ประพันธ์ุ คูณมี (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นบุคคลชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองบางตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมาจากรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 12 ซึ่งมาจากรัฐประหาร พ.ศ. 2557

ประพันธ์ คูณมี
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(1 ปี 221 วัน)
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551
(1 ปี 109 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ประพันธ์ คูณมี

14 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ไทยสร้างชาติ
พลังธรรม
ประชาธิปัตย์
การเมืองใหม่
คู่สมรสน.ส.สุภาพร ศุภรเวทย์
บุตร1 คน
การศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อาชีพนักการเมือง
นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
ทนายความ
เป็นที่รู้จักจากทนายความของประสงค์ สุ่นศิริ
แนวร่วมคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว ประพันธ์เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากการยืนยันว่า วุฒิสภาไม่มีหน้าที่รับฟังเสียงของประชาชน และจะไม่ปฏิบัติตามเสียงของประชาชนในการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนเลือกไม่ถูกใจตน[1][2][3]

ประวัติ

แก้

ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ประพันธ์ุเป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมในเหตุการณ์[ต้องการอ้างอิง] โดยทำงานร่วมกับสหพันธ์นักศึกษาเสรี[ต้องการอ้างอิง] และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้หลบหนีเข้าป่าร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)[ต้องการอ้างอิง] มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายสงคราม"[ต้องการอ้างอิง] มีเขตงานเป็นของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ในนาม "เขตงาน 196 ภูเขียว, ชัยภูมิ"[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อออกจากป่า นายประพันธ์ได้กลับมาเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ต้องการอ้างอิง] และระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] และจบเนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 37[ต้องการอ้างอิง] โดยเป็นลูกศิษย์ของพิศิษฏ์ เทศะบำรุง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา[ต้องการอ้างอิง] และได้ร่วมกันก่อตั้งสำนักทนายความขึ้นในชื่อ "สำนักงานพิศิษฏ์ ประพันธ์ และเพื่อน"[ต้องการอ้างอิง]

ทางการเมือง

แก้

ใน พ.ศ. 2533 นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ซึ่งมีความสนิทสนมกับพิศิษฏ์ เทศะบำรุง ได้ร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่กับพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ประพันธ์จึงเข้าร่วมทำงานกับพรรคความหวังใหม่อยู่ระยะเวลาหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] และหลังจากออกจากพรรคความหวังใหม่ ประพันธ์ ยังคงมีความเคลื่อนไหวร่วมกับนาวาอากาศตรี ประสงค์ มาโดยตลอด[ต้องการอ้างอิง] โดยหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ประพันธ์และนาวาอากาศตรี ประสงค์ ก็ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังธรรมของพลตรี จำลอง ศรีเมือง[ต้องการอ้างอิง] แต่ทว่าก็มีความขัดแย้งกันอีก โดยที่ประพันธ์ได้วิจารณ์ตัวพลตรี จำลอง ในที่ประชุมพรรค จึงได้ถอนตัวออกมา[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาประพันธ์เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้นจากการร่วมกับนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ และกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ เคลื่อนไหวประท้วงทักษิณ ชินวัตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547[ต้องการอ้างอิง] เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ทักษิณกับตั้งฉายาประพันธ์ว่า "ทนายปีศาจ"[ต้องการอ้างอิง] และในการเลือกตั้งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ประพันธ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงในเขต กรุงเทพมหานคร คือ เขตบางซื่อ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาในเหตุการณ์ขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ใน พ.ศ. 2549 ประพันธ์ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที[ต้องการอ้างอิง] และต่อมาภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารประพันธ์ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ประพันธ์ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขต 7 กรุงเทพมหานคร (เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบัง) ร่วมกับสำราญ รอดเพชร และนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ในครั้งนั้น นาถยาได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 รวม 101,007 คะแนน ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่นายสำราญได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 รวม 90,978 คะแนน และ นายประพันธ์ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 6 รวม 90,667 คะแนน ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม คะแนนของประพันธ์ทิ้งห่างจากอันดับ 7 ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่ได้เพียง 33,011 คะแนน ทั้งที่ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ เคยได้รับคะแนนสูงที่สุดในประเทศถึง 257,420 คะแนน และมีสมัคร สุนทรเวช ได้ 240,312 คะแนน ตามมาเป็นอันดับที่ 2[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังการกลับประเทศไทยของทักษิณ ชินวัตร ด้วยเหตุผลเพื่อต่อสู้คดี และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศฟื้นโครงสร้างองค์กรเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินคดีดังกล่าว ประพันธ์ได้ปรากฏชื่อเป็นที่ปรึกษาของสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) องค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยอ้างอิงรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเมืองภาคประชาชน และประกาศทำงานร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมา ประพันธ์เป็นที่ปรึกษาของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 59 ซึ่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ได้ลาออกเพื่อเข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ ในปลายปี พ.ศ. 2552[4] หลังการลาออกแล้ว มีผู้วิจารณ์ว่า ประพันธ์โจมตีรัฐบาลอภิสิทธิ์ค่อนข้างมาก[5][6]

ประพันธ์ยังเคยมีรายการโทรทัศน์ที่เป็นพิธีกรเองทางช่องเอเอสทีวี คือ ปากกล้าขาไม่สั่นกับประพันธ์ คูณมี ออกอากาศทุกเย็นวันเสาร์-อาทิตย์ ภายหลัง ลาออกจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และยุติบทบาทการเป็นพิธีกรดังกล่าว เพื่อไปหาเสียงช่วยพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หาเสียงในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 หากได้รับเลือกตั้ง จะรับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "อ.จุฬาฯ ถามดังๆ สว.ประพันธ์ ฟังเสียงใคร หลังลั่นสื่อนอก ไม่สนเสียงประชาชน". ข่าวสด. 2023-07-01.
  2. "'ประพันธ์ คูณมี' ตอบสื่อนอก ย้ำจุดยืน 'ไม่ใช่หน้าที่ส.ว. ที่จะฟังเสียงปชช.'". ไทยรัฐ. 2023-07-01.
  3. "ส.ว.ประพันธ์ เผยไม่ใช่หน้าที่ ส.ว.ที่จะรับฟังเสียงของประชาชน". ไทยรัฐ. 2023-07-01.
  4. ประพันธ์ คูณมี ลาออกที่ปรึกษา รมว.วิทย์ เข้าการเมืองใหม่
  5. ประพันธ์ คูณมี ลาออกจากผู้ช่วยรัฐมนตรีหรือยัง
  6. ฝากความถึงคุณประพันธ์ คูณมีว่า เพราะใช้สมอง ถึงมองว่า ท่านนายกยังเหมาะที่จะเป็นนายกต่อไป จากโอเคเนชั่น
  7. 'ประพันธ์ คูณมี 'โพสต์ประกาศลาออกแกนนำพธม.หันช่วย'เสรีพิศุทธ์ จากฐานเศรษฐกิจ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

คำนูณ สิทธิสมาน. ปรากฏการณ์สนธิ จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า. ISBN 9749460979