บล็อกบัสเตอร์

บริษัทให้เช่าวิดีโอสัญชาติอเมริกันที่เลิกกิจการแล้ว

บล็อกบัสเตอร์ (อังกฤษ: Blockbuster, ชื่อทางการ บริษัท บล็อกบัสเตอร์ จำกัด (Blockbuster LLC)) มีอีกชื่อว่า บล็อกบัสเตอร์วิดีโอ (Blockbuster Video)[5] เป็นบริการให้เช่าวิดีโอสัญชาติสหรัฐ โดยหลักบริการให้เช่าวิดีโอ แต่ภายหลังได้รวมบริการดีวีดีผ่านไปรษณีย์, สตรีมมิง, วีดิทัศน์ตามคำขอ และห้องฉายภาพยนตร์[6] อดีตดำเนินการภายใต้บริษัท Blockbuster Entertainment, Inc.[7] บริษัทนี้ขยายกิจการในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยในช่วงสูงสุดใน ค.ศ. 2004 บล็อกบัสเตอร์มีร้านจำหน่ายถึง 9,094 แห่งและพนักงานประมาณ 84,300 คน แบ่งออกเป็นในสหรัฐ 58,500 คน และประเทศอื่น ๆ 25,800 คน

บล็อกบัสเตอร์
ประเภทบริษัทสาขา
การซื้อขาย
NYSE: BBI (1999–2010)[1][2]
แม่แบบ:OTC Expert
แม่แบบ:OTC Expert
(BB Liquidating Inc.)
ก่อตั้ง19 ตุลาคม ค.ศ. 1985 (1985-10-19)[3]
แดลลัส รัฐเท็กซัส สหรัฐ
ผู้ก่อตั้งเดวิด คุก[3]
เลิกกิจการ23 กันยายน ค.ศ. 2010 (2010-09-23) (บริษัทเดิม)
พฤศจิกายน 6, 2013; 11 ปีก่อน (2013-11-06) (ส่วนองค์กรของดิช)
12 มกราคม ค.ศ. 2014 (2014-01-12) (ร้านที่ถือครองโดยบริษัท)
สาเหตุล้มละลาย, ชำระบัญชี, จำกัดการใช้ชื่อแบรนด์ในสหรัฐ
ถัดไปสลิงทีวี
ดิชมูฟวีแพ็ก
สำนักงานใหญ่
จำนวนที่ตั้ง1 แห่ง, เบนด์, รัฐออริกอน, สหรัฐ (เอกชนถือครอง, แฟรนไชส์)[a]
บริการให้เช่าวิดีโอ
(VHS, Betamax, LaserDisc, DVD, Ultra HD Blu-ray, Blu-ray)
วีดิทัศน์ตามคำขอ
รายได้ลดลง 3.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2010)
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง −78.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2010)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น −268 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2010)
สินทรัพย์ลดลง 1.183 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2010)
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง −582.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2010)
พนักงาน
84,300 คน (2004)
25,000 คน (2010)
3 คน (2019)[4]
บริษัทแม่Viacom (1994–2004)
ดิชเน็ตเวิร์ก (2011–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์www.blockbuster.com

ปัจจัยหลักที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของบล็อกบัสเตอร์คือภาวะผู้นำไม่ดีกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ ในขณะที่คู่แข่งอย่างเน็ตฟลิกซ์เติบโตมากขึ้น บริษัทเสียรายได้มากสุดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 และล้มละลายใน ค.ศ. 2010[8][9] ร้านที่เหลือ 1,700 แห่งถูกซื้อกิจการจากผู้ให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมดิชเน็ตเวิร์กในปีถัดมา[10][11] และร้านที่บริษัทถือครอง 300 แห่งสุดท้ายปิดตัวลงใน ค.ศ. 2014[12] ถึงแม้ว่าการสนับสนุนของแบรนด์สิ้นสุดลงแล้ว ทางดิชยังคงเก็บรักษาสัญญาแฟรนไชส์จำนวนเล็กน้อย ทำให้แฟรนไชส์ของเอกชนบางส่วนยังคงเปิดต่อไป ภายหลังมีร้านบางส่วนปิดกิจการ โดยล่าสุดมีร้านที่ปิดกิจการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียเมื่อ ค.ศ. 2019[13] คงเหลือเพียงร้านเดียวที่ยังคงเปิดในชื่อแฟรนไชส์นี้ที่เบนด์ รัฐออริกอน สหรัฐ[14][15][16][17][18][19]

หมายเหตุ

แก้
  1. ลดลงจาก 9,094 แห่งใน ค.ศ. 2004

อ้างอิง

แก้
  1. "Blockbuster releases IPO". CNNMoney. August 10, 1999. สืบค้นเมื่อ March 27, 2018.
  2. "Blockbuster Stock Trading Halted". The Street. July 1, 2010. สืบค้นเมื่อ March 27, 2018.
  3. 3.0 3.1 Hyatt, Joshua (July 1, 2003). "He Began Blockbuster. So What? David Cook created a household name, but he refuses to become one". CNN Money. สืบค้นเมื่อ January 23, 2014.
  4. Harding, Sandi (May 17, 2019). "Experience: I manage the last Blockbuster in the world". The Guardian. สืบค้นเมื่อ May 17, 2019.
  5. Stephen, Bijan (2018-08-29). "The last Blockbuster: what we really lose when video stores shut down". The Verge. สืบค้นเมื่อ 2019-04-19.
  6. "Blockbuster opening Mexico multiplex". IMDb.
  7. "Blockbuster's Entertainment Store!". website home page. Wayback Machine. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 25, 2013. สืบค้นเมื่อ November 7, 2013. Blockbuster name, design and related marks are trademarks of Blockbuster Entertainment Inc. © 1987, 1996 Blockbuster Entertainment Inc. All Rights Reserved. Developed by Blockbuster Technology – Online Group and Viacom Interactive Services.
  8. "Blockbuster LLC Chapter 11 Petition" (PDF). PacerMonitor. PacerMonitor. สืบค้นเมื่อ May 9, 2016.
  9. "Blockbuster Reaches Agreement on Plan to Recapitalize Balance Sheet and Substantially Reduce its Indebtedness" (Press release). Blockbuster. September 23, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2018. สืบค้นเมื่อ September 23, 2010.
  10. Fritz, Ben (April 7, 2011). "Dish Network wins bidding for assets of bankrupt Blockbuster". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 2, 2011.
  11. "DISH Network Completes Acquisition of Blockbuster Assets". DishNetwork.MediaRoom.com. April 26, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2015. สืบค้นเมื่อ June 16, 2011.
  12. "Blockbuster to Close Remaining 300 Stores in U.S." The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). November 6, 2013. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  13. "Australia's last Blockbuster store in Morley, WA closing its doors". The West Australian. March 1, 2019. สืบค้นเมื่อ March 1, 2019.
  14. "The Sad End Of Blockbuster Video: The Onetime $5 Billion Company Is Being Liquidated As Competition From Online Giants Netflix And Hulu Prove All Too Much For The Iconic Brand". International Business Times. December 5, 2013.
  15. Clifford, Stephanie (April 8, 2011). "Other Retailers Find Ex-Blockbuster Stores Just Right". The New York Times.
  16. "Form 10-K". www.sec.gov. สืบค้นเมื่อ June 7, 2017.
  17. "Blockbuster to end late fees in 2005". December 14, 2004. สืบค้นเมื่อ July 13, 2018.
  18. Gourarie, Chava (15 April 2020). "The Last Blockbuster on Earth Is Still Open". Commercial Observer. © 2020 Observer Media. สืบค้นเมื่อ 3 May 2020.
  19. Zak, Annie (July 12, 2018). "Alaska's last 2 Blockbuster stores are closing, leaving just one in the U.S." Anchorage Daily News. สืบค้นเมื่อ August 29, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้