บูมเมอแรง (อัลบั้มธงไชย แมคอินไตย์)

สตูดิโออัลบั้มโดยธงไชย แมคอินไตย์ พ.ศ. 2533
(เปลี่ยนทางจาก บูมเมอแรง (เพลง))

บูมเมอแรง เป็นอัลบั้มเพลงที่ 5 ของธงไชย แมคอินไตย์ ในสังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกวางแผงจำหน่ายในปี พ.ศ. 2533[1] โดยมี สมชาย กฤษณะเศรณี เป็นโปรดิวเซอร์ โดยถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดของแกรมมี่ในปีดังกล่าว[2] ซึ่งเป็นคนแรกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่มียอดขายเกิน 2 ล้านตลับ[3] โดยยอดขายรวมมากกว่า 2.5 ล้านตลับ และถูกจัดให้เป็นอัลบั้มที่เป็นที่สุดแห่งปี 1990[4][5] สำหรับเพลงเปิดตัวคือเพลง บูมเมอแรง ออกอากาศทางโทรทัศน์พร้อมภาพยนตร์เพลงที่กำกับโดย ดล ผดุงวิเชียร ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวที่ไม่เหมือนอัลบั้มอื่นๆของเบิร์ดที่เน้นภาพลักษณ์อบอุ่น โดยอัลบั้มนี้นำเสนอเบิร์ดเป็นฮีโร่ที่มาพร้อมกับอาวุธ คือ บูมเมอแรง ในภาพลักษณ์เรียบง่าย[6] และต่อเนื่องด้วยการเปิดตัวเพลง คู่กัด อีกหนึ่งเพลงดังแห่งยุค และเพลงดังอื่นๆ อาทิ เพลงเงียบๆ คนเดียว เพลงหมอกหรือควัน เป็นต้น และจากความสำเร็จของอัลบั้มดังกล่าวทำให้เบิร์ดมีทัวร์คอนเสิร์ตที่ใช้ชื่อว่า "มนุษย์บูมเมอแรง" ทุกภาค และต่อเนื่องด้วยคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ ครั้งที่ 4 โดยรายชื่อเพลงอัลบั้มบูมเมอแรง ดังนี้[7]

บูมเมอแรง
ภาพปกอัลบั้ม บูมเมอแรง ฉบับจัดจำหน่ายปี 2551
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด6 มีนาคม พ.ศ. 2533
บันทึกเสียงพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
แนวเพลงสตริง, ป็อป, อาร์แอนด์บี
ค่ายเพลงจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
โปรดิวเซอร์สมชาย กฤษณะเศรณี
ลำดับอัลบั้มของธงไชย แมคอินไตย์
ส.ค.ส.
(2531)ส.ค.ส.String Module Error: Match not found
บูมเมอแรง
(2533)
พริกขี้หนู
(2534)พริกขี้หนูString Module Error: Match not found
ภาพปกเทปอัลบั้ม
ภาพปกเทป อัลบั้ม บูมเมอแรง
ภาพปกเทป อัลบั้ม บูมเมอแรง

รายชื่อเพลง

แก้
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."บูมเมอแรง"เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์3:29
2."คู่กัด"อรรณพ จันสุตะ3:00
3."เงียบๆ คนเดียว"สีฟ้า4:04
4."คืนนี้ไม่เหมือนคืนนั้น"เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์3:46
5."เงาที่หายไป"สีฟ้าและคณะ3:24
6."บ้านของเรา"นิติพงษ์ ห่อนาค1:13
7."พักตรงนี้"นิติพงษ์ ห่อนาค3:21
8."หมอกหรือควัน"สีฟ้า3:07
9."อย่าหลบตากัน"นิติพงษ์ ห่อนาค4:44
10."ภารตี"ประชา พงศ์สุพัฒน์3:34
11."ต่อเวลา"เปเล่3:25

*สีเขียวคือเพลงที่มีมิวสิควิดีโอ

เครดิต

แก้

กีต้าร์ : ชาตรี คงสุวรรณ/ชาย ขำเลิศกุล

คีย์บอร์ด : อภิไชย เย็นพูนสุข

เบส : สมชาย กฤษณะเศรณี

แซกโซโฟน : เทวัญ ทรัพย์แสนยากร

ประสานเสียง : แหม่ม,ป้อม,ฉ่าย,จ๊อด,ปุ้ม

บันทึกเสียง : เวช,หมู

มิกซ์เสียง : เรวัต พุทธินันทน์

โปรดิวเซอร์ : สมชาย กฤษณะเศรณี

Executive Producer : เรวัต พุทธินันทน์

ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม พฤศจิกายน 2532 - กุมภาพันธ์ 2533

รางวัลและความสำเร็จ

แก้
  • ปี 2533 "อัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงสุด " มอบรางวัลโดยบริษัทไทยน้ำทิพย์ ผู้ผลิตเครื่องดื่มโค้ก ประเทศไทย ในโอกาสที่อัลบั้มเบิร์ด "บูมเมอแรง" ประสบความสำเร็จสูงสุด[8] โดยมียอดจำหน่ายเทปเกิน 2 ล้านตลับ
  • ปี 2534 "นักร้องที่มียอดจำหน่ายเทปขายดีที่สุด" อัลบั้ม "บูมเมอแรง" ยอดจำหน่าย 2 ล้านตลับ จากสรุปผลโดยหนังสือพิมพ์เอกชน ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ปี 2534
  • ปี 2552 จัดให้เป็น "อัลบั้มที่มียอดจำหน่ายเทปสูงสุด" อัลบั้ม "บูมเมอแรง" ปี 2533 ยอดจำหน่ายเทป 2 ล้านตลับ จากสกุ๊ป "ย้อนวันวานล้านตลับ ยุครุ่งเรืองวงการเพลงไทย" ของหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก
  • ปี 2559 เพลง "คู่กัด" ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 "เพลงฮิตที่สุดของปี 1990" จาก 10 เพลงฮิตที่สุดของปี 1990 สรุปโดยเว็บไซต์ข่าว Sanook.com วันที่ 6 ตุลาคม 2559
  • ปี 2559 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มที่ดีที่สุดของแกรมมี่ ปี 1990" อันดับ 1 จากการจัดอันดับ 6 อัลบั้มที่ดีที่สุดของแกรมมี่ ปี 1990 โดย GMM Superstar- Label Under GMM Trading วันที่ 18 ธันวาคม 2559
  • ปี 2560 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มแห่งทศวรรษ" อันดับ 3 ในรอบ 10 ปี (ยุค 90 : จาก 1990-1999) สร้างสถิติ 2 ล้านตลับแรกของนักร้องแกรมมี่ โดย GMM Superstar วันที่ 1เมษายน 2560[9]
  • ปี 2560 ได้รับการจัดอันดับให้เป็น "อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่" อันดับ 4 ยอดขายเกิน 2 ล้านตลับ โดย GMM Superstarสรุปการจัดอันดับ 33 BEST-Selling Albums of ALL TIME "33 อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่" วันที่ 6 พฤษภาคม 2560
  • ปี 2560 ได้รับการจัดให้เป็นอันดับ 3 อัลบั้มที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของศิลปินแกรมมี่ : ศิลปินชาย โดย GMM Superstar วันที่ 9 มิถุนายน 2560 สรุปการจัดอันดับ 33rd Year GMM GRAMMY : BEST Male Albums "33 อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของศิลปินแกรมมี่ : ศิลปินชาย" ด้วยยอดจำหน่ายเกิน 2 ล้านตลับแรกของศิลปินแกรมมี่
  • ปี 2561 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มของศิลปินชายที่เป็นที่สุดแห่งปี 1990" จากสรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่ วันที่ 13 มกราคม 2561 โดย GMM Superstar[10]
  • ปี 2563 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มล้านตลับเร็วที่สุด" อันดับ 4 ใช้เวลา 6 สัปดาห์ จากสรุป 10 อันดับ อัลบั้มล้านตลับเร็วที่สุดของแกรมมี่ วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดย GMM Superstar[11]
  • ปี 2564 ได้รับการจัดให้เป็น "อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาล" อันดับ 6 ยอดขายรวมศิลปิน ชาย หญิง กลุ่ม รวมทั้งโปรเจค และอัลบั้มพิเศษ จากสรุป 100 อันดับ อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่ เดือนธันวาคม 2564 โดย GMM Superstar[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "อัลบั้ม เบิร์ด บูมเมอแรง : GMEMBER". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-20.
  2. 18 ธันวาคม 2559 ,The Winner's Story : "ธงไชย แมคอินไตย์",สรุปโดย GMM Superstar
  3. อันดับ 3 อัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งทศวรษ 1990-1999[ลิงก์เสีย]
  4. "GMM GRAMMY : Best of the year อัลบั้มที่ดีที่สุดของแกรมมี่ ปี 1990". GMM Superstar. 2021-06-25. สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.
  5. 5.0 5.1 "100 อันดับ อัลบั้มขายดีที่สุดตลอดกาลของแกรมมี่". GMM Superstar. 2017. สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.
  6. [นิตยสาร a day ฉบับที่ 176 ประจำเดือนเมษายน 2558,คอลัมน์ 30 ความทรงจำเล่าสู่กันฟังโดยธงไชย หัวข้อขว้างไปยิ่งแรงยิ่งกลับมาเร็ว]
  7. [อัลบั้มบูมเมอแรง ธงไชย แมคอินไตย์]
  8. นิตยสารแพรว ปีที่ 31 ฉบับที่ 734 วันที่ 25 มีนาคม 2553,หน้า 172,รวมภาพส่วนหนึ่งของรางวัลเกียรติยศ ของเบิร์ด ธงไชย
  9. อันดับ 3 อัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งทศวรษ 1990-1999/อันดับ 1 อัลบั้มพริกขี้หนู[ลิงก์เสีย]
  10. สรุปที่สุดในความทรงจำ ที่สุด..ของแกรมมี่[ลิงก์เสีย]
  11. "Fastest Million Copies Albums "10 อันดับ อัลบั้มล้านตลับเร็วที่สุด"". GMM Superstar. 1 มีนาคม พ.ศ. 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]