น้ำประสานทอง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ เป็นสารประกอบที่สำคัญของโบรอน ชื่อทางเคมี โซเดียมโบเรท ชื่อสามัญ น้ำประสานทอง หรือผงเนื้อกรอบ หรือเพ่งแซ เมื่อถ้าอยู่ในรูปผลึกบริสุทธิ์จะไม่มีสี ถ้านำไปเผาต่อจนไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุลจะเรียกน้ำประสานทองสะตุ เป็นผงมีสีขาว ละลายน้ำได้ง่าย มีรสขมเล็กน้อย
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
disodium;3,7-dioxido-2,4,6,8,9-pentaoxa-1,3,5,7-tetraborabicyclo[3.3.1]nonane;decahydrate[1]
| |
ชื่ออื่น
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
เคมสไปเดอร์ | |
EC Number | |
เลขอี | E285 (preservatives) |
KEGG | |
ผับเคม CID
|
|
RTECS number |
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
Na2B4O5(OH)4·8H2O | |
มวลโมเลกุล | 381.36 g·mol−1 |
ลักษณะทางกายภาพ | ของแข็งผลึกสีขาวหรือไม่มีสี |
ความหนาแน่น | 1.73 g/cm3 (decahydrate, solid)[2] |
จุดหลอมเหลว | 743 องศาเซลเซียส (1,369 องศาฟาเรนไฮต์; 1,016 เคลวิน) (anhydrous)[2] 75 °C (decahydrate, decomposes)[2] |
จุดเดือด | 1,575 องศาเซลเซียส (2,867 องศาฟาเรนไฮต์; 1,848 เคลวิน) (anhydrous)[2] |
31.7 g/L [2] | |
−85.0·10−6 cm3/mol (anhydrous)[2]: p.4.135 | |
ดัชนีหักเหแสง (nD)
|
n1=1.447, n2=1.469, n3=1.472 (decahydrate)[2]: p.4.139 |
โครงสร้าง[3] | |
Monoclinic, mS92, No. 15 | |
C2/c | |
2/m | |
a = 1.1885 nm, b = 1.0654 nm, c = 1.2206 nm α = 90°, β = 106.623°°, γ = 90°
| |
ปริมาณแลตทิซ (V)
|
1.4810 nm3 |
หน่วยสูตร (Z)
|
4 |
เภสัชวิทยา | |
S01AX07 (WHO) | |
ความอันตราย | |
GHS labelling: | |
H360 | |
P201, P308+P313 | |
NFPA 704 (fire diamond) | |
NIOSH (US health exposure limits): | |
PEL (Permissible)
|
ไม่มี[4] |
REL (Recommended)
|
TWA 1 mg/m3 (anhydrous and pentahydrate)[4][5] TWA 5 mg/m3 (decahydrate)[6] |
IDLH (Immediate danger)
|
N.D.[4] |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
แอนไอออนอื่น ๆ
|
Sodium aluminate |
แคทไอออนอื่น ๆ
|
Lithium tetraborate |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
Boric acid, sodium perborate |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
การใช้งาน
แก้บอแรกซ์เป็นสารสีขาวเป็นผงหรือที่เรียกว่าโซเดียมบอเรต โซเดียมเตตระบอเรตหรือไดโซเดียมเตตระบอเรต มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะน้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือนและสารเพิ่มคุณภาพสำหรับน้ำยาซักผ้า เป็นส่วนผสมของโบรอน โซเดียม และออกซิเจน และมีการใช้ในการเชื่อมทองตามชื่อน้ำประสานทอง
บอแรกซ์ที่ใช้ในฐานะน้ำประสานทองจะพบได้ในธรรมชาติ มีมากในประเทศอินเดีย เนปาล ทิเบต และจีน ส่วนที่ใช้ในไทย นำเข้ามาจาก 2 แหล่ง คือ จากอินเดีย เรียก น้ำประสานทองเทศ และ จากจีน เรียก น้ำประสานทองจีน ซึ่งในการทำทองรูปพรรณจะมีการใช้คุณสมบัติของสารเคมีชนิดหนึ่งมาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมทองคำบริสุทธิ์ให้เป็นเนื้อเดียวกัน สารเคมีตัวนั้น ก็คือ น้ำประสานทอง นั่นเอง
บอแรกซ์ถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารมาตั้งแต่ยุคโบราณ[8]โดยเฉพาะใช้ในการถนอมอาหาร บอแรกซ์สามารถใช้แทนเกลือแกงในกรณีที่ไม่ต้องการให้มีรสเค็ม เช่นใช้ดองไข่ปลาคาร์เวียร์เป็นต้น ชาวเอเชียบางประเทศนิยมใส่ในแป้งให้เหนียวกรุบ ใส่ในลูกชิ้นทำให้เนื้อเหนียวเด้ง ประวัติการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ยาวนานนับพันปี
บอแรกซ์จะมีลักษณะเป็นผลึกใสหรือเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ถ้านำไปผ่านความร้อนแบบรวดเร็วที่อุณหภูมิประมาณ 75 องศาเซลเซียสจะละลายกลายเป็นน้ำ แต่ถ้าเผาที่ความร้อน 350 องศาเซลเซียสจะไม่มีน้ำอยู่ในโมเลกุล เรียกว่า "น้ำประสานทองสะตุ" การนำน้ำประสานทองไปสะตุในอุณหภูมิที่สูงโดยตั้งเตาด้วยแกลบ จุดไฟและเผาผ่านหม้อดิน หรือการก่อไฟด้วยแกลบ จะให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงมาก แต่หากสะดวกจะใช้ถ่าน หรือเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้
การใช้สารบอแรกซ์ในครัวเรือน
แก้สารบอแรกซ์มีประโยชน์หลายอย่างในตัวมันเอง แถมยังเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ต่อไปนี้คือการใช้ผงบอแรกซ์และบอแรกซ์บริสุทธิ์ในน้ำ
- ยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงสาบและป้องกันมอด (สารละลาย 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับผ้าขนสัตว์)
- ยาฆ่าเชื้อรา
- สารกำจัดวัชพืช
- สารดูดความชื้น
- น้ำยาซักผ้า
- น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน
- น้ำยาปรับสภาพน้ำ
- วัตถุเจือปนอาหารเป็นสารกันบูด (ห้ามในบางประเทศ)
บอแรกซ์เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ได้แก่:
- บัฟเฟอร์โซลูชั่น
- สารหน่วงไฟ
- ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน
- แก้ว เซรามิก และเครื่องปั้นดินเผา
- เคลือบอีนาเมล
- สารตั้งต้นของกรดบอริก
- โครงงานวิทยาศาสตร์ เช่น ไฟสีเขียวเมือกและผลึกบอแรกซ์
- เคมีวิเคราะห์ บอแรกซ์บีดทดสอบ
- ฟลักซ์สำหรับเชื่อมเหล็กและเหล็กกล้า
- เชื่อมทองคำ
ความเป็นพิษ
แก้การได้รับบอแรกซ์ต่อเนื่องอาจก่อการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ การทานบอแรกซ์อาจก่ออาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน, ปวดท้อง และ ท้องเสีย ผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและสมองได้แก่อาการปวดศีรษะและความเฉื่อยชา ในกรณีที่รุนแรงอาจพบผื่นแดงได้[9] ข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคอินโดนีเซีย (Indonesian Directorate of Consumer Protection) ระบุเตือนว่าบอแรกซ์อาจก่อมะเร็งตับได้หากมีการรับประทานบอแรกซ์ต่อเนื่องยาวนาน 5–10 ปี[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 PubChem. "Borax". pubchem.ncbi.nlm.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-27.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Haynes, William M., บ.ก. (2011). CRC Handbook of Chemistry and Physics (92nd ed.). CRC Press. ISBN 978-1439855119.
- ↑ Levy, H. A.; Lisensky, G. C. (1978). "Crystal structures of sodium sulfate decahydrate (Glauber's salt) and sodium tetraborate decahydrate (borax). Redetermination by neutron diffraction". Acta Crystallographica Section B. 34 (12): 3502–3510. Bibcode:1978AcCrB..34.3502L. doi:10.1107/S0567740878011504.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0057". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0059". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0058". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "Potential Commodities NFPA 704" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 17, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2018.
- ↑ "Boric Acid and Borax in Food". www.cfs.gov.hk.
- ↑ Reigart, J. Routt (2009). Recognition and Management of Pesticide Poisonings (5th Ed. ) (ภาษาอังกฤษ). DIANE Publishing. p. 76. ISBN 978-1-4379-1452-8. สืบค้นเมื่อ 4 June 2020.
- ↑ "Watch Out For The Food We Consume". Directorate of Consumer Protection, Jakarta, Indonesia. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2008. สืบค้นเมื่อ February 10, 2009.