ประเทศไทยใน พ.ศ. 2436
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 112 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 26 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 111 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 112 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมุหพระกลาโหม: เจ้าพระยาพลเทพ
เหตุการณ์
แก้เมษายน
แก้- 11 เมษายน - รัชกาลที่ 5 เสด็จเปิดทางรถไฟสายปากน้ำซึ่งป็นทางรถไฟสายแรกของสยาม
- 20 เมษายน - ส่งทหารไปเมืองลาวกาว (อุบลราชธานี) 34 นายเพราะฝรั่งเศสล้ำแดนด้านนั้นอยู่
- 26 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย
พฤษภาคม
แก้- 22 พฤษภาคม - ทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ยึดแก่งหลี่ผีได้
มิถุนายน
แก้- 5 มิถุนายน - พระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำม่วนได้ต่อสู้รักษาเมืองฆ่าทหารญวนและฝรั่งเศสตาย 19 คนกลายเป็นจุดเริ่มต้นคดีพระยอดเมืองขวาง
- 19 มิถุนายน - ตั้งกองพระยาฤทธิรณวรเฉทที่ปราจีนบุรีเพื่อรักษาพระราชอาณาเขตด้านทิศตะวันออก
- 21 มิถุนายน - เรือรบฝรั่งเศสทุกลำเดินทางถึงไซ่ง่อนเตรียมพร้อมสำหรับกรณี ร.ศ. 112
- 23 มิถุนายน - สยามเรียกทหารอาสาสมัคร 1,000 คน
- 29 มิถุนายน - มีการประชุมในรัฐสภาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องฝรั่งเศส-สยาม
กรกฎาคม
แก้- 12 กรกฎาคม - รัฐบาลสยามห้ามไม่ให้เรือรบของต่างชาติล่องขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเด็ดขาด
- 13 กรกฎาคม – วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ รุกเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดการยิงต่อสู้กัน และนำไปสู่การสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
- 14 กรกฎาคม - ฝรั่งเศสรุกเข้ายึดเกาะดงสมในแม่น้ำโขง
- 17 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :กองกำลังสยามที่แม่น้ำโขงยอมยกธงขาวขอเจรจาตามคำสั่งจากกรุงเทพฯ
- 20 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้สยามชดใช้ค่าเสียหายภายใน 48 ชั่วโมง
- 29 กรกฎาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :นายพลเรือฮือมานต์เข้ายึดเกาะสีชัง ปิดปากน้ำจันทบุรี
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : นายพลเรือฮือมานต์ ยกเลิกการปิดปากอ่าวไทย
- 23 สิงหาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 :สยามถอนกำลังออกจากเมืองสี่พันดอน
กันยายน
แก้- 15 กันยายน - ฝรั่งเศสเข้ายึดครองสี่พันดอน
ตุลาคม
แก้- 3 ตุลาคม - วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 : ฝรั่งเศสบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญาซึ่งทำให้เสียทั้งเงิน กำลังคน และดินแดน
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม - งานฉลองการครองราชย์ครบ 25 ปีของรัชกาลที่ 5
- 24 ธันวาคม - เริ่มพิจารณาคดีพระยอดเมืองขวาง
ผู้เกิด
แก้มกราคม
แก้- 9 มกราคม – พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ) อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 12 (อนิจกรรม พ.ศ. 2502)
- 12 มกราคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2515)
- 28 มกราคม – เพียร สฤษฎ์ยุทธศิลป์ พิริยะโยธิน (หลวงสฤษฎ์ยุทธศิลป์) อธิบดีกรมป่าไม้คนที่ 6 (อนิจกรรม พ.ศ. 2534)
กุมภาพันธ์
แก้- 13 กุมภาพันธ์ – พระครูอุดมวิชชากร (เหมือน อินฺทโชโต) เจ้าคณะตำบลบางปลาสร้อยเขต 2 (มรณภาพ พ.ศ. 2527)
มีนาคม
แก้- 5 มีนาคม – ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ชนชั้นสูง (เสียชีวิต พ.ศ. 2529)
- 14 มีนาคม – พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์ ลัดพลี) ประธานศาลฎีกาคนที่ 10 (อสัญกรรม พ.ศ. 2511)
- 19 มีนาคม – สุรชัย คัมภีรญาณนนท์ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองชลบุรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2533)
- 29 มีนาคม – มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ (พระเวชยันตรังสฤษฏ์) รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 (อสัญกรรม พ.ศ. 2527)
เมษายน
แก้- 5 เมษายน – หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2514)
พฤษภาคม
แก้- 23 พฤษภาคม – พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) อดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพ (อนิจกรรม พ.ศ. 2494)
- 30 พฤษภาคม – พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดคนที่ 9 (อนิจกรรม พ.ศ. 2524)
สิงหาคม
แก้- 3 สิงหาคม – หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 14 (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2513)
ตุลาคม
แก้- 15 ตุลาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2452)
- 19 ตุลาคม – หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 (อนิจกรรม พ.ศ. 2518)
พฤศจิกายน
แก้- 8 พฤศจิกายน – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์สยามพระองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สวรรคต พ.ศ. 2484)
- 10 พฤศจิกายน – เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 7 (อนิจกรรม พ.ศ. 2513)
ผู้เสียชีวิต
แก้มีนาคม
แก้- 10 มีนาคม – เจ้าพรหมาภิพงษธาดา เจ้าผู้ครองนครลำปางพระองค์ที่ 10 (ไม่ทราบปีประสูติ)
มิถุนายน
แก้- 17 มิถุนายน – แคโรไลน์ น็อกซ์ (ดวงแข) ภริยาของหลุยส์ ที. ลีโอโนเวนส์ (เกิด พ.ศ. 2400)
- 19 มิถุนายน – พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2383)
กันยายน
แก้- 29 กันยายน – พระยาราชวังสัน (บัว) อดีตจางวางอาสาจาม (เกิด พ.ศ. 2358)
ตุลาคม
แก้- 28 ตุลาคม – พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมชื่น พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2377)
ธันวาคม
แก้- 5 ธันวาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2435)
ไม่ทราบวัน
แก้- เจ้าสุริยะจางวาง ผู้อ้างสิทธิเจ้าผู้ครองนครลำปาง (ไม่ทราบปีประสูติ)