ผู้บริหาร
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
ผู้บริหาร (อังกฤษ: executive) มี 3 แบบด้วยกันคือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับล่าง
- ผู้บริหารระดับสูง - ประธานกรรมการจนไปถึงกรรมการผู้จัดการ หรืออาจเรียกว่าผู้ริเร่มก่อตั้งองค์กร รวมถึงผู้บริหารประเทศ (government administrator) ซึ่งหมายถึง ผู้นำของรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่บริหารประเทศ
- หน้าที่ - ตัดสินใจแผนการระยะยาวที่เกี่ยวกับทิศทางโดยรวมขององค์กร กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบายและกลยุทธ์ แนะนำทางการจัดการในสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่ได้กำหนดไว้
- ผู้บริหารระดับกลาง - ผู้อำนวยการ หัวหน้าศูนย์ ผู้จัดการแผนก หรือหัวหน้าสายงาน
- หน้าที่ - ดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้ ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดนโยบายให้ผู้บริหารระดับล่างได้นำแผนงานไปปฏิบัติ
- ผู้บริหารระดับล่าง - หมายถึงหัวหน้าแผนกหรือหัวหน้าคนงาน
- หน้าที่ - ทำตามนโยบายที่ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางกำหนดไว้ ตัดสินใจระยะสั้นในการดำเนินงาน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับทีม สร้างแรงจูงใจและสามารถรับผิดชอบแทนผู้ที่อยู่ในแผนกของตนได้
ความหมายของผู้บริหาร
แก้ผู้บริหาร คือผู้ที่แบ่งงานให้ตามความสามารถของแต่ล่ะบุคคลและให้คำแนะนำการทำงานนั้นอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คำว่าบริหารตามพจนานุกรมหมายถึงการแบ่งงานกันทำโดยทั่วถึง การกระจายงาน ผู้ที่ทำหน้าที่ดำเนินการต่างๆ ผู้ที่ทำการปกครอง หรืออาจเป็นการออกกำลังกาย [1]
หลักการของผู้บริหาร
แก้- การวางแผน คือ การร่วมมือของบุคลากรกับผู้บริหารในการวางแบบโครงสร้างในอนาคตเพื่อจะได้กระทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
- การจัดระบบ คือ การกำหนดหน้าที่ให้กับบุคลากรในการรับผิดชอบในการกระทำการนั้นๆ และขึ้นตรงกับบุคคลใด และรายงานผลการปฏิบัติงานกับบุคคลใด
- การรับบุคลากรเข้าทำงาน คือ การจัดหรือเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความสามารถมารับตำแหน่งในการทำงารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้มีปรัสิทธิภาพสูงสุด
- การอำนวยการ คือ การตัดสินใจ การสั่งการบุคลากร การสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากร การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่นๆ
- การควบคุม คือ การจัดการงานให้เป็นไปตามแบบแผนที่ตั้งไว้ให้ไม่มีแนวโน้มว่าจะมีการเบี่ยงเบนออกจากแบบแผนเดิมซึ่งทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ
- การประสานงาน คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานและในหน่วยงานให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการร่วมกันทำงานทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
- การเสนอรายงาน คือ การรายงานผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ได้ทราบการเคลื่อนไหว
- การจัดการงบประมาณ คือ การจัดสรรการใช้งานทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจัดระบบการใช้งบให้เหมาะสมกับงานที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสม[2]
องค์ประกอบของผู้บริหาร
แก้- มีภาวะผู้นำ ผู้ที่มีภาวะผู้นำนั้นจะสามารถจูงใจผู้คนให้เต็มใจร่วมมือ สามารถบริหารผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีเมตตาธรรม ผู้ที่ไม่มีอคติหรือรักต่อบุคคลใดๆ ไม่ใช้ความเป็นส่วนตัวในการตัดสิน รูจักเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
- ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง ต้องมีความชัดเจน มีความเป็นธรรม และตัดสินใจแก้ไขปัญหาจากพื้นฐานเพื่อความถูกต้อง
- เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์สถานะการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีการสร้างวิสัยทัศน์ มีมุมมองที่มองเห็นอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรจากความรู้ที่สะสมมาอย่างยาวนานและและมีมุมมองที่ดีในทุกๆด้าน
- มีทักษะหลายด้าน ต้องมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจ การจัดการที่ดี และรู้จักบริหารส่วนต่างๆ
- รอบรู้และมีข้อมูลที่ทันสมัย ต้องมีการตัดสินใจจึงต้องมีความรู้ใหม่ๆเพื่อตัดสินใจในการบริหาร หรือ ตัดสินใจในหลายๆด้าน
- รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองดูแลหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสมไม่ก้าวก่ายงานที่ตนไม่ได้รับผิดชอบ
- กล้าตัดสินใจ กล้าที่จะทำตัดสินปัญหาได้อย่างมั่นคง ไม่ลังเลในความคิด
- มียุทธวิธีและเทคนิค มีทักษะและวิธีการที่เหมาะสม รวดเร็ว และถูกต้องในการตัดสินใจในแต่ละเรื่อง[3]
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี นักบริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนทั้งเจ้านาย ลูกน้อง เพื่อน และบุคคลทั่วไป
บทบาทของผู้บริหาร
แก้- เป็นผู้นำในด้านความรู้ความสามารถในหลายๆด้าน เพื่อที่จะสามารถสั่งการบุคลากรในหน่วยงานได้และสามารถสั่งสอนเรื่องต่างๆที่บุคลากรไม่มีความเข้าใจในด้านนั้นๆ ติดตามข่าวสารความรู้ด้านต่างๆเพื่อนำมาปรับใช้ในหน่วยงาน
- เป็นผู้นำการสั่งการ มีหน้าที่ในการสั่งการให้กับทุกฝ่ายทุกหน่วยงานสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมีรูปแบบในการทำงาน และมอบงานให้กับบุคลากรอย่างเหมาะสม
- เป็นผู้จัดหาสิ่งต่างๆในการดำเนินงาน จะต้องหาทรัพยากรจากแหล่งต่างๆเพื่อมาดำเนินงานในองค์กร ทรัพยากรนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
- เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร เนื่องจากในองค์กรนั้นต้องมีการสนทนาผู้บริหารต้องเชื่อมความสัมพันธ์ของหน่วยงานและบุคลากรให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพอย่างมากที่สุด[4]
คุณลักษณะที่ดีของผู้บริหาร
แก้- มีบทบาทหรืออิทธิพลต่อบุคลากรในหน่วยงาน
- มีบทบาทมากกว่าผู้อื่น
- ได้รับหน้าที่สำคัญในการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จ
- เป็นที่ยอมรับจากบุคลากรให้เป็นผู้นำ
- เป็นผู้นำในการบริหาร[5]
ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะ
แก้คือทฤษฎีที่เน้นการหาคุณลัษณะของผู้นำ เพื่อจำแนกบุคคลผู้ซึ่งมีความสามารถกับบุคคลผู้ซึ่งไม่มีความสามารถ ตัวอย่างคุณลักษณะ คือ ความเฉลียวฉลาด ความซื่อสัตย์ ความเชื่อมันในตนเอง และความฉลาดในการบริหารจัดการ ทฤษฎีที่มีการคิดค้นขึ้นนั้นก็คือทฤษฎีที่ว่า คนบางคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นการวิจัยจากการวิจัยของประทีป บินชัย ซึ่งสามารถระบุได้ว่าคุณลักษณะของผู้นำนั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะ 6 ประการ คือ คุณลักษณะทางร่างกาย ภูมิหลังทางสังคม สติปัญญา บุคลิกภาพ คุณลักษณะที่เกี่ยวกับงาน และคุณลักษณะทางสังคม [6]
ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม
แก้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 ได้มีการคิดค้นทฤษฎีที่ว่าผู้นำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นจะต้องมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งจากการวิจัยทฤษฎีพบว่าพฤติกรรมของผู้นำนั้นมี 2 แบบ คือ ผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบมุ่งคน และผู้นำที่มีพฤติกรรมแบบมุ่งงาน ซึ่งพฤติกรรมแบบมุ่งคนคือคือผู้นำจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สนใจ และเข้าใจความต้องการของแต่ละบุคคล พฤติกรรมแบบมุ่งงาน คือผู้นำจะเน้นเรื่องผลผลิต จึงให้ความสัมพันธ์กับงาน และเทคนิคต่างๆในการผลิต ต่างๆ
แรงจูงใจของผู้บริหาร
แก้แรงจูงใจของผู้บริหาร คือ การเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรต้องเป็นผู้ที่ต้องเชื่อมั่นในความเป็นไปได้ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน และต้องสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรในองค์กรร่วมมือกันจนประสบผลสำเร็จ ได้เป็นที่ยอมรับ ได้เป็นขวัญกำลังใจที่ดีของการปฏิบัติงาน คือ ความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ดีเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้บริหารนั้นสามารถกระทำการนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้บุคลากรนั้นมีแรงจูงใจอย่างผู้บริหารอีกด้วยเป็นผลดีกับทุกๆฝ่ายทำให้องค์กรนั้นเกิดการพัฒนา[7]
กลยุทธ์การบริหาร
แก้มีแบบแผนในการคิดในการบริหาร มีการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นเพื่อจะได้รับรู้เกี่ยวกับข่าวสารของโลก ศึกษาค้นคว้าวิจัยในการบริหารเพื่อขัดเกลากลยุทธ์ มีความรู้ด้านการบริหารงานคน สร้างค่านิยมในหมู่คนเพื่อให้ทุกคนมีจุดมุ่งหมายไปในทางเดียวกัน สร้างวัฒนธรรมการสร้างคนที่มีความสามารถเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่อนาคต มีการพัฒนาผู้นำของแต่ละหน่วยงานเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกระจายออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการกระตุ้นบุคลากรเพื่อให้มีแรงจูงใจในการทำงาน มีการควบคุมบุคลากรแบบแตกแขนงเพื่อเพิ่มการสั่งการให้มีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมายในการทำงานเพื่อจะได้มุ่งตรงไปสู่สิ่งที่กำหนด[8]
แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ "ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทุนมนุษย์และผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องตระหนักว่า การใช้ทรัพยากรมนุษย์เป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุด"ขององค์กรในอนาคต ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าขององค์กรผู้บริหารควรบริหารบุคลากรให้มีประสิทธิภาพตลอดจนบุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ[9]
รูปแบบการบริหาร
แก้รูปแบบการบริหารการกระจายอำนาจ
แก้รูปแบบการบริหารการกระจายอำนาจ หมายถึง รูปแบบโครงสร้างเครือข่ายของการบริหาร เป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารรูปแบบโครงสร้างของการบริหาร เป็นการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานให้เป็นระบบ มีลักษณะเป็นขั้นตอนเพื่อให้เกิดดุลยภาพและทักษะขบวนการในหลายด้านอาทิเช่น ด้านวิชาการ ด้านความรู้ ความสามารถการรลงมือปฏิบัติงาน และการติดตามประเมินผลงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
การบริหารแบบกระจายอำนาจมีจุดเน้นที่สำคัญในการพัฒนา ดังนี้
- ความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
- วิเคราะเหตุและปัจจัย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง
- เน้นการสร้างสมดุล เพื่อให้เกิดผลลัพในระยะสั้นและระยะยาว
- การสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยการสร้างเครือข่ายและขยายกิจกรรมให้หลากหลาย
- เน้นการมีความรู้และคุณธรรม แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องโดยยึดหลักธรรมาธิบาล
- การสร้างค่านิยมให้รู้จักความรับผิดชอบ การพึ่งพาตนเองและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม[10]
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
แก้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่บุคลากรในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ทำงานร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายให้ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพที่ดี มีความสามัคคี และมีระเบียบวินัยในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นซึ่งทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญ
- ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของบุคลากรในหน่วยงานหรือหน่วยงานอื่น
- กระบวนการตัดสินใจมีความรอบครอบและมีความหลากหลายในการเลือกที่จะทำสิ่งนั้นๆ
- เป็นหลักการที่ส่งผลให้กับการดำเนินงานด้านการวิเคราะห์ มีความเปิดกว้าง ระดมปัญญา ซึ่งส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่แน่นอน
- เพิ่มความสามัคคีระหว่างองค์กรและนอกองค์กรและขจัดการขัดแย้งระหว่างในและนอกองค์กร[11]
รูปแบบการบริหารสถานศึกษา
แก้รูปแบบการบริหารสถานศึกษานั้นเป็นรูปแบบการบริหารขนาดใหญ่มีการร่วมงานหลายองค์กร ซึ่งเป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ ซึ่งมีหน่วยงานหลักส่งคำสั่งไปยังหน่วยงานย่อย และหน่วยงานหลักต้องส่งทรัพยากรไปยังหน่วยงานย่อยเพื่อนำไปพัฒนาสถานที่ และพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อหน่วยงานนั้นมีคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งหน่วยงานย่อยนั้นต้องส่งรายงาน แบบสำรวจ ผลงาน แบบแผน และระบบของหน่วยงานให้กับหน่วยงานหลัก[12]
รูปแบบการบริหารการจัดการ
แก้รูปแบบการบริหารการจัดการ คือ รูปแบบการจัดแจงการทำงาน การปกครอง ทรัพยากรวัสดุ และทรัพยากรบุคคล เพื่อให้มีแบบแผนมีรูปแบบที่แน่นอนและง่ายต่อการปฏิบัติงาน ทำให้หน่วยงานนั้นมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง รูปแบบการบริหารการจัดการจึงเป็นรูปแบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อหน่วยงานหรือองค์กร[13]
การบริหารจัดการ หมายถึง แนวทางหรือวิธีการดำเนินงานใดๆของหน่วยงานและบุคลากรของหน่วยงานให้มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดยครอบคลุมทั้งการดำเนินการหรือการปฏิบัติงานเพื่อให้มีแนวโน้มการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น รวดเร็ว ประหยัด และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด[14]
แนวคิดและความหมาย
ธงชัย สันติวงษ์ ในปีพ.ศ. 2543 กล่าวถึงลักษณะของงานบริหารจัดการไว้ 3 ด้านคือ
- ด้านที่เป็นผู้นำหรือหัวหน้างาน งานบริหารจัดการ หมายถึง ภาระหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ปฏิบัติตนเป็นผู้นำภายในองค์กร
- ด้านของภาระกิจหรือสิ่งที่ต้องทำ งานบริหารจัดการ หมายถึง การจัดระเบียบทรัพยากรต่างๆในองค์กร และการประสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน
- ด้านของความรับผิดชอบ งานบริหารจัดการ หมายถึง การต้องทำงานต่างๆให้ประสบผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพโดยการอาศัยบุคคลประสานงานกัน [15]
รูปแบบการบริหารธุรกิจ
แก้รูปแบบการบริหารธุรกิจ คือ การบริหารแบบเป็นองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยสำคัญของธุรกิจนั้นคือทรัพยากรในด้านต่างๆซึ่งแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบดังนี้
- ธุรกิจเจ้าของคนเดียว เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ การตัดสินใจต่างๆขึ้นอยู่กับเจ้าของบุคคลเพียงคนเดียว และบริหารธุรกิจด้วยตนเอง การประกอบธุรกิจแบบนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ มีความคล่องตัว ไม่ยุ่งยาก มีวิธีการบริหารที่ง่าย
- ห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปและสามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ การประกอบธุรกิจแบบนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญ การจัดหาเงินทุนได้ง่าย
- บริษัทจำกัด เป็นการประกอบการเป็นนิติบุคคล แสวงหากำไรจากกิจการ เช่นการถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่
- สหกรณ์ มีคณะบุคคล 10 คนขึ้นไป มีความสนใจคล้ายคลึงกัน จดทะเบียนถูกต้องตามพรบ.
- รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยทำร่วมกับเอกชนเป็นหุ้นส่วน [16]
รูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมีดังนี้
- คนหรือบุคลากร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ เพราะคนนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด
- ทรัพยากร เป็นส่วนสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการลูกค้า เช่น เครื่องจักร วัตถุดิบ เป็นต้น
- เงินทุน เป็นตัวสนับสนุนที่ให้ได้ซึ่งทรัพยากรในด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก
- การบริหารจัดการ เพื่อให้การทำงานนั้นมีแบบแผนในการผลิต การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการแบ่งหน้าที่ของบุคลากรในการดำเนินงาน[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัย. - - กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น เก็บถาวร 2017-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2543
- ↑ https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090801014011AAemaOu[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://money.sanook.com/78007/
- ↑ http://www.academia.edu/5955389/%E0%B8%AB%E0%B8%99_%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5_10_%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%99_%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5_%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9_%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4_%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B_%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9_%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4_%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B7_%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5_%E0%B8%9E_%E0%B8%9C%E0%B8%B9_%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5_%E0%B8%A2%E0%B8%99_%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99_%E0%B8%9A%E0%B8%B8_%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%B1_%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
- ↑ "ข้อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ ภาวะความเป็นผู้นำ สุเทพ พงศ์ศรีรัตน์ - -กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท,2550". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%B3.htm
- ↑ https://www.l3nr.org/posts/335423[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.prosofthrmi.com/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=2135&ArticleID=9151
- ↑ ข้อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง.--กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท,2550.
- ↑ http://personnel.obec.go.th/home/รูปแบบการบริหารแบบกระจ/
- ↑ https://www.gotoknow.org/posts/259345
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
- ↑ https://www.gotoknow.org/posts/345600
- ↑ "ข้อมูลทางบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ การบริหารจัดการและการบริหารพัฒนาของหน่วยงานของรัฐ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ.- -กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท,2550". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "ธงชัย%20สันติวงษ์,%20องค์การและการบริหาร%20(พิมพ์ครั้งที่11,กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช,2543),หน้า21-22". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-16. สืบค้นเมื่อ 2017-04-27.
- ↑ https://thammarak.wordpress.com/2009/06/25/hhhhhhhhhhhhh/