เปรียญธรรม 5 ประโยค

(เปลี่ยนทางจาก ป.ธ.5)

เปรียญธรรม 5 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.5) เป็นระดับชั้นการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เรียกผู้สอบผ่านได้ในชั้นนี้ว่า เปรียญโท

เเปรียญธรรม 5 ประโยค
ชื่อย่อป.ธ.5
ประเภทการศึกษาแผนกบาลี
ผู้จัดการสอบ/ผู้ควบคุมการสอบสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
ทดสอบความรู้/ความสามารถเกี่ยวกับ
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย
  • วิชาแปลไทยเป็นมคธ
ประเทศประเทศไทย
ภาษา

ผู้สอบได้ในชั้นนี้สามารถนำใบประกาศนียบัตรมาขอใบเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากกระทรวงศึกษาธิการได้ ถ้าผู้ที่สอบได้ชั้นนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอน 1 ปี และทำการสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง[1]

หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีในชั้นเปรียญธรรม 5 ประโยค

แก้

ในชั้นนี้ แม่กองบาลีสนามหลวง กำหนดวิชาในการศึกษาไว้ 2 วิชา คือ

วิชาแปลมคธเป็นไทย (วิชาแปล)

แก้
  • วิชาแปลมคธเป็นไทย ใช้หนังสือ มงฺคลตฺถทีปนี (ทุติโย ภาโค - ภาคสอง) [2]

วิชาแปลไทยเป็นมคธ (วิชาแต่ง)

แก้

วิชาแปลไทยเป็นมคธในชั้น ป.ธ. 5 นี้ ใช้หนังสือ อรรถกถาธรรมบทแปล ภาคที่ 2 - 4

  • อรรถกถาธรรมบทแปล (ทุติโย ภาโค - ภาคสอง)
  • อรรถกถาธรรมบทแปล (ตติโย ภาโค - ภาคสาม)
  • อรรถกถาธรรมบทแปล (จตุตฺโถ ภาโค - ภาคสี่)

ในชั้นนี้ผู้เรียนต้องศึกษาวิธีการแต่งภาษาไทยเป็นภาษาบาลีโดยใช้หนังสือ อรรถกถาธรรมบทแปล ภาค 2 -4 (ธัมมปทัฏฐกถา ภาษาไทย) เพื่อฝึกแปลเป็นภาษามคธ เหมือนกับชั้นประโยค ป.ธ. 4 แต่ในชั้นนี้กรรมการจะออกข้อสอบให้ผู้สอบแต่ง คาถาบาลี ที่ปรากฏในหลักสูตรด้วย

หลักเกณฑ์ของผู้มีสิทธิ์สอบไล่ในชั้นเปรียญธรรม 5 ประโยค

แก้

ระดับเปรียญธรรม 5 ประโยค เรียกว่า เปรียญโท คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 5 ประโยค จะต้องสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค และนักธรรมชั้นโทก่อน

ผู้สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค

แก้

พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้จะได้รับประกาศนียบัตร เลขพัดเปรียญ มีสมณศักดิ์อันดับในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี เหนือกว่า พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ [3]

อ้างอิง

แก้
  1. "พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
  2. หนังสือหมวดเปรียญธรรม ประโยค 1 ถึง 9
  3. ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้