ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (อังกฤษ: prophet; กรีก: προφήτης, เสียงอ่านภาษากรีก: [propʰḗtēs]: จากคำอุปสรรค προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί เสียงอ่านภาษากรีก: [pʰēmí] แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม

อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery).

ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”

บรรดาผู้เผยพระวจนะ

แก้

ในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามนั้น เชื่อถือในองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกันคือพระยาห์เวห์ ซึ่งในอดีตกาลที่ผ่านมาหลังจากพระเจ้าทรงสร้างโลกแล้ว เพื่อให้มวลมนุษย์อยู่อย่างสงบสุขตามทางที่ถูกต้องในพระดำริของพระเจ้า พระองค์จึงตรัสสอนมวลมนุษย์ผ่านทางบุคคลต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าเหมาะที่จะเรียกให้รับใช้ฝ่ายวิญญาณ เพื่อถ่ายทอดพระบัญชาจากพระดำรัสของพระองค์สู่มนุษย์ทั้งหลาย เราจึงเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “ผู้เผยพระวจนะ (ของพระเจ้า)”

สมัยก่อนพระเจ้าทรงเลือกเพียงผู้เผยพระวจนะให้ชี้ทางแก่วงศ์วานอิสราเอลเท่านั้น เพราะทรงต้องการให้ชาวยิวเท่านั้นที่รอดพ้นจากมารร้าย เหนือกว่าชนชาติใด ๆ จึงไม่ปรากฏผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าในชนชาติหรือศาสนาอื่น ๆ [ต้องการอ้างอิง] บรรดาผู้เผยพระวจนะที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล ได้แก่

หน้าที่และลักษณะของผู้เผยพระวจนะ

แก้
  • เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง (ยรม.1:5; อสค.2:3-7; อมส.7:15)
  • พระคัมภีร์กล่าวถึงผู้เผยพระวจนะในชื่อต่างๆ กัน เช่น คนของพระเจ้า (1 ซมอ.2:27,9:6; 1 พกษ.13:1-2)
  • ผู้รับใช้ของพระเจ้า (2 พกษ.17:23; 21:10; ยรม.7:25)
  • ผู้ทำนาย (1ซมอ.9:9; 18-19)
  • ผู้พยากรณ์ (2ซมอ.15:27; กจ.13:1)
  • หน้าที่ของผู้เผยพระวจนะคือประกาศ สำแดง เปิดเผย พระวจนะของพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์ต่อประชาชน (1พกษ.22:8; ยรม.1:7,9; อสค.3:4,27; อมส.3:7)
  • เรื่องที่ประกาศจะเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออนาคต เช่น เรื่องของพระเมสสิยาห์ การพิพากษาลงโทษ การกลับมาหาพระเจ้า ความรอด ฯลฯ

ผู้เผยพระวจนะหญิง

แก้
  • มีเรียม (อพย.15:20)
  • เดโบราห์ (วนฉ.4:4)
  • ฮุลดาห์ (2พกษ.22:14)
  • อันนา (ลก.2:36)
  • ฯลฯ

ศาสนายูดาห์

แก้

ชาวยิวเชื่อว่าพระดำรัสขององค์พระผู้เป็นเจ้ามาถึง มาลาคี เป็นคนสุดท้ายตามพระคัมภีร์ยิว (ภาคพันธสัญญาเดิม) จึงถือว่า มาลาคี เป็นผู้เผยพระวจนะคนสุดท้าย และจัดรวมเป็น “ผู้เผยพระวจนะสมัยโบราณ”

ศาสนาคริสต์

แก้

นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์

แก้

เชื่อว่าประกาศกมีมาแต่ครั้งโบราณโดยเริ่มจากโมเสสเป็นคนแรก ตามพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เรื่อยมาจนถึงยอห์นผู้ให้บัพติศมาเป็นคนสุดท้าย[ต้องการอ้างอิง] เพราะถือว่าเป็นผู้ตระเตรียมทางให้แก่พระบุตรพระเป็นเจ้าคือพระเยซูคริสต์

นิกายโปรเตสแตนต์

แก้

เชื่อว่าผู้เผยพระวจนะเริ่มต้นที่โมเสสมาเรื่อย ๆ แต่ยังไม่หมดมาถึงปัจจุบัน เพราะตั้งแต่โมเสสถึงยอห์นผู้ให้บัพติศมา นั้นเป็น “ผู้เผยพระวจนะสมัยโบราณ” แต่ผู้เผยพระวจนะไม่จำเป็นว่าต้องเป็นชชาวยิว เพราะเมื่อพระเยซูเสด็จมากระทำพระราชกิจ คือ การไถ่บาปแก่มวลมนุษย์ จึงเป็นการเปิดประตูแห่งพระสัญญานิรันดรสู่ชนชาติทั้งหลายทั่วโลกด้วย โดยนิกายโปรเตสแตนต์ ยกข้อพระคัมภีร์เรื่องพันธกรทั้งห้าของพระเจ้า มาว่า

ของประทานที่ว่านั้นคือพระองค์ทรงให้บางคนเป็นอัครทูต เป็นผู้เผยพระวจนะ เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐ เป็นศิษยาภิบาลและเป็นอาจารย์ เพื่อเตรียมประชากรของพระเจ้าสำหรับงานรับใช้ เพื่อว่าพระกายของพระคริสต์จะได้รับการเสริมสร้างขึ้นจนกว่าเราทั้งหมดจะบรรลุถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความเชื่อและในความรู้ถึงพระบุตรของพระเจ้า จนเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ คือ เต็มขนาดความไพบูลย์ของพระคริสต์

— เอเฟซัส 4:11-13

นั่นคือการยกข้อพระคัมภีร์มากล่าวว่า เมื่องานของพระเจ้ายังไม่สำเร็จ ย่อมทรงเจิมตั้งผู้รับใช้ทั้งหลายมาเพื่อสานงานของพระองค์อย่างแน่นอน เมื่อคริสตจักรทั้งปวงยังแตกแยกและไม่รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน งานรับใช้ก็ยังไม่สำเร็จ พันธกรทั้งห้าประการจึงยังต้องมีบทบาทในการทำงานตามพระประสงค์อยู่เสมอ ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มาจนถึง ปัจจุบัน

ศาสนาอิสลาม

แก้

อ้างอิง

แก้