พระนางจันทรวรเทวี


พระนางจันทรวรเทวี (เขมร : ព្រះ​នាង​ច័ន្ទតារាវត្តី, โรมัน : Chantraworadevi) พระองค์เป็นพระมเหสีของพระเจ้าตระซ็อกประแอม (พ.ศ.1879-1883)[1] เป็นพระราชมารดาในพระบรมนิพพานบทและพระสิทธานราชา อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ยังหาข้อสรุปถึงการมีอยู่จริงของตัวตนของนาง[2]

พระนางจันทรวรเทวี
สมเด็จพระราชินี
สวรรคตพระนครหลวง
คู่อภิเษกพระเจ้าแตงหวาน
พระราชบุตรพระบรมนิพพานบท
พระสิทธานราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์มหิธรปุระ
(ประสูติ)
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
(อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาพระเจ้าชัยวรมันที่9
พระราชมารดาพระนางองค์ราชเทวี
ศาสนาพุทธ

พระราชประวัติ

แก้

พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 และพระนางองค์ราชเทวี[3]

พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระองค์ชัย พระราชปนัดดาในพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 4 แห่งจามปา และเป็นพระญาติทางพระราชมารดาในปี พ.ศ. 1833 หลังจากอภิเษกสมรส (พระเจ้าชัยวรมันที่ 9) ทรงพระราชทานเมืองทางตอนใต้ใกล้เมืองจตุมุขให้ปกครอง ครั้นถึงปี พ.ศ.1879 ใด้เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองพระนครหลวงทำให้พระเจ้าชัยปรเมศวรถูกลอบปลงพระชนม์เสด็จสวรรคตบรรดาขุนนางสรรพมุขมนตรีทั้งหลายจึงอัญเชิญพระองค์ชัยผู้เป็นพระราชบุตรเขยขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรียโศธรปุระเฉลิมพระนาม พระบาทศรีสุริโยพันธุ์ จากนั้นจึงสถาปนาพระนางจันทรวรเทวีขึ้นเป็นพระอัครมเหสี หลังจากอภิเษกสมรสได้ 45 ปีและสถาปนา พระบรมนิพพานบท พระราชโอรสองค์โตขึ้นเป็นพระอุปราชขณะมีพระชนม์มายุ 44 พรรษา ซึ่งเหตุการณ์นี้เองที่นักวิชาการกัมพูชามองว่าพระองค์ชัยหรือพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1 กับพระเจ้าแตงหวานไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ซึ่งสรุปได้ว่าพระเจ้าแตงหวานเป็นเพียงบุคคลในตำนานนิทานพื้นบ้าน นักวิชาการให้น้ำหนักว่าพระบาทศรีสุริโยพันธุ์นั้นทรงเป็นเชื้อพระวงศ์มาก่อนแน่นอน เพราะในขณะนั้นราชวงศ์มหิธรปุระ ยึดถือระบบชนชั้นวรรณะแบบอินเดียอย่างเข้มข้น[4] การที่พระนางจันทรวรเทวีซึ่งมีวรรณะกษัตริย์จะไปสมรสกับชนชั้นศูทร (ไพร่) ย่อมขัดแย้งกับประเพณีของบ้านเมืองในขณะนั้น [5]

พระเจ้าตระซ็อกประแอมได้ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 ด้วยพระแสงหอกลำแพง[6]จนสวรรคตเมื่อ พ.ศ.1879 ต่อมาบรรดานาหมื่นสรรพมุขมนตรีทั้งหลายจึงพร้อมใจกันถวายราชสมบัติให้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์อาณาจักรพระนคร และทรงรับพระนางจันทรวรเทวี พระราชธิดาในพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 เป็นสมเด็จพระอัครมเหสี ขณะนั้นพระเจ้าตระซ็อกประแอมมีพระชนมายุ 70 ปี ได้สถาปนาพระนางเป็น สมเด็จพระภัควดี ศรีจันทรวรเทวี พระอรรคมเหษี

พระองค์ทรงประสูติพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ พระบรมนิพพานบทและพระสิทธานราชา

อ้างอิง

แก้
  1. ศานติ ภักดีคำ. "เอกสารกัมพูชากับการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา" (PDF).
  2. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สงคราม "ขอมแปรพักตร์" - โอรสพระเจ้าอู่ทองได้ครองเมืองนครธม.อนุรัตน์ บุตรดี
  3. "Sbek Thorn In Cambodia's Past, Present, And Future", Sbek Thom, Cornell University Press, pp. 32–34, 2019-12-31, สืบค้นเมื่อ 2023-06-29
  4. Harris, Ian (2008-03-11). Cambodian Buddhism: History and Practice. University of Hawaii Press. p. 109. ISBN 978-0-8248-3298-8.
  5. Renowned for its ability to grow tasty cucumbers," according to A. Dauphin-Meunier, History of Cambodia.
  6. Mak Phoeun (1995). Histoire du Cambodge: de la fin du XVIe siècle au début du XVIIIe. Monographies / École Française d'Extrême-Orient. Paris: Presses de l'École Française d'Extrême-Orient. ISBN 978-2-85539-776-4.