พยาบาลศาสตร์
การพยาบาล หรือ พยาบาลศาสตร์ (อังกฤษ: nursing) ตามความหมายที่ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ได้ให้ไว้ หมายถึง กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่จะต่อสู้การรุกรานของโรคได้อย่างดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งร่างกายและจิตใจ เช่นเดียวกับความหมายของการพยาบาลที่เสนอโดย เวอร์จิเนีย เฮนเดอร์สัน ได้แก่ การพยาบาลคือการช่วยเหลือบุคคล (ทั้งยามปกติและยามป่วยไข้) ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือส่งเสริมการหายจากโรค (หรือแม้กระทั่งการช่วยให้บุคคลได้ไปสู่ความตายอย่างสงบ) ซึ่งบุคคลอาจจะปฏิบัติได้เองในสภาวะที่มีกำลังกาย กำลังใจ และความรู้เพียงพอ และเป็นการกระทำที่จะช่วยให้บุคคลกลับเข้าสู่สภาวะที่ช่วยตนเองได้โดยไม่ต้องรับการช่วยเหลือนั้น โดยเร็วที่สุด
กิจกรรมสำคัญ
แก้กิจกรรมสำคัญของการพยาบาลได้แก่
- การดูแลให้ความสุขสบาย (care and comfort) ช่วยเหลือบุคคลให้สามารถจัดการกับปัญหาทางสุขภาพและการเจ็บป่วย (health illness continuum) ได้ด้วยตนเอง หน้าที่ของพยาบาลจึงมุ่งที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทางการพยาบาล เพื่อให้ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (assesment and diagnosis)
- ให้คำแนะนำ คำสอนด้านสุขภาพ (health teaching) เพื่อคงไว้ซึ่งสุขภาพอันดีและส่งเสริมผลการรักษา มุ่งด้านการดูแลตนเอง (self care) ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนของสมาชิกในครอบครัว
- ให้คำปรึกษา (counselling) ด้านสุขภาพอนามัยทั้งในภาวะปกติ และขณะที่มีภาวะกดดัน อันเป็นเหตุให้สุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ
- ให้การดูแลด้านสรีรจิตสังคม (physiopsychosocial intervention) โดยการใช้วิธีการพยาบาลการปฏิบัติ
การพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านบริการสุขภาพของประชาชน และตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทฤษฎีการพยาบาล
แก้เมลลิส (melis 1997:13) ให้ความหมายทฤษฎีว่า เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) เปรียบเสมือนเป็นการสรุปทางความคิดเกี่ยวกับข้อความจริงทางการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณาปรากฏการณ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ ทำนายผลที่จะเกิดขึ้น หรือ การควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาล
ฟอว์เซท (fawcett 1989) ให้นิยามโดยเน้นที่ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล (nursing phenomena) โดยนิยามว่า ทฤษฎีการพยาบาลประกอบด้วยมโนทัศน์ และข้อสันนิษฐาน (proposition) ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าแบบจำลองความคิด ทฤษฎีการพยาบาลจะกล่าวถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล และระบุความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทั้ง 4 ดังกล่าว
จากนิยามดังกล่าว ทฤษฎีการพยาบาลจึงเป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางการพยาบาลที่พรรณา อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
สาขาของการพยาบาล
แก้การพยาบาลแบ่งออกได้หลายสาขาคือ
- การพยาบาลเด็ก (pediatric nursing)
- การพยาบาลมารดาและทารก (mother and child health)
- การพยาบาลศัลยศาสตร์ (surgery care)
- การพยาบาลอายุรศาสตร์ (medical caring)
- การพยาบาลจิตเวช (psychiatric care)
- การพยาบาลชุมชน (community care)
- การพยาบาลสูติศาสตร์ (obstiatic care)
- เวชปฏิบัติการพยาบาล (General Practitioner)
- การพยาบาลวิกฤติและฉุกเฉิน (emergency and crisis care)
- การพยาบาลระยะสุดท้าย (hospice care)
- การบริหารการพยาบาล (nursing administration)
- การพยาบาลผู้สูงอายุ (Gerontological Nursing)
ดูเพิ่ม
แก้- พยาบาล (nurse)
- ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory)
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- D'Antonio, Patricia. American Nursing: A History of Knowledge, Authority, and the Meaning of Work (2010), 272pp excerpt and text search
- Donahue, M. Patricia. Nursing, The Finest Art: An Illustrated History (3rd ed. 2010), includes over 400 illustrations; 416pp; excerpt and text search
- Judd, Deborah. A History of American Nursing: Trends and Eras (2009) 272pp excerpt and text search
- Reverby, Susan M. Ordered to Care: The Dilemma of American Nursing, 1850-1945 (1987) excerpt and text search
- Snodgrass, Mary Ellen. Historical Encyclopedia of Nursing (2004), 354pp; from ancient times to the present
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- SOCIETY BY THANIKA[ลิงก์เสีย]
- พระราชบัญญัติการพยาบาล เก็บถาวร 2005-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ความหมายของการพยาบาล เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- คุณสมบัติของพยาบาลตามความคาดหวังของผู้รับบริการ เก็บถาวร 2005-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน