พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)

พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) (15 มิถุนายน พ.ศ. 2362 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439) เป็นขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ที่มีความรู้ในเชิงช่าง สามารถซ่อมเครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า มีความสามารถในวิชาช่างชุบโลหะ สามารถประดิษฐ์สร้างเครื่องกลึง

พระยากระสาปนกิจโกศล
(โหมด อมาตยกุล)
เกิด15 มิถุนายน พ.ศ. 2362
เสียชีวิต26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 (77 ปี)
คู่สมรสคุณหญิงพลอย ไกรฤกษ์
บุตรพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)
พระยาเพ็ชรพิไชย (เจิม อมาตยกุล)
พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล)
คุณหญิงทรามสงวน อภัยรณฤทธิ์
บิดามารดาพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม)
คุณหญิงเย็น

ประวัติ

แก้

พระยากระสาปนกิจโกศล เดิมชื่อ โหมด เกิดเมื่อวันอังคาร แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2362 เป็นบุตรของพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม) กับคุณหญิงเย็น[1]

บุตร-ธิดา

แก้

เกิดแต่เอกภรรยา คือ คุณหญิงพลอย (ธิดาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองดี ไกรฤกษ์) น้องสาวต่างมารดาของเจ้าจอมอิ่ม ในรัชกาลที่ 2) คือ

เกิดแต่อนุภรรยา คือ นิ่ม (ธิดาหลวงแก้วอายัติ (อ้น ไกรฤกษ์)) คือ

การทำงาน

แก้

โหมดได้ศึกษาวิชาการเครื่องจักรและการผสมธาตุผสมโลหะกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน เป็นคนไทยคนแรกที่ศึกษาวิทยาการการถ่ายภาพจากหลุยส์ ลาร์โนดี (L' abbe Larnaudie) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส[2] และเป็นช่างภาพชาวไทยคนแรก มีผลงานถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพวัง และภาพวิถีชีวิตของชาวสยาม ให้กับหมอเฮาส์ ส่งไปสหรัฐ

ในปี พ.ศ. 2403 สมัยรัชกาลที่ 4 วิศวกรชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาติดตั้งเครื่องจักรที่โรงกระสาปน์สิทธิการ เพื่อผลิตเงินเหรียญใช้แทนเงินพดด้วง ได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน โหมดสามารถติดตั้งเครื่องจักรจนใช้งานได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระวิสูตรโยธามาตย์ ทำหน้าที่กำกับการทำเงิน

 
โรงกระสาปน์สิทธิการ

ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น พระยากระสาปนกิจโกศล เมื่อปี พ.ศ. 2411 ดำรงตำแหน่งจางวางกรมกระสาปน์สิทธิการ ตำแหน่งผู้บังคับการโรงหล่อเหล็กของกรมทหารเรือ และตำแหน่งผู้บังคับการโรงแก๊สของหลวง [1] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งใน ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2417[3]

บั้นปลายชีวิต

แก้

พระยากระสาปนกิจโกศล ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ถอดบรรดาศักดิ์ และจำคุก เมื่อปี พ.ศ. 2422 เนื่องจากกรณีที่พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) บุตรชายต้องโทษ เขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี พ.ศ. 2430 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2439 สิริอายุ 77 ปี[1]

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 เอนก นาวิกมูลลิ้นชักภาพเก่า ประมวลภาพ จากคอลัมน์เปิดกรุภาพเก่าในนิตยสารแพรวรายปักษ์ และคอลัมน์ลิ้นชักภาพเก่าในวิทยาจารย์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, พ.ศ. 2550. 392 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-94365-2-3
  2. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ๑๐๐ ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3
  3. จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1