พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)
อำมาตย์โท นายหมวดเอก นายเรือเอก พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) อดีตผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ปลัดมณฑลอุดร ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และผู้ว่าราชการจังหวัดตราด
อำมาตย์โท พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) | |
---|---|
เกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 |
ถึงแก่กรรม | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 (54 ปี) |
สาเหตุเสียชีวิต | โรคดีซ่าน |
ตำแหน่ง | ผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ปลัดมณฑลอุดร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด |
ภรรยาเอก | คุณหญิงตุ่ม |
บุตร | หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้พระยาประเสริฐสุนทราศรัย มีชื่อเดิมว่า กระจ่าง เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 เป็นบุตรชายของพระยาเพชรชฎา (ดิศ สิงหเสนี) กับมารดาชื่อ โหมด
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงตุ่ม มีบุตรธิดาที่สำคัญคือ
1.คุณหญิงเจือ นครราชเสนี ผู้บริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมรสกับ พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี)
2.หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี) สมาชิกคณะราษฎรและอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำอิตาลี
3.นางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินสร้างวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก พระอารามหลวง
พระยาประเสริฐสุนทราศรัยถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคดีซ่าน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 สิริอายุได้ 54 ปี[1]
รับราชการ
แก้พระยาประเสริฐสุนทราศรัยเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กจากนั้นจึงได้เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ต่อมาได้ขึ้นไปรับราชการที่มณฑลนครราชสีมา ในตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวงมหาดไทยมณฑลนครราชสีมา จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงรังสฤษดิ์ศุขการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2437
จากนั้นอีก 3 ปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2440 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงมหาดไทยมณฑลนครราชสีมา จากนั้นในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปรั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองนางรอง ลำดับชั้นที่ 2 โท ซึ่งวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองบุรีรัมย์[2] และได้โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการไปพระราชทานเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2444[3] จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระนครภักดี ศรีนครานุรักษ์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2447
ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2451 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่ง ปลัดมณฑลอุดร โดยมี หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลภูเก็ตมารับตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์แทน โดยได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 จากนั้นจึงได้ย้ายไปรับตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองเลย แทน พระภักดีศรีสงคราม ที่สลับไปรับตำแหน่ง ปลัดมณฑลอุดร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2456
จากนั้นจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประเสริฐสุนทราศรัย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ต่อมาจึงได้ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองตราด เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนกราบถวายบังคมลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2467
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้- 30 เมษายน พ.ศ. 2437 หลวงรังสฤษดิ์ศุขการ ถือศักดินา ๖๐๐[4]
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2447 พระนครภักดี ศรีนครานุรักษ์ ถือศักดินา ๓๐๐๐[5]
- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 อำมาตย์โท[6]
- 25 กรกฎาคม 2455 – นายหมู่ตรี[7]
- 13 เมษายน 2459 – นายหมู่ใหญ่[8]
- 7 ตุลาคม 2459 – นายหมวดตรี[9]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2460 พระยาประเสริฐสุนทราศรัย[10]
- 25 พฤศจิกายน 2461 – โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน[11]
- 19 ตุลาคม 2463 – นายหมวดเอก กองเสือป่า[12]
- 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 นายเรือเอก ราชนาวีเสือป่า
ตำแหน่ง
แก้- ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลนครราชสีมา
- 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการ เมืองนางรอง[13]
- 26 กันยายน พ.ศ. 2444 - รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ มีลำดับยศชั้นที่ 2 โท[14]
- ผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์
- 13 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ปลัดมณฑลอุดร[15]
- 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 กราบถวายบังคมลาไปรับราชการตามหน้าที่[16]
- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการเมืองเลย[17]
- 30 ตุลาคม 2463 – ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด[18]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2467 กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ[19]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2459 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[20]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[21]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[22]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวตาย (หน้า ๓๘๗๐)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ส่งสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (หน้า ๙๗๗)
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๐๑๑)
- ↑ ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ส่งสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการไปพระราชทาน
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ข้าราชการกราบถวายบังคมลา
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลัดเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่และย้ายถอนข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๑๘, ๔ มิถุนายน ๒๔๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๙๗, ๑๐ ธันวาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๗๑, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐