พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ
พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ (รัสเซีย: Конституцио́нно-демократи́ческая па́ртия, อักษรโรมัน: Konstitutsionno-demokraticheskaya partiya; K-D) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า พรรคอิสรภาพของประชาชน (รัสเซีย: Па́ртия Наро́дной Свобо́ды) เป็นพรรคการเมืองในจักรวรรดิรัสเซียที่ส่งเสริมการเกิดขึ้นของระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบตะวันตก และมีฐานคะแนนนิยมตั้งแต่กลุ่มอนุรักษนิยมสายกลางจนถึงฝ่ายสังคมนิยม[3][4] สมาชิกพรรคมีชื่อเรียกว่า คาเดตส์ (Kadets) มาจากตัวย่อ K-D ของชื่อพรรค[5] นโยบายของพรรคมีพื้นฐานทางทฤษฎีมาจากงานเขียนของคอนสตันติน คาเวลิน และบอริส ชรเชริน โดยมีปาเวล มิลอูย์คอฟ เป็นหัวหน้าพรรคตลอดเวลาการดำรงอยู่ของพรรค
พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญ Конституционно-демократическая партия | |
---|---|
ชื่อย่อ | K-D; คาเดตส์ (Kadets) |
ผู้ก่อตั้ง |
|
ประธาน | ปาเวล มิลอูย์คอฟ |
คำขวัญ | ทักษะและการงานเพื่อความดีงามของมาตุภูมิ (รัสเซีย: Умение и труд на благо Родине) |
ก่อตั้ง | 12 ตุลาคม ค.ศ. 1905 |
ถูกยุบ | 11 ธันวาคม ค.ศ. 1917 |
รวมตัวกับ | |
ที่ทำการ | เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก |
หนังสือพิมพ์ | เรช |
อุดมการณ์ |
|
จุดยืน |
|
สี | ฟ้า ขาว |
สภาดูมา (ค.ศ. 1906) | 178 / 497 |
สภาดูมา (มกราคม ค.ศ. 1907) | 124 / 518 |
สภาดูมา (ตุลาคม ค.ศ. 1907) | 54 / 441 |
สภาดูมา (ค.ศ. 1912) | 59 / 432 |
สภาร่างรัฐธรรมนูญ | 24 / 766 |
การเมืองรัสเซีย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ฐานการสนับสนุนส่วนใหญ่ของคาเดตส์มาจากปัญญาชนและผู้สำเร็จวิชาชีพ โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักกฎหมายที่เป็นกลุ่มบุคคลโดดเด่นของพรรค[6] สมาชิกคาเดตส์จำนวนมากเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของสภาท้องถิ่นเซมสตโว (Zemstvo)[7] พรรคประชาธิปัตย์รัฐธรรมนูญเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มเสรีนิยมหลายกลุ่ม ได้แก่ สหภาพการปลดปล่อย, สหภาพเซมสตวิสต์-นิยมรัฐธรรมนูญ และสหภาพแห่งบรรดาสหภาพ เช่นเดียวกับองค์กรแห่งผู้สำเร็จวิชาชีพและปัญญาชนชนชั้นกระฎุมพี อันประกอบด้วย อาจารย์ นักกฎหมาย นักเขียน นักฟิสิกส์ และวิศวรกร[8][9]
นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของคาเดตส์สนับสนุนสิทธิคนงานในขบวนการแปดชั่วโมงต่อวัน[10] และสิทธิในการหยุดงานประท้วง จนกล่าวได้ว่าคาเดตส์ "มุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ในการเป็นพลเมืองเต็มรูปแบบสําหรับชนกลุ่มน้อยรัสเซียทั้งมวล" และสนับสนุนการปลดปล่อยชาวยิว[11] ทำให้พรรคเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวยิว[12] และชาวเยอรมันวอลกา และมีชนกลุ่มเหล่านี้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของพรรคเป็นจำนวนมาก[13][14]
อ้างอิง
แก้- ↑ Struve, Peter (1932). The Social Liberalism. Internationales Handwtsrterbuch des Gewerkschaftswesens. pp. 412–423.
- ↑ Maksimov, Konstantin Nikolaevich (2008). Kalmykia in Russia's Past and Present National Policies and Administrative System. Central European University Press. pp. 172–173. ISBN 9789639776173.
- ↑ Pipes, Richard (2011-05-04). Russia Under the Bolshevik Regime (ภาษาอังกฤษ). Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 978-0-307-78861-0.
- ↑ Pearson, Raymond (1977). The Russian Moderates and the Crisis of Tsarism 1914–1917. Springer. pp. 2–3.
- ↑ This name should not be confused with the term cadets, which referred to students at military schools in the Imperial Russia.
- ↑ Hans Rogger, Jewish Policies and Right-wing Politics in Imperial Russia, p. 20.
- ↑ The Zemstvo in Russia: An Experiment in Local Self-government (eds. Terence Emmons & Wayne S. Vucinich), p. 441.
- ↑ Melissa Kirschke Stockdale, Paul Miliukov and the Quest for a Liberal Russia, 1880–1918, p. 142.
- ↑ James W. Long, From Privileged to Dispossessed: The Volga Germans, 1860–1917, p. 207.
- ↑ Peter Gatrell, Government, Industry and Rearmament in Russia, 1900–1914: The Last Argument of Tsarism, p. 81.
- ↑ Rogger, p. 20.
- ↑ Rogger, p. 20.
- ↑ Rogger, p. 20.
- ↑ Long, pp. 207–208.
- Melissa Stockdale. "The Constitutional Democratic Party" in Russia Under the Last Tsar, edited by Geifman, Anna, Blackwell Publishers Ltd, 1999, ISBN 1-55786-995-2, pp. 164–169.