ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น
ปฏิบัติการดาวเสาร์ (Operation Saturn),ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็ก (Operation Little Saturn) เป็นการรุกของกองทัพแดงบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สองที่นำไปสู่การสู้รบในภูมิภาคแม่น้ำดอนและเชียร์(Chir) ในดินแดนสหภาพโซเวียตที่ถูกเยอรมันยึดครองในวันที่ 16 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1942
ปฏิบัติการเสาร์น้อย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่สตาลินกราดบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
การรุกของโซเวียตในช่วงระหว่างปฏิบัติการยูเรนัส, มาร์ส และเสาร์. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
เยอรมนี อิตาลี ฮังการี โรมาเนีย | สหภาพโซเวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แอริช ฟอน มันชไตน์ Erhard Raus เอวัลด์ ฟอน ไคลสท์ Italo Gariboldi Gusztáv Jány Petre Dumitrescu |
โจเซฟ สตาลิน Fyodor Kuznetsov Dmitri Lelyushenko Vasyl Herasimenko Filipp Golikov |
ความสำเร็จของปฏิบัติการยูเรนัส ซึ่งได้ถูกเปิดฉากขึ้น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ได้ดักล้อมกองทหาร 250,000 นายของกองทัพเยอรมันที่ 6 ของนายพลฟรีดริช เพาลุส และส่วนหนึ่งของกองทัพยานเกราะที่ 4 ของนายพลโฮทในสตาลินกราด เพื่อใช้ประโยชน์จากชัยชนะครั้งนี้ ฝ่ายเสนาธิการโซเวียตได้วางแผนการรุกที่ยากโดยรอสตอฟ-ออน-ดอนเป็นเป้าหมายสุดท้าย รหัสนามว่า "ดาวเสาร์"(Saturn) ต่อมาโจเซฟ สตาลินได้ลดแผนการที่ยากให้กลายเป็นปฏิบัติการที่ค่อนข้างเล็ก รหัสนามว่า ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็ก (Operation Little Saturn) การรุกได้ประสบผลสำเร็จในการทำลายกองทหารฝ่ายอักษะและใช้แรงกดดันต่อกองกำลังเยอรมันที่แผ่ขยายมากเกินไปในยูเครนตะวันออก อีกการรุกตอบโต้ทางตอนใต้ของแม่น้ำดอนได้ขัดขวางการรุกคืบที่มากขึ้นของเยอรมันเพื่อปลดปล่อยกองกำลังที่ติดอยู่ในสตาลินกราด
ด้วยปฏิบัติการต่อมา ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ในที่สุดกองทัพโซเวียตได้ไปถึงและเข้ายึดรอสตอฟตามแผนที่ได้วางเอาไว้แต่แรกใน "ดาวเสาร์" แม้ว่าชัยชนะเหล่านี้ โซเวียตเองได้ยืดขยายออกที่มากเกินไป การเตรียมการสำหรับการรุกของเยอรมันในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 และยุทธการที่คูสค์
เบื้องหลัง
แก้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองทัพเยอรมันกลุ่มเอและบีได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับต่อการรุกของกองทัพโซเวียตบริเวณรอบ ๆ เมืองฮาร์คอฟ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่ 2 ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ยืดขยายออกไปในวันที่ 28 มิถุนายนจนนำไปสู่กรณีสีน้ำเงิน ซึ่งมุ่งเป้าหมายไปที่การเข้ายึดครองบ่อน้ำมันบนเทือกเขาคอเคซัส วันที่ 6 กรกฎาคม กองทัพยานเกราะที่สี่ของนายพลแฮร์มันน์ โฮทได้เข้ายึดเมืองโวโรเนซ โดยข่มขู่ว่าจะทำลายการต่อต้านของกองทัพแดง ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม กองทัพยานเกราะที่หนึ่งของเพาล์ ลูทวิช เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ได้เดินทางมาถึงศูนย์บ่อน้ำมันของไมคอฟ เพียงระยะทาง 500 กิโลเมตร(310 ไมล์) ทางตอนใต้ของเมืองรอสตอฟ ซึ่งถูกยึดครองโดยกองทัพยานเกราะที่สี่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม การรุกอย่างรวดเร็วของเยอรมันได้คุกคามเพื่อตัดขาดสหภาพโซเวียตออกจากดินแดนทางตอนใต้ ในขณะเดียวกันก็ข่มขู่ว่าจะตัดสายส่งเสบียงในโครงการให้ยืม-เช่าจากเปอร์เซีย อย่างไรก็ตาม การรุกนั้นเริ่มที่จะค่อยๆ หยุดลง ในขณะที่ขบวนขนส่งเสบียงของฝ่ายรุกได้พยายามอย่างเร่งรีบเพื่อไปให้ทันกับแนวหน้า และหน่วยรบหัวหอกเริ่มที่จะใช้เชื้อเพลิงและกำลังคนที่น้อยลง ตัวอย่างเช่น กองพลยานเกราะบางกองพลมีจำนวนรถถังเหลือเพียง 54 คัน ในท้ายที่สุด เยอรมันได้เปลี่ยนมุ่งเป้าไปที่สตาลินกราดในความพยายามยับยั้งการขนส่งเสบียงทางเรือบนแม่น้ำโวลก้า การเข้ายึดครองเมืองที่มีชื่อเดียวกันกับสตาลินนั้นยังหมายถึงการส่งเสริมทางจิตวิทยาสำหรับเยอรมัน และในทางกลับกัน เป็นการทำลายโซเวียตด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหลายเดือนของการสู้รบอย่างดุเดือดซึ่งมากกว่า 90% ของเมืองถูกยึดครองโดยเยอรมัน จนในที่สุด เมืองแห่งนี้ก็ได้ทำลายกองทัพเยอรมันจนหมดสิ้น - กองทัพที่ 6 และหน่วยทหารจากกองทัพยานเกราะที่สี่ - พวกเขาได้พยายามซึ่งไม่ประสบความสำเร็จและเหน็ดเหนื่อยในการขับไล่กองกำลังป้องกันของโซเวียตที่หลงเหลืออยู่ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความสูญเสียอย่างสาหัสจากสู้รบครั้งนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับผลลัพธ์ช่วงสุดท้ายคือ เยอรมันได้หมดกำลังพลอย่างสาหัสสากรรจ์ ทำให้พวกเขาต้องถอดปีกกองกำลังออกมาเรื่อย ๆ โดยปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ไปอยู่ในมือของกองกำลังที่เกินความสามารถและขาดแคลนอุปกรณ์ของประเทศพันธมิตรอย่างอิตาลี ฮังการี และโรมาเนีย สถานการณ์อันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้น ในขณะที่ได้มีการพูดถึงอยู่หลายครั้งโดยความวิตกกังวลของเหล่านายพลเยอรมันซึ่งถูกเพิกเฉย และด้วยเหตุนี้จึงได้มีการกำหนดสถานการณ์สำหรับหายนะครั้งสุดท้ายสำหรับเยอรมันและประเทศพันธมิตร
ปฏิบัติการยูเรนัส
แก้ปฏิบัติการยูเรนัสเป็นรหัสนามของปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ของโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนำไปสู่การโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่หก กองทัพโรมาเนียที่สามและสี่ และบางส่วนของกองทัพยานเกราะเยอรมันที่สี่ ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่สตาลินกราดที่ต่อเนื่อง และเป็นการมุ่งเป้าไปที่การทำลายกองทัพเยอรมันทั้งภายในและบริเวณรอบสตาลินกราด การวางแผนปฏิบัติการยูเรนัสได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1942 และได้ถูกพัฒนาในเวลาเดียวกันกับแผนของการโอบล้อมและทำลายกองทัพกลุ่มกลางและกองกำลังเยอรมันในคอเคซัส กองทัพแดงได้ใช้ประโยชน์ของข้อเท็จจริงที่ว่ากองกำลังเยอรมันในทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียตได้ถูกยืดขยายที่มากเกินไปบริเวณรอบสตาลินกราด โดยใช้กองทัพโรมาเนียที่อ่อนแอกว่าในการคุ้มกันปีกด้านข้างของพวกเขา จุดเริ่มต้นของการรุกได้ถูกก่อตัวไว้ตามส่วนของแนวหน้าโดยตรงกับกองทัพโรมาเนียที่เป็นฝ่ายข้าศึก กองทัพฝ่ายอักษะเหล่านี้ได้ถูกนำเข้าประจำการในตำแหน่งที่เปิดโล่งบนทุ่งหญ้าสเตปป์และขาดแคลนยุทโธปกรณ์หนักเพื่อต่อกรกับยานเกราะโซเวียต
ความพยายามของเยอรมันในการปลดปล่อยสตาลินกราด
แก้ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว (Unternehmen Wintergewitter) ได้ถูกดำเนินระหว่างวันที่ 12-23 ธันวาคม ค.ศ. 1942 เป็นความพยายามของกองทัพยานเกราะเยอรมันที่สี่ในการช่วยเหลือกองกำลังฝ่ายอักษะที่ถูกโอบล้อมในช่วงยุทธการที่สตาลินกราด ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน กองทัพแดงได้ดำเนินปฏิบัติการยูเรนัสอย่างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการโอบล้อมเจ้าหน้าที่นายทหารฝ่ายอักษะที่อยู่ภายในและบริเวณรอบเมืองสตาลินกราด กองทัพเยอรมันในวงล้อมสตาลินกราดและภายนอกโดยตรงได้ถูกจัดระเบียบใหม่ภายใต้กองทัพกลุ่มดอน ภายใต้บัญชาการโดยจอมพลไรช์ เอริช ฟ็อน มันชไตน์ ในขณะที่กองทัพแดงยังคงสร้างความแข็งแกร่ง ในความพยายามที่จะจัดสรรทรัพยาการจำนวนมากเท่าที่จะเป็นไปได้ในการเปิดฉากปฏิบัติการดาวเสาร์ที่ได้ถูกวางแผนเอาไว้ในที่สุด ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแยกกองทัพกลุ่มเอออกจากส่วนที่เหลือของกองทัพเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอได้เริ่มต้นความพยายามในการส่งเสบียงไปยังกองกำลังเยอรมันในสตาลินกราดผ่านทางสะพานทางอากาศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากลุฟท์วัฟเฟอได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของตนได้ และเห็นได้ชัดว่า การตีฝ่าวงล้อมที่ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเปิดฉากเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มันชไตน์ได้ตัดสินใจวางแผนและพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะ
ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น
แก้แผนแต่เดิม: แซเทิร์น
แก้ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของกองทัพโรมาเนียบริเวณรอบสตาลินกราดและประสบความสำเร็จในการโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่หก สตาลินได้เริ่มวางแผนปฏิบัติการการรุกตอบโต้กลับที่มีรหัสนามว่า "ดาวเสาร์" ในคำสั่งเพื่อขยายพื้นที่ควบคุมโดยกองทัพโซเวียต โดยรอสตอฟ-ออน-ดอนเป็นเป้าหมายสุดท้าย กองทหารฝ่ายอักษะที่ถูกโอบล้อมอยู่ในวงล้อมสตาลินกราดควรจะถูกทำลายให้หมดสิ้นภายในไม่กี่วัน อย่างไรก็ตามแผนการนี้ ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ที่ไม่ถูกต้องโดยหน่วยข่าวกรองโซเวียตเกี่ยวกับจำนวนกองทหารฝ่ายข้าศึกที่ถูกโอบล้อมที่แท้จริง(คาดคะเนว่า มีเพียง 80,000 นาย แทนที่จะเป็นจำนวนที่แท้จริงที่มีมากกว่า 250, 000 นาย) ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่า ไม่สามารถทำได้และดูไม่สมจริง เนื่องจากขาดแคลนการส่งกำลังบำรุงและยานพาหนะของกองทัพแดง
ลิตเติลแซเทิร์น
แก้ในปฏิบัติการรูปแบบใหม่ที่ถูกลดขนาดลง รหัสนามว่า "ดาวเสาร์เล็ก" การรุกของโซเวียตยังคงโจมตีกองทหารฝ่ายอักษะที่แม่น้ำดอนและเชียร์ ภายหลังการทำลายกองกำลังฝ่ายข้าศึก กองกำลังยานยนต์ก็จะดำเนินอย่างรวดเร็วในสองทิศทาง: ทางตะวันตก ไปยังศูนย์การสื่อสารของเมือง Millerovo และทางใต้ เข้าโจมตีสนามบินทัตซินสกายา ซึ่งเครื่องบินของลุฟท์วัฟเฟอได้บินขาออกเพื่อส่งเสบียงไปยังวงล้อมสตาลินกราด นอกจากนี้ แนวรบตะวันตกเฉียงใต้ยังได้มอบหมายภารกิจให้แก่กองทัพองครักษ์ที่ 1 และ 3 และกองทัพรถถังที่ 5 เข้าโจมตีในทิศทางทั่วไปของเมือง Morozovsk ใกล้กับทัตซินสกายา และทำลายข้าศึกที่รวมตัวในเขตนั้น พวกเขาจะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพที่ 6 ของแนวรบโวโรเนซ แผนการรุกเพิ่มเติมใด ๆ ที่มุ่งตรงไปยังรอสตอฟได้ถูกล้มเลิกไป
ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็กได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม กองทัพองค์รักษ์ที่ 1 ของนายพล Fyodor Isidorovich Kuznetsov และกองทัพองค์รักษ์ที่ 3 ของนายพล Dmitry Danilovich Lelyushenko เข้าโจมตีจากทางเหนือ ทำการโอบล้อมทหาร 130,000 นายของกองทัพอิตาลีที่ 8 บนแม่น้ำดอนและรุกคืบไปยังเมือง Millerovo อิตาลีได้ต่อต้านการโจมตีของโซเวียต แม้ว่าจะมีจำนวนมากกว่า 9 ต่อ 1 ในบางเขต แต่ก็มีการสูญเสียจำนวนมากมาย มันชไตน์ได้ส่งกองพลยานเกราะที่ 6 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่อิตาลี กองทหารที่ถูกโอบล้อม 130,000 นาย มีผู้รอดชีวิตเพียง 45,000 นาย ภายหลังการสู้รบที่นองเลือด ได้เข้าร่วมกับหน่วยยานเกราะที่ Chertkovo
ทางใต้ การรุกคืบของกองทัพที่ 28 ของนายพล Gerasimenko ได้เข้าคุกคามเพื่อโอบล้อมกองทัพยานเกราะที่ 1 ของเยอรมัน และกองทัพที่ 51 ของนายพล Trufanov ได้เข้าโจมตีขบวนความช่วยเหลือโดยตรง วันที่ 24 ธันวาคม รถถังของกองทัพน้อยรถถังที่ 24 ได้มาถึงและบุกเข้าจู่โจมสนามบินทัตซินสกายา ทำลายเครื่องบินขนส่งของเยอรมันและการโจมตีโฉบฉวยได้เสร็จสิ้นในเวลาไม่กี่วัน
ปฏิบัติการดาวเสาร์เล็กพร้อมกับอีกการรุกตอบโต้กลับทางตอนใต้ของแม่น้ำดอน ซึ่งได้ขัดขวางไม่ให้เยอรมันรุกคืบต่อไปได้เพื่อเข้าช่วยเหลือกองกำลังที่ถูกโอบล้อม เนื่องจากขบวนความช่วยเหลือตกอยู่ภายใต้การคุกคามของการโอบล้อม มันชไตน์จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องล่าถอยกลับไปยัง Kotelnikovo เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ปล่อยให้ทหารเยอรมันที่ถูกโอมล้อมอยู่ในสตาลินกราดที่พวกเขาต้องเผชิญกับชะตากรรม ทหารจำนวน 250,000 นาย ที่ถูกโอบล้อม มีผู้รอดชีวิตจำนวน 90,000 นาย ที่ถูกจับเป็นเชลย มีเพียง 5,000 นายที่มีชีวิตอยู่ได้เดินทางกลับไปยังเยอรมนี โอกาสที่จำกัดของการรุกของโซเวียตยังได้ให้เวลาแก่นายพล เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ ในการถอนกองทัพกลุ่มเอในทิศทางของคูบัน โดยยกเว้นกองทัพยานเกราะที่ 1 ซึ่งได้เข้าร่วมกองทัพกลุ่มดอนผ่านทางรอสตอฟ-ออน-ดอน
ปฏิบัติการที่ตามมา
แก้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 กองทัพโซเวียตได้เริ่มต้นการรุกโวโรเนซ-ฮาร์คอฟซึ่งส่งผลทำให้กองทหารโซเวียตได้รุกคืบระหว่าง 360-520 กิโลเมตร ได้เข้าปะทะกับกองทหารฝ่ายอักษะ กองทัพอิตาลีที่ 8 และกองทัพฮังการีที่ 2 ถูกทำลายเกือบหมดสิ้น กองทัพกลุ่มบีได้ประสบความพ่ายแพ้จากโซเวียตซึ่งตอนนี้ได้บุกเข้าสู่ยูเครนตะวันออก
ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพโซเวียตได้มาถึงและเข้ายึดรอสตอฟในที่สุด โดยเป้าหมายได้บรรลุผลตามที่วางแผนไว้แต่แรกใน "ปฏิบัติการดาวเสาร์"