บึ้งน้ำเงิน
บึ้งน้ำเงิน (อังกฤษ: cobalt blue tarantula; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyriopagopus lividus) เป็นสปีชีส์หนึ่งของแมงมุมทารันทูล่า ในวงศ์ Theraphosidae ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า และประเทศไทย[2] เดิมถูกอธิบายภายใต้ชื่อทวินามว่า Haplopelma lividum
บึ้งน้ำเงิน | |
---|---|
บึ้งน้ำเงินในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
ขาดข้อมูล (กรุณาคัดลอกจากหน้านี้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มาที่หน้านี้): ขาดแม่แบบอนุกรมวิธาน ทำตามขั้นตอนด้านบนเพื่อสร้าง |
Tetrapulmonata |
อันดับ: | แมงมุม Araneae |
อันดับฐาน: | Mygalomorphae Mygalomorphae |
วงศ์: | Theraphosidae Theraphosidae |
สกุล: | Cyriopagopus Cyriopagopus (Smith, 1996)[1] |
สปีชีส์: | Cyriopagopus lividus |
ชื่อทวินาม | |
Cyriopagopus lividus (Smith, 1996)[1] | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
คำอธิบาย
แก้บึ้งน้ำเงินเป็นแมงมุมทารันทูล่าขนาดกลางที่มีช่วงขายาวประมาณ 13 เซนติเมตร (5.1 นิ้ว) มีลักษณะเด่นคือขามีสีเหลือบฟ้าและมีช่วงลำตัวส่วนหน้าและลำตัวส่วนหลังที่มีสีเทาอ่อน มาอาจมีแถบตัววีสีเทาเข้มกว่า[3] บึ้งน้ำเงินเพศผู้และเพศเมียจะมีลักษณะที่คล้ายกันจนกระทั่งถึงช่วงลอกคราบครั้งสุดท้ายของเพศผู้ เมื่อถึงจุดนี้ เพศผู้จะแสดงความแตกต่างระหว่างเพศ เช่น มีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองส้มอมแดง และมีขาที่เรียวยาว นอกจากนี้ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศ บนก้านขากรรไกรและขาปล้องที่สี่แอโพไฟซิส (tibial apophyses) และในท้ายที่สุดบึ้งน้ำเงินเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้และมีอายุขัยที่ยาวกว่า[4] บึ้งน้ำเงินเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมดำรงชีวิตอยู่ใต้ดิน และจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโพรงลึก พิษของแมงมุมทารันทูล่าไม่เพียงพอที่จะฆ่ามนุษย์ได้ แต่สามารถกัดมนุษย์ได้อย่างแรงและเจ็บปวดอย่างมาก ในพิษจะมีกรดกลูตามิกที่ร้อยละ 0.97 และตรวจพบฮีสตามีนและอะดีโนซีนที่ร้อยละ 0.14 และ 0.10 ตามลำดับ โดยตรวจพบสารโพลีเอมีนสเปอร์มีนในปริมาณเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.002 (Moore et al., 2009)
-
บึ้งน้ำเงินเพสเมีย (ด้านซ้าย) และเพศผู้ (ด้านขวา) กำลังเกี้ยวกันในกรงเลี้ยง
-
ลูกของบึ้งน้ำเงิน
ที่อยู่อาศัย
แก้บึ้งน้ำเงินอาศัยอยู่ในป่าฝนเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5] ซึ่งบึ้งน้ำเงินสร้างโพรงลึกอาศัย และโดยทั่วไปบึ้งน้ำเงินจะออกจากโพรงเพื่อหาอาหารเท่านั้น
การนำมาเลี้ยง
แก้บึ้งน้ำเงินเป็นสัตว์ในอุตสาหกรรมการสัตว์เลี้ยง แม้ว่ามันจะเป็นแมงมุมทารันทูล่าที่รวดเร็วและป้องกันตัวได้ดีและมีพิษก็ตาม[6] การถูกกัดจากบึ้งสีน้ำเงินสามารถทำให้เกิดตะคริวและการอักเสบของกล้ามเนื้อได้[7]
เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWSC_s37470
- ↑ "บึ้งน้ำเงินเพชฌฆาต สวยประหารพันธุ์ดุ" [The killer cobalt blue tarantula, fierce femme fatale]. Thai Rath. 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
- ↑ Panecasio, Steph. "Scientists have figured out why some tarantulas are bright blue". CNET (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-16.
- ↑ "Cobalt Blue Tarantula".
- ↑ Smith, A. M. (1996). "A new species of Haplopelma (Araneae: Theraphosidae), with notes on two close relatives". Mygalomorph. 1: 21–32.
- ↑ Takaoka Makoto (2001). "Tarantulas Bite: Two Case Reports of Finger Bite from Haplopelma lividum". The Japanese Journal of Toxicology. 14 (3): 247–250. PMID 11692582.
- ↑ "Cobalt Blue Tarantula (Haplopelma lividum)". Keeping Exotic Pets. สืบค้นเมื่อ 2016-04-03.
Moore, S., Smyth, W. F., Gault, V., O’Kane, E., & McClean, S. (2009c). Mass spectrometric characterisation and quantitation of selected low molecular mass compounds from the venom of Haplopelma lividum (Theraphosidae). Rapid Communications in Mass Spectrometry, 23(12), 1747–1755. https://doi.org/10.1002/rcm.4063