ปุ่มหิน
ปุ่มหิน หรือ ปุ่มไม้ (อังกฤษ: Boss) ทางสถาปัตยกรรมหมายถึงปุ่มที่ยื่นออกมาซึ่งอาจจะทำด้วยหินหรือไม้ก็ได้ ปุ่มหินมิใช่ หินหลัก (Keystone) เพราะปุ่มหินใช้เป็นเครื่องตกแต่งเท่านั้นแต่หินหลักเป็นหินที่ใช้ยึดโครงสร้างเข้าด้วยกัน
ตัวอย่างของปุ่มหินหรือปุ่มไม้ที่พบบ่อยคือบนเพดานสิ่งก่อสร้างโดยเฉพาะตรงที่สันเพดานโค้งตัดกัน ในสถาปัตยกรรมกอธิคปุ่มหินจะแกะสลักอย่างสวยงามเป็นใบไม้ ดอกไม้ ตราประจำตระกูล[1], พระเยซู, พระเจ้าแผ่นดิน , นักบุญ, นางฟ้าเทวดา หรือรูปตกแต่งอื่นๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นสัตว์ นก หรือหน้าคนบางครั้งอาจจะเป็นรูปอัปลักษณ์ที่เรียกว่า Green Man ที่จะพบเห็นบ่อยๆ ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าการใช้ปุ่มหินหรือปุ่มไม้ระหว่างจุดที่สันเพดานมาตัดกันก็เพื่อซ่อนรอยตำหนิระหว่างรอยต่อ เท็จจริงเท่าใดไม่มีการยืนยัน แต่ปุ่มกลายมาเป็นสิ่งประดับตกแต่งไปโดยปริยาย
ปุ่มหินเป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้างในสมัยสถาปัตยกรรมคลาสสิก เมื่อตัดหินเป็นก้อนหยาบๆ ที่เหมืองหินช่างหินจะทิ้งปุ่มไว้อย่างน้อยด้านหนึ่งเพื่อจะได้สะดวกต่อการขนย้ายหินไปที่ที่ต้องการ เมื่อไปถึงปุ่มนี้ก็ยังช่วยให้การยกหินให้เข้าที่เข้าทางได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือที่วัดเซเกสตาที่ซิซิลี ที่ยังสร้างไม่เสร็จ ปุ่มเหล่านี้ยังเห็นได้ชัดโดยเฉพาะที่ฐานทำให้เราได้ศึกษาวิธีก่อสร้างของกรีก
อ้างอิง
แก้- ↑ Stephen Friar, Ed. A Dictionary of Heraldry. (Harmony Books, New York: 1987), 183.
ดูเพิ่ม
แก้Gallery
แก้-
ปุ่มไม้ที่วัดเซ็นต์โพรบัสและเซ็นต์ไฮยาซินท์ (St. Probus and St. Hyacinth) ที่บริสแลนด์ (Brisland) อังกฤษ
-
ปุ่มหินที่มหาวิหารแฮรฟอร์ด อังกฤษ
-
ปุ่มหินที่มหาวิหารวูสเตอร์ อังกฤษ
-
ปุ่มหินที่มหาวิหารวูสเตอร์ อังกฤษ
-
ปุ่มหินเป็นรูป Green Man ที่แอบบีดอร์ (Dore Abbey) แฮรฟอร์ดเชอร์ อังกฤษ
-
วัด Blessed Virgin Mary ที่เชลมโน (Chełmno) ประเทศโปแลนด์
-
มหาวิหารบาร์เซโลนา ประเทศสเปน
-
ปุ่มหินเป็นรูปกริฟฟินที่แอบบีคาร์ดูแอง (Cadouin Abbey) ประเทศฝรั่งเศส
-
ปุ่มหินเป็นรูปผ้าซับพระพักตร์พระเยซูของนักบุญเวอโรนิกาที่แอบบีคาร์ดูแอง ประเทศฝรั่งเศส
-
ปุ่มหินเป็นรูปพระแม่มารีและพระบุตร ประเทศเยอรมนี
-
ปุ่มหินที่เป็นตราประจำตระกูลเวิร์ตเต็มเบิร์ก (Württemberg) ที่มาร์บาคอัมเน็คคาร์ (Marbach am Neckar) ประเทศเยอรมนี