พระตำหนักดอยตุง

พระตำหนักดอยตุง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านมูเซอลาบา ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย บริเวณสันเขาของเทือกดอยนางนอน ระดับความสูงประมาณ 1,200 ม. เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นที่ที่น่าเที่ยว

พระตำหนักดอยตุง
อักษรล้านนาคำว่า "พระตำหนักดอยตุง"
พระตำหนักดอยตุง
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระตำหนัก
สถาปัตยกรรมการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับบ้านพื้นเมืองของสวิตเซอร์แลนด์
เมืองอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
ประเทศประเทศไทย
เริ่มสร้างวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530
ผู้สร้างสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ประวัติ

แก้

พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530 เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ 88 พรรษา โดยก่อนหน้านั้นมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้เลือกดอยตุงซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม ขณะเดียวกันสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อทอดพระเนตรพื้นที่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้างบ้านที่ดอยตุง พร้อมกันนี้ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะปลูกป่าบนดอยสูง จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินการโดยความร่วมมือจากหน่วยราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง นอกจากทำการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพพื้นที่แล้วยังมีการฝึกอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขาบนดอยตุง ซึ่งประกอบด้วยชาวเขาเผ่าอาข่า ลาหู่ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ ขณะเดียวกันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้

สถานที่ภายในพระตำหนัก

แก้
 
1.หอพระราชประวัติ

หอพระราชประวัติ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าสุดของพระตำหนัก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า ภายในแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ แปดห้อง ดังนี้

  • ห้องแรก แผ่นดินไทยฟ้ามืด กล่าวถึงการเสด็จถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2539
  • ห้องที่ 2 ฉันจะเดินทางด้วยเรือลำนี้ แสดงถึงปรัชญาในการดำเนินพระชนม์ชีพ ที่ประกอบด้วยหลักเหตุผล และการสร้างสรรค์ทางศิลปะ
  • ห้องที่ 3 ภูมิธรรม ประมวลความสนพระทัยในหลักธรรมคำสั่งสอน
  • ห้องที่ 4 หนึ่งศตวรรษ เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า และเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปีแห่งการพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ. 2443 ทั้งนี้ ทรงพระปรีชาชาญ ในการอภิบาลพระธิดา และพระโอรสที่ต่อมาได้เถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็น พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ รวมทั้งทรงนำความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพสกนิกร จนองค์การยูเนสโก ได้ประกาศพระนามในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก
  • ห้องที่ 5 เวลาเป็นของมีค่า กล่าวถึงงานฝีมือต่าง ๆ ของพระองค์ที่ใช้พระราชทานแก่บุคคลต่าง ๆ
  • ห้องที่ 6 พระมารดาแห่งการแพทย์ชนบทและการสาธารณสุขไทย
  • ห้องที่ 7 พระผู้อภิบาล บรรยายถึงความเป็นพระผู้อภิบาลธรรมชาติ
  • ห้องที่ 8 ดอยตุงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวถึงโครงการพัฒนาดอยตุงที่เป็นโครงการพัฒนาระยะยาว เน้นการ อนุรักษ์ธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชน
2.สวนแม่ฟ้าหลวง
 
สวนแม่ฟ้าหลวง

เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว ในหุบเขา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เดิมมีพื้นที่ 12 ไร่ มีการปลูกดอกไม้หมุนเวียนสลับ ให้ออกดอกไม่ซ้ำกันตลอดสามฤดู ล้อมรอบประติมากรรมชื่อ "ความต่อเนื่อง" เป็นรูปเด็กยืนต่อตัวที่กลางสวน นอกจากนี้ ยังจัดแต่งสวนหินซึ่งประดับด้วยหินภูเขากลมเกลี้ยงขนาดใหญ่ สวนน้ำอุดมด้วยไม้น้ำพันธุ์ต่างๆ บัว และสวนปาล์มที่รวบ รวมปาล์มไว้มากมายในพื้นที่ 13 ไร่ สวนแม่ฟ้าหลวงจึงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 25 ไร่

3. อาคารพระตำหนักดอยตุง

โดยลักษณะการก่อสร้าง เป็นการผสมผสานระหว่าง สถาปัตยกรรมล้านนา บ้านปีกไม้ และบ้านแบบพื้นเมือง ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มี ๒ ชั้น และชั้นลอยที่ประทับ ชั้นบนแยกเป็น ๔ ส่วน ทว่าเชื่อมเป็นอาคารหลังเดียวกัน เสมอกับลานกว้าง ของยอดเนินเขาภายในประกอบด้วย ชั้นบนที่แยกออกเป็น ๔ ส่วนนั้น ได้แก่ ที่ประทับของ สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี ซึ่งประกอบด้วยห้องพระโรง และห้องเตรียมพระกระยาหาร นอกจากนี้ เป็นห้อง ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยฯ และที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้นล่าง ซึ่งสร้างให้เกาะไปตามไหล่เขา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่อยู่ของข้าราชบริพาร ด้านนอกพระตำหนัก มีเชิงชายไม้แกะสลัก เป็นลายพื้นเมือง เรียกว่า “ ลายเมฆไหล ” เหนือหลังคามี กาแลลงรักปิดทอง ๑๔ คู่ แยกเป็นลาย พรรณพฤกษาแบบล้านนา ๒ คู่ อีก ๑๒ คู่ เป็นลวดลายพฤกษา สลับกับสัตว์ทั้ง ๑๒ ราศี อันเป็นตัวแทน ของแต่ละปีในรอบนักษัตร นอกจากนี้ ที่บานพระทวารเข้าพระตำหนัก มีลวดลายรูป พระอาทิตย์ฉายแสง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของพลังอันแก่กล้า เหนือบานประตูเป็น ภาพต้นไม้ทิพย์ และหมู่วิหค ทางมุมซ้ายเป็นรูปนกเค้าแมว คอยดูแลสอดส่อง มิให้สิ่งชั่วร้ายเล็ดลอด เข้าไปในพระตำหนักได้ ที่กรอบทวารมีข้อความว่า “ สรีสวัสสดี พุทธศักราช ๒๕๓๑ ” อนึ่ง บนหลังคาพระตำหนัก มีท่อน้ำฝนทำ จากเครื่องปั้นดินเผาชนิด ไม่เคลือบ รูปหัวเหรา ปลา กบ สลับกับพญานาค ภายในพระตำหนัก ใช้ไม้สนภูเขาบุผนัง พื้นเป็นไม้สักทอง ซึ่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ น้อมเกล้าฯ ถวาย สำหรับผนัง ในท้องพระโรง ประดับด้วย ภาพวาดสีน้ำมันขนาดใหญ่ ๓ ภาพ ภาพแรกชื่อ “ ตำนานดอยตุง ” ศิลปินคือ นายปัณยา ไชยะคำ สองภาพหลังชื่อ “ ยามตะวันชิงพลบ ” และ “ ดอยตุงยามราตรีสงัด ” ฝีมือของนาย บรรณรักษ์ นาคบรรลังค์ ส่วนของเพดานท้องพระโรง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมาคมดาราศาสตร์ แห่งประเทศไทย ออกแบบแกะสลัก เป็นสุริยจักรวาล ประกอบด้วย กลุ่มดาวในระบบสุริยะเรียงราย กันไปตามองศา ของวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ อันเป็นวันพระราชสมภพ รวมทั้งรูปดาวนพเคราะห์ กลุ่มต่าง ๆ ซึ่งทรงเลือกมารวบรวมไว้ ด้วยพระองค์เอง ฝาผนังท้องพระโรงด้านหนึ่ง บุด้วยผ้าปักรูปดอกไม้นานาพันธุ์ บนผ้าไหม ซึ่งชาวบ้านอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ น้อมเกล้าฯ ถวาย ส่วนอีกด้านหนึ่ง แขวนผ้าปักครอสติสรูปดอกไม้ จากฝีพระหัตถ์ของพระองค์ บริเวณด้านหน้าของพระตำหนัก ยังมีสวนดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ เรียกว่า “ สวนแม่ฟ้าหลวง ” มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ ออกแบบรูปทรง เป็นลายผ้าพื้นเมืองเหนือด้วยการปลูกไม้ดอกเมืองหนาว หลากหลายพันธุ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชม ได้โดยเก็บค่าบำรุง

4. พระธาตุดอยตุง พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำปีกุน

พระบรมธาตุดอยตุง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเชียงราย ประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ในเขตกิ่งอำเภอ แม่ฟ้า หลวง มีถนนแยกจากบ้านห้วยไคร้ขึ้นไปจนถึงองค์พระบรมธาตุองค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับ น้ำทะเล ประมาณ 2000 เมตร ตามตำนานมีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนก นาคนคร เมื่อปี พ.ศ. 1452 พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวายซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่าที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูปบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้าพระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจก มาเฝ้าพระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้าง พระสถูปขึ้น โดยนำธง ตะขาบยาว 3000 วา ไปปักไว้บนดอยมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด้ ให้กำหนดเป็นฐาน พระสถูปเพียงนั้นดอย ดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จก็ได้นำ พระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุบรรจุไว้ให้คนสักการบูชา ต่อมาสมัยพญามังรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวนองค์ พญามังรายจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ ตั้งคู่กัน ดังปรากฏอยู่จน ถึงทุกวันนี้ ชาวเชียงรายมีประเพณีการเดิน ขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี

สิ่งที่น่าสนใจ: พระธาตุดอยตุง เป็นเจดีย์สีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 ม. บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุง บูชาพระธาตุ เมื่อ 1,000 ปีก่อน

การเดินทางไปดอยตุง

แก้
  • 1. รถยนต์ส่วนตัว

ใช้ทางขึ้นดอยตุงสายใหม่ ผ่านบ้านไทยใหญ่ร่มไทร กม.2 ผ่านจุดชมวิว กม.12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายระหว่างหลัก กม.12 และ 13 ไปอีก 2 กม. จะถึงพระตำหนัก ระยะทาง 15 กม. หรือใช้ทางขึ้นสายเก่า โดยขับเลยแยกบ้านสันกองราว 1 กม. เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1149 ที่บ้านห้วยไคร้ ระหว่างหลัก กม.871-872 เป็นทางขึ้นดอยตุงสายเก่า เส้นทางสูงชันกว่าสายใหม่ แต่ระยะทางสั้นกว่าเล็กน้อย ถนนจะไปบรรจบกับทางขึ้นสายใหม่ใกล้ กม.

การเดินทางไปพระธาตุดอยตุง

แก้

ใช้ทางขึ้นดอยตุงสายใหม่ เมื่อผ่นทางแยกซ้ายไปพระตำหนักดอยตุง ถึงหลัก กมขจก.14 จะมีทางแยกซ้ายถ้าขับ ตรงไปจะขึ้นตรงสู่พระธาตุดอยตุง ทางค่อนข้างแคบและชันมาก ระยะทาง 3 กม. ถ้าไปทางแยกซ้าย มือ จะเป็น ทางอ้อม ผ่านสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง ทางแยกไปดอยช้างมูบ อ.แม่สาย และวัดน้อยดอยตุง ตรงหลัก กม.23 ระยะทาง 10 กม. จากวัดน้อยดอยตุง ต้องขับขึ้นดอยไปตามทางชัน แคบและคดเคี้ยว อีก 1 กม. บริเวณนี้ เรียกว่าสวนเทพารักษ์ ต้องขับด้วยความระมัดระวังเพราะอาจมีรถสวนลงมาได้

  • 2. รถโดยสารประจำทาง

จาก อ. เมืองเชียงรายนั่งรถสายเชียงราย-แม่สาย ไปลงที่บ้านห้วยไคร้ เพื่อต่อรถสองแถวสีม่วงขึ้นไปดอยตุงที่ สถานี ขนส่งท่องเที่ยวดอยตุง รถสองแถวจะพาไปยังพระธาตุดอยตุง ตลาดสินค้าพื้นเมืองชาวเขา หน้าศูนย์ วิจัยพืชไร่ ใกล้อ่างเก็บน้ำ และพระตำหนักดอยตุง ใช้เวลาเดินทางและพาเที่ยว 3 ชม.

ภายในพระตำหนัก

แก้

พระตำหนักแห่งนี้ ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์โดยเน้นที่ความเรียบง่ายและการใช้ประโยชน์ ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีและเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชม สถาปัตยกรรมของพระตำหนักเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบล้านนากับบ้านพื้นเมืองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สร้างบนไหล่เนิน มองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลสุดสายตา พระตำหนักมี สองชั้น และชั้นลอยชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน แต่เชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียว ที่โดดเด่นสะดุดตา คือ กาแลและ ไม้แกะสลัก เป็นเชิงชายลายเมฆไหลที่อ่อนช้อยโดยรอบภายในตำหนักล้วนใช้ไม้สน และไม้ลังที่ใส่สินค้า เป็นเนื้อไม้สีอ่อนที่สวยงามจุดน่าสน ใจอีกจุดคือ เพดานดาว ภายในท้องพระโรง แกะสลักขึ้นจากไม้สนภูเขาเป็น กลุ่มดาวต่าง ๆ ล้อมรอบระบบสุริยะ ชมได้อย่างไม่รู้เบื่อ ส่วนบริเวณผนังเชิงบันได แกะสลักเป็นพยัญชนะไทย พร้อมภาพประกอบภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ ไว้เป็นอย่างดี และบางครั้งที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมีพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงราย ก็จะเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

20°17′18″N 99°48′35″E / 20.288306°N 99.809806°E / 20.288306; 99.809806