บีเยินส์จาเนอ บีเยินซ็อน
บีเยินส์จาเนอ มัตตีนียึส บีเยินซ็อน (นอร์เวย์: Bjørnstjerne Martinius Bjørnson; 8 ธันวาคม พ.ศ. 2375 – 26 เมษายน พ.ศ. 2453) ชาวนอร์เวย์ เป็นทั้งกวี นักเขียนบทละคร นวนิยาย นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ ผู้กำกับการแสดงละคร และบุคคลที่มีชื่อเสียงโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้นของนอร์เวย์ โดยเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในสี่ของผู้ยิ่งใหญ่แห่งวรรณกรรมนอร์เวย์ยุคนั้น อีกสามคนคือ เฮ็นริก อิปเซิน (Henrik Ibsen) อาเล็กซันเดอร์ เช็ลลัน (Alexander Kielland) และยูนัส ลี (Jonas Lie) บทกวีของเขาชื่อ Ja, vi elsker dette landet (ใช่แล้ว เรารักแผ่นดินนี้) ยังถูกนำไปแต่งเป็นเพลงชาติของนอร์เวย์ด้วย บีเยินซ็อนได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ประจำปี พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903)
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2375 |
---|---|
เสียชีวิต | 26 เมษายน พ.ศ. 2453 |
อาชีพ | กวี นักประพันธ์ นักเขียนบทละคร |
สัญชาติ | นอร์เวย์ |
แนว | บทละคร |
ลายมือชื่อ |
บีเยินซ็อนเกิดทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ บิดาเป็นบาทหลวงลูเทอรัน มารดาเป็นบุตรสาวพ่อค้า เขาผละจากมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้ 20 ปี เพื่อมุ่งหน้าทำงานทางด้านวัฒนธรรม โดยเริ่มจากการเป็นนักวิจารณ์ละครเวทีเมื่ออายุได้ 26 ปีเขาแต่งงานกับนักแสดง มีลูกสองคน ชีวิตการเขียนนวนิยายของเขามีอยู่สองช่วง งานช่วงแรกสมัยอายุยี่สิบตอนปลาย เป็นเรื่องของชีวิตชาวไร่ในชนบท ส่วนนวนิยายที่เขียนในวัยห้าสิบขึ้นไป กล่าวถึงประเด็นทางสังคมและการเมืองมากขึ้น ในยุครุ่งเรือง เขาเขียนบทละคร บทกวี และบทความไว้จำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เข้าไปเกี่ยวพันกับการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและการเมือง อันทำให้เขาต้องถูกเนรเทศกลาย ๆ ซ้ำซ้อนหลายคราว ในทางการเมือง เขาเปลี่ยนจากแนวคิดชาตินิยมจัดมายึดหลักสังคมนิยม โดยทำงานด้านการสร้างความสงบและความเข้าใจระหว่างประเทศ บีเยินซ็อนต่างจากอิปเซินผู้เป็นสหาย เพราะเขาได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ. 2446 ทว่าชนรุ่นหลังกลับไม่คิดเช่นนั้น ในช่วงท้ายของชีวิตบีเยินซ็อนเป็นอัมพาตครึ่งตัว และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2453 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะอายุ 78 ปี
คำคม - Every joy you have you pay for with sorrow. (ทุกความสุขสันต์ ต้องชดใช้ด้วยความเศร้าโศก)
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติในเว็บไซต์ของประทรวงต่างประเทศนอร์เวย์ (ภาษาอังกฤษ)
ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย
แก้- ทางรถไฟและสุสาน (The railroad and the churchyard) เก็บถาวร 2005-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความขัดแย้งระหว่างสาธารณประโยชน์กับความทะเยอทะยานส่วนตัว และอันตรายของการที่ผู้นำมุ่งพัฒนาอย่างไร้หลักการ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด และพุ่งเป้าไปที่การยกฐานะอิทธิพลของตนเป็นใหญ่
- บิดา (The father) เก็บถาวร 2005-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หัวอกผู้เป็นพ่อ
บทความนี้ นำข้อความบางส่วนหรือทั้งหมด มาจากเว็บไซต์ วรรณกรรมดอตคอม เก็บถาวร 2005-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์ดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์