บุญเกิด หิรัญคำ

บุญเกิด หิรัญคำ (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2475) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 4 สมัย และเป็นหนึ่งในสามนักการเมืองที่เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อครั้งก่อการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2514 ว่าเป็นการก่อกบฎ

บุญเกิด หิรัญคำ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มกราคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

ประวัติ

แก้

บุญเกิด เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

การทำงาน

แก้

บุญเกิด เริ่มทำงานการเมืองโดยสมัครรับเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2515 เขาได้ร่วมกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน และ นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ เป็นโจทย์ยื่นฟ้องคณะปฏิวัติ ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติกับพวกอีกรวม 17 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาหาว่าเป็นกบฏ อ้างในฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกได้ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและขู่เข็ญประชาชนชาวไทย เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลพิจารณาลงโทษตามกฎหมาย แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาทั้ง 3 คน กลับถูกคณะผู้มีอำนาจลงโทษจำคุก 7 ปี จนกระทั่งต่อมาในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ทั้ง 3 คน[1][2]เขาจำคุกระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 36/2515 และออกจากคุกวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2517 ตามพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2515 พ.ศ. 2517[3]

ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคอธิปัตย์ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่ง[5] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

นายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคก้าวหน้า และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนแรก[6]

บุญเกิด ได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

บุญเกิด หิรัญคำ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคอธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคความหวังใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต พรรคประชาธิปัตย์ (กรุงเทพ, พ.ศ. 2548) ISBN 9749353501
  2. "อดีต รมช.คมนาคม" ดับคาโรงแรม เผยประวัติเป็นนักต่อสู้ ฟ้องหัวหน้าคณะปฏิวัติ
  3. พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  5. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคก้าวหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-01.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓