ปณต สิริวัฒนภักดี
ปณต สิริวัฒนภักดี เป็นนักธุรกิจชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด บริษัทพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ และมีบทบาทสำคัญในการดูแลและพัฒนาโครงการ วัน แบงค็อก[1][2][3]
ปณต สิริวัฒนภักดี | |
---|---|
เกิด | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2520 |
อาชีพ | นักธุรกิจ |
ตำแหน่ง | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด |
คู่สมรส | หม่อมหลวงตรีนุช สิริวัฒนภักดี |
บิดามารดา |
|
ญาติ | วัลลภา ไตรโสรัส (พี่สาว) ฐาปน สิริวัฒนภักดี (พี่ชาย) |
ครอบครัว | สิริวัฒนภักดี |
ประวัติ
แก้ปณตเกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2520[4] เป็นบุตรชายคนเล็กของเจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของกลุ่มทีซีซี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี[5] โดยมีพี่ชายและพี่สาวอีก 4 คน รวม 5 คน[6] ปณตจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมการผลิต จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ในสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ในสหราชอาณาจักร ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ หม่อมหลวงตรีนุช (สกุลเดิม: จักรพันธุ์) มีบุตร-ธิดา 4 คน[7]
การทำงาน
แก้หลังจากปณตจบการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว เดิมนั้นเจริญมอบหมายให้ปณตดำเนินธุรกิจเกษตรกรรมครบวงจร บนที่ดินที่เจริญสะสมไว้เป็นจำนวนมาก ผ่านบริษัท ทีซีซีอุตสาหกรรมการเกษตร จำกัด (ปัจจุบันคือบริษัท พรรณธิอร จำกัด) ซึ่งลงทุนปลูกพืชในประเทศกลุ่มสามเหลี่ยมมรกต ทั้งประเทศไทย ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา แต่เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มทีซีซี ที่วัลลภา ไตรโสรัส พี่สาวคนรองของเจริญ ดูแลอยู่ร่วมกับโสมพัฒน์ ไตรโสรัส ผู้เป็นสามี ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ในปี พ.ศ. 2555 ปณตได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด เพื่อดูแลการพัฒนาโครงการเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ แทนวัลลภาและโสมพัฒน์[8] ปีต่อมาเจริญได้เข้าซื้อหุ้นของเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ บริษัทอาหาร เครื่องดื่ม และอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสิงคโปร์ และมอบหมายให้ปณตเข้าไปบริหาร[9]
ในปี พ.ศ. 2559 ปณตได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มของบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่แยกออกมาจากเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ[10] และปีถัดมาได้รับมอบหมายให้ดูแลการพัฒนาโครงการ วัน แบงค็อก โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมที่ลงทุนโดยกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยใช้เงินลงทุนรวม 120,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยด้วย[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nguyen, Anuchit; Wei, Low De (2024-09-23). "Thai scion bets U.S.-China feud will ease office glut". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-23.
- ↑ Watch Bangkok Bank Director & EVP and Frasers Property Group CEO on Powering Business for a Greener Future - Bloomberg (ภาษาอังกฤษ), 2024-08-09, สืบค้นเมื่อ 2024-09-23
- ↑ "Frasers Property Limited Group CEO wins Asia Top CEO". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-23.
- ↑ "เอกสารแนบ 1 รายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุม". แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 (PDF) (Report). โออิชิ กรุ๊ป. 20 กุมภาพันธ์ 2014. p. 20. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
- ↑ 5.0 5.1 Gluckman, Ron. "Thai Billionaire Family Looks To Up Bangkok's Profile With One Bangkok, The Country's Largest Private Sector Property Project". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-09-23.
- ↑ "ผ่าอาณาจักร 5.6 แสนล้าน 'สิริวัฒนภักดี' ในมือ 5 ทายาทโต้คลื่นธุรกิจครั้งใหญ่". โพสต์ทูเดย์. 7 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปณต สิริวัฒนภักดี". Hello Magazine. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Sae-tang, Suporn (14 เมษายน 2017). "ปณต สิริวัฒนภักดี ได้เวลาลุยโปรเจ็กต์แสนล้าน". หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อสังหาฯ อีกกองหนึ่งในมือของ "ปณต สิริวัฒนภักดี" ลูกชายคนเล็ก "เจ้าสัวเจริญ"". Marketeer. 14 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Panote Sirivadhanabhakdi appointed Frasers Centrepoint's CEO". nationthailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-06-06. สืบค้นเมื่อ 2024-09-23.