บุนเดิสแวร์
บุนเดิสแวร์ (เยอรมัน: Bundeswehr) หรือ กองป้องกันสหพันธ์ คือชื่อของกองทัพเยอรมัน ภายใต้รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กฎหมายพื้นฐานไม่อนุญาตให้รัฐเยอรมันต่างๆมีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง ภาระหน้าที่ในกิจการทหารทั้งปวงต้องอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลางที่กรุงเบอร์ลิน
กองป้องกันสหพันธ์ | |
---|---|
Bundeswehr | |
กางเขนเหล็ก เครื่องหมายของบุนเดิสแวร์ | |
คำขวัญ | "Wir. Dienen. Deutschland."[1] ("เรารับใช้เยอรมนี") |
ก่อตั้ง | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2498 |
รูปแบบปัจจุบัน | 3 ตุลาคม ค.ศ. 2533 |
เหล่า | กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ เหล่ายุทธบริการ เหล่าสาธารณสุขกลาง เหล่าไซเบอร์และสนเทศบริการ |
กองบัญชาการ | บ็อน, เบอร์ลิน และพ็อทซ์ดัม |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผบ.สส. | รมว.กลาโหม (ในยามสงบ) นายกรัฐมนตรี (ในภาวะป้องกันประเทศ) |
กำลังพล | |
อายุเริ่มบรรจุ | 17 ปีบริบูรณ์ |
การเกณฑ์ | มีการเกณฑ์ทหารแต่ถูกระงับชั่วคราวตั้งแต่การรวมประเทศเยอรมนี |
ยอดประจำการ | 180,215 คน (2567) |
ยอดสำรอง | 930,000 คน (2567) |
รายจ่าย | |
งบประมาณ | 71.75 พันล้านยูโร (2567) |
ร้อยละต่อจีดีพี | 2.12% (2567) |
อุตสาหกรรม | |
แหล่งผลิตนอกประเทศ | สหภาพยุโรป สหรัฐ |
เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 บุนเดสแวร์มีกองทัพประจำการ 180,215 นาย[2] ทำให้เป็นกองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหภาพยุโรปรองจากฝรั่งเศส นอกจากนี้ บุนเดสแวร์ยังมีกองหนุนประมาณ 34,600 นาย (พ.ศ. 2567)[3] และงบประมาณทางทหารประมาณ 71.75 พันล้านยูโร (พ.ศ. 2567)[4] เป็นหนึ่งในสิบกองทัพที่แข็งแกร่งทางการเงินที่สุดในโลก การใช้จ่ายทางทหารของเยอรมนีคิดเป็น 2.12% ของ GDP[5] ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานของ NATO ที่ 2% เพื่อรับมือกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น เยอรมนีต้องการขยายกองทัพเป็น 203,000 นายภายในปี 2574[6]
อำนาจบังคับบัญชา
แก้สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีใช้หลักการพลเรือนคุมทหารเหมือนสหรัฐ จึงไม่มีตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก-ทหารเรือ-ทหารอากาศ กฎหมายพื้นฐานกำหนดให้อำนาจบังคับบัญชาสูงสุดของบุนเดิสแวร์อยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในยามสงบ และโอนไปอยู่ที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในภาวะป้องกันประเทศ
ตำแหน่งสูงสุดของนายทหารประจำการในบุนเดิสแวร์ คือตำแหน่งจเรทหารทั่วไปแห่งบุนเดิสแวร์ (Generalinspekteur der Bundeswehr) ซึ่งมียศเป็นพลเอกและไม่ได้รับอำนาจสั่งการกำลังทหาร มีบทบาทเป็นเพียงผู้รับผิดชอบหลักคิดการป้องกันประเทศของกองทัพ รวมถึงการวางแผน การเตรียมพร้อม และการตรวจประเมินปฏิบัติการของบุนเดิสแวร์[7] ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาฝ่ายทหารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
โครงสร้าง
แก้บุนเดิสแวร์แบ่งสายบัญชาการออกเป็นสองฝ่ายคือ ส่วนเหล่าทัพ (Streitkräfte) และ ส่วนกิจการพลเรือน (Wehrverwaltung) โดยที่ส่วนเหล่าทัพแบ่งเป็นหกแผนก ได้แก่
- กองทัพบก (Heer)
- กองทัพเรือ (Marine)
- กองทัพอากาศ (Luftwaffe)
- แผนกยุทธบริการ (Streitkräftebasis),
- แผนกสุขาภิบาลกลาง (Zentraler Sanitätsdienst)
- แผนกไซเบอร์และสนเทศบริการ (Cyber- und Informationsraum)
ผู้นำของแต่ละแผนกมียศพลโท/พลเรือโท และมีตำแหน่งเป็นเพียงจเร ทำหน้าที่ตรวจเตรียมความพร้อมรบและยุทธภัณฑ์ แต่ไม่มีอำนาจสั่งการหน่วยรบ ซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ยศทหารบุนเดิสแวร์
แก้กองทัพบกและกองทัพอากาศ
แก้- พลเอก (General)
- พลโท (Generalleutant)
- พลตรี (Generalmajor)
- พลจัตวา (Brigadegeneral)
- พันเอก (Oberst)
- พันโท (Oberstleutnant)
- พันตรี (Major)
- ร้อยเอกพิเศษ (Stabshauptmann)
- ร้อยเอก (Hauptmann)
- ร้อยโท (Oberleutnant)
- ร้อยตรี (Leutnant)
กองทัพเรือ
แก้- พลเรือเอก (Admiral)
- พลเรือโท (Vizeadmiral)
- พลเรือตรี (Konteradmiral)
- พลเรือจัตวา (Flottillenadmiral)
- นาวาเอก (Kapitän zur See)
- นาวาโท (Fregattenkapitän)
- นาวาตรี (Korvettenkapitän)
- เรือเอกพิเศษ (Stabskapitänleutnant)
- เรือเอก (Kapitänleutnant)
- เรือโท (Oberleutnant zur See)
- เรือตรี (Leutnant zur See)
ดูเพิ่ม
แก้- กองทัพปรัสเซีย
- กองทัพจักรวรรดิเยอรมัน
- ไรชส์แวร์ – กองทัพของสาธารรัฐไวมาร์
- แวร์มัคท์ – กองทัพของนาซีเยอรมนี
- กองทัพประชาชนแห่งชาติ – กองทัพของเยอรมนีตะวันออก
อ้างอิง
แก้เชิงอรรถ
แก้- ↑ "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Personalzahlen". www.bundeswehr.de (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Auftrag". www.bundeswehr.de (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Verteidigungshaushalt". www.bmvg.de (ภาษาเยอรมัน). 2024-08-02.
- ↑ "Deutschland erreicht Zwei-Prozent-Ziel bei Verteidigungsausgaben". tagesschau.de (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Zahl der Bundeswehrsoldaten sinkt auf 181.500". tagesschau.de (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "The Chief of Defence". bmvg.de. Federal Ministry of Defence. 2022. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
The Chief of Defence is the administrative superior of all the soldiers in the armed forces under his command. As both the military advisor to the Federal Government and the senior military representative of the Bundeswehr, he is a member of the Ministry of Defence Executive Group.
บรรณานุกรม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กระทรวงกลาโหมเยอรมนี – Official site (เยอรมัน)
- Federal Ministry of Defence official site (in German, English and French)
- Bundesamt für Wehrtechnik und Beschaffung official site (เยอรมัน)
- Bundesamt für Informationsmanagement und Informationstechnik der Bundeswehr official site (in German)
- Territoriale Wehrverwaltung เก็บถาวร 2006-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน official site (เยอรมัน)
- Y - Magazine of the Federal Defence Forces (เยอรมัน) เก็บถาวร 2018-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Zeitschrift fuer Innere Fuehrung (เยอรมัน)
- http://www.readersipo.de/ เก็บถาวร 2013-01-06 ที่ archive.today