ปฏิบัติการอีเกิลพูล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ปฏิบัติการอีเกิลพูล เป็นปฏิบัติการถอนกำลังของกองทัพสหรัฐออกจากพนมเปญอันเป็นเมืองหลวงของกัมพูชา ในวันที่ 12 เมษายน 1975[1] โดยตั้งแต่เข้าเดือนเมษายนปี 1975 เป็นต้นมา พนมเปญอันเป็นเมืองหลวงและเมืองสำคัญของทางฝ่ายสาธารณรัฐกำลังโดนล้อมโดยกำลังทหารของฝ่ายเขมรแดง ทางฝ่ายสหรัฐเมื่อเจอทั้งปัญหาภายในและภายนอกทำให้มีคำสั่งจากเบื้องบนให้มีการถอนทัพออกจากกัมพูชา โดยมีการเพิ่มเที่ยวบินในท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ รวมถึงยังเริ่มเอาเฮลิคอปเตอร์ และเรือรบที่จอดอยู่ในบริเวณอ่าวไทยมาเป็นส่วนร่วมในการถอนทัพครั้งนี้ด้วย ปฏิบัติการนี้นั้นได้รีบดำเนินการไปอย่างรวดเร็วโดยปราศจากการเสียชีวิตของพลทหาร และหลังการถอนทัพของอเมริกาได้ 5 วัน กองทัพเขมรแดงก็สามารถบุกเข้ามาภายในพนมเปญได้สำเร็จ
ปฏิบัติการอีเกิลพูล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม และ การยึดกรุงพนมเปญ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ สาธารณรัฐเขมร | เขมรแดง | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Commander Task Force 76 | พล พต | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ |
การปิดล้อมพนมเปญ
แก้ตั้งแต่ต้นปี 1975 เป็นต้นมาสาธารณรัฐเขมรอันมีสหรัฐคอยสนับสนุนด้านการทหารอยู่นั้น ควบคุมได้เพียงแค่กรุงพนมเปญอันเป็นเมืองหลวงและเมืองหลักของประเทศ และเมืองรองต่างๆริมแม่น้ำโขงที่เอาไว้คอยสนับสนุนด้านการทหารรวมถึงอาหารจากเวียดนามใต้เท่านั้น แต่หลังจากการรุกคืบในฤดูแล้งของปี 1975 กองกำลังเขมรแดงสามารถยึดฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพแห่งชาติเขมรที่ประจำการริมชายฝั่งแม่น้ำโขงภายในจังหวัดไพรแวงเอาไว้ได้ ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม เรือขนส่งสินค้า 7 ลำได้ถูกโจมตี ผู้รอดชีวิตได้บอกว่า ถูกโจมตีตั้งแต่เข้ากัมพูชาตั้งแต่ชายแดนเวียดนามใต้มาถึงพนมเปญเป็นระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร ก่อนที่จะมีรายงานจากหน่วยข่าวกรองออกมาว่า ภายในแม่น้ำโขงฝั่งกัมพูชา กองกำลังเขมรแดงได้ทำการปล่อยทุ่นระเบิดเอาไว้เต็มแม่น้ำ ซึ่งทางฝั่งทหารเรือของกองทัพเขมรไม่สามารถไปเก็บกู้ระเบิดเหล่านั้นได้ เพราะอาจได้รับความเสียหายจากการโจมตีของเขมรแดงที่ซุ่มโจมตีอยู่ ส่งผลให้การเดินทางทางน้ำจากเวียดนามใต้มาสู่พนมเปญถูกตัดขาดในที่สุด[2]
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ รัฐบาลกัมพูชาได้ตัดสินใจที่จะปล่อยการสนับสนุนทุกรูปแบบที่ดำเนินการผ่านมาทางแม่น้ำโขง และหันมารับการสนับสนุนทุกรูปแบบทางอากาศที่จะมาที่สนามบินโปเซตงแทน[2] โดยเมื่อกัมพูชาเปิดรับการขนสงทางอากาศแล้ว สหรัฐได้เร่งส่งอาหาร เชื้อเพลิง น้ำมันและกระสุนเข้าไปภายในพนมเปญอย่างเร่งด่วน แต่การสนับสนุนของสหรัฐก็ถูกส่งเเข้าไปอย่างจำกัดเหมือนกัน ทำให้การขนส่งและลำเลียงของถูกส่งเข้าไปได้แค่ 20 เที่ยวต่อวันเท่านั้น
ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม กองกำลังฝ่ายเขมรแดงได้เปิดการโจมตีด้วยปืนใหญ่จากทางตะวันตกเฉียงเหนือของพนมเปญใส่สถานที่สำคัญต่างๆ รวมถึงสนามบินโปเซตงด้วยเหมือนกัน แต่ทางกองทัพแห่งชาติเขมรสามารถสกัดเอาไว้ได้ แต่การโจมตีของเขมรแดงนั้นยังไม่หยุด จนทำให้สถานทูตสหรัฐสั่งระงับการขนส่งทางอากาศจนกว่าสถานการณ์จะปลอดภัย แต่ทว่าทางสถานทูตสหรัฐได้ตระหนักดีว่าการระงับการขนส่งทางอากาศจะทำให้พนมเปญล่มภายในไม่ช้า จึงยกเลิการระงับเที่ยวบินและเพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้มากขึ้นอีก แต่ทว่าดูเหมือนสถานการณ์จะไม่ดีขึ้นอีก เมื่อกองกำลังทหารแห่งชาติเขมรที่เสริมกำลังเอาไว้ตามเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขงได้พ่ายให้กับกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์เขมรแดง ซึ่งจากชัยชนะในครั้งนั้นกองกำลังของเขมรแดงจึงมีใจมากขึ้นที่จะยึดพนมเปญได้ และทำให้ลอน นอลผู้นำสูงสุดของเขมรในตอนนั้นลาออกและหนีออกนอกประเทศไปด้วย
References
แก้- ↑ "Chapter 5: The Final Curtain, 1973–1975". history.navy.mil. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-27. สืบค้นเมื่อ 24 July 2007. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 2.0 2.1 Dunham, George R (1990). U.S. Marines in Vietnam: The Bitter End, 1973–1975 (Marine Corps Vietnam Operational Historical Series). Marine Corps Association. pp. 102–4. ISBN 978-0-16-026455-9. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ