษัตริย์ต้องทรงผู้นับถือ "คริสตจักรแห่งอังกฤษ" ซึ่งเป็นอีกมาตราหนึ่งที่เลี่ยงการมีกษัตริย์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นการป้องกันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ผู้ทรงเปลี่ยนไปเป็นโรมันคาทอลิกที่ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศที่ในที่สุดก็นำมาสู่การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปี ค.ศ.1688 ที่ได้มาซึ่งกษัตริย์ร่วมบัลลังก์ระหว่างพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2
  • ถ้าผู้ขึ้นครองราชย์มิใช่ชาวอังกฤษโดยกำเนิด อังกฤษจะไม่เข้าร่วมสงครามเพื่อยึดครองรัฐที่มิได้เป็นของราชบัลลังก์อังกฤษโดยมิได้รับอนุญาตจากรัฐสภา ข้อนี้เป็นข้อที่มองการณ์ไกล เพราะเมื่อราชวงศ์ฮันโนเฟอร์จากเยอรมนีขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ ผู้ที่ขึ้นครองก็ยังเป็นเจ้าผู้ครองรัฐฮันโนเฟอร์ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐนีเดอร์ซัคเซินของเยอรมนี) มาตรานี้สิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชย์เพราะพระองค์ไม่สามารถเป็นผู้ครองรัฐฮันโนเฟอร์ได้ตามกฎบัตรซาลลิคที่ใช้กันในเยอรมนีขณะนั้น แต่มาตรานี้ก็อาจจะยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • กษัตริย์ไม่สามารถออกจากอังกฤษ, สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ได้โดยมิได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา[1] มาตรานี้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1716 โดยการขอของพระเจ้าจอร์จที่ 1 ผู้ทรงเป็นเจ้าชายอีเล็คเตอร์แห่งฮันโนเฟอร์และดยุคแห่งบรันสวิค-ลืนเนอร์เบิร์กแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ทรงมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางหรือมีพระประสงค์ที่จะไปพำนักที่ฮันโนเฟอร์บ่อยๆ[2]
  • กิจการของรัฐบาลทุกเรื่องที่อยู่ภายไต้อำนาจของสภาองคมนตรีต้องปฏิบัติต่อหน้าสภาองคมนตรี และข้อตกลงทุกข้อของสภาองคมนตรีต้องได้รับการลงชื่อโดยผู้เห็นพ้องกับข้อตกลง ทั้งนี้ก็เพื่อให้รัฐสภาทราบว่าผู้ใดมีความรับผิดชอบต่อนโยบายใด แต่ข้อนี้ถูกยุบเลิกเมื่อต้นรัชสมัยของพระราชินีนาถแอนน์ เพราะองคมนตรียุติการเสนอความคิดเห็นหรือไม่ยอมเข้าประชุมเอาเลย[2]
  • ชาวต่างประเทศรวมทั้งผู้ที่เปลี่ยนสัญชาตินอกจากว่าบิดามารดาจะเป็นชาวอังกฤษไม่มีสิทธิในการเป็นสมาชิกสภาองคมนตรีหรือเป็นสมาชิกทั้งสภาสามัญชนและสภาขุนนาง หรือมีตำแหน่งในกรมการทั้งทางทหารและพลเรือนที่สำคัญๆ หรือมีสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินที่ได้รับจากกษัตริย์ แต่กฎหมายการเปลี่ยนสัญชาติต่อมาข้อนี้ไม่มีผลบังคับใช้ต่อผู้เปลี่ยนสัญชาติไม่ว่าจะในประเทศใด
  • ผู้ที่รับราชการในกษัตริย์หรือได้รับเบี้ยบำนาญจากกษัตริย์ไม่มีสิทธิในการเป็นสมาชิกรัฐสภา มาตรานี้ระบุไว้เพื่อป้องกันการมีสมาชิกที่มีอิทธิพลจากกษัตริย์ในรัฐสภา และยังคงใช้อยู่แต่มีข้อยกเว้นหลายประการ
  • ผู้พิพากษาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งขณะที่ “quamdiu se bene gesserint” (มีความประพฤติดี) และถ้ามีปัญหาจะถูกปลดได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากทั้งสองรัฐสภาหรือเพียงรัฐสภาเดียวขึ้นอยู่กับโครงร่างของกฎหมาย มาตรานี้เป็นผลมาจากการที่กษัตริย์ทรงมีอิทธิพลในการตัดสินของผู้พิพากษาและเป็นการทำให้การตัดสินของผู้พิพากษาปราศจากอิทธิพลใดๆ
  • การพระราชทานอภัยโทษไม่เป็นการป้องกันการถูกไล่ออกจากสภาสามัญชน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 http://www.worldfreeinternet.net/parliament/settlement.htm เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Text of the Act of Settlement
  2. 2.0 2.1 I. Naamani Tarkow, 'The Significance of the Act of Settlement in the Evolution of English Democracy', Political Science Quarterly, Vol. 58, No. 4. (Dec., 1943), p. 547.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้