โบโรบูดูร์
โบโรบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Borobudur) หรือ บาราบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Barabudur) มีชื่อเต็มว่า จันดีโบโรบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Candi Borobudur, ชวา: ꦕꦤ꧀ꦝꦶꦧꦫꦧꦸꦝꦸꦂ, อักษรโรมัน: Candhi Barabudhur) คนไทยรู้จักในชื่อ บรมพุทโธ[1] (Param Buddho) หรือ บุโรพุทโธ[2] เป็นวัดนิกายมหายานในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในอำเภอมาเกอลัง ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองมุนตีลันในจังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่โลก[3][4][5] ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 ชั้น โดยเป็นสี่เหลี่ยม 6 ชั้น และวงกลม 3 ชั้น บนยอดมีโดมตรงกลาง ตกแต่งด้วยภาพพิมพ์แนวนูน 2,672 ภาพ และพระพุทธรูป 504 องค์ โดมตรงกลางล้อมรอบด้วยพระพุทธรูป 72 องค์ แต่ละองค์ประดิษฐานข้างในสถูปที่ถูกเจาะรู[6]
โบโรบูดูร์ | |
---|---|
ชื่อในภาษาท้องถิ่น ꦧꦫꦧꦸꦝꦸꦂ (ชวา) | |
โบโรบูดูร์ แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก | |
ที่ตั้ง | มาเกอลัง จังหวัดชวากลาง |
สร้างเมื่อ | เดิมสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ |
บูรณะ | 1911 |
บูรณะโดย | Theodoor van Erp |
สถาปนิก | Gunadharma |
กลุ่มวัดโบโรบูดูร์ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
โบโรบูดูร์ | |
พิกัด | 7°36′28.6″S 110°12′14.6″E / 7.607944°S 110.204056°E |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (i), (ii), (vi) |
อ้างอิง | 592 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2534 (คณะกรรมการสมัยที่ 15) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
วัดนี้สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ โดยสร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมชวาที่ผสมกับประเพณีพื้นบ้านในการสักการะบรรพบุรุษของอินโดนีเซีย และแนวคิดนิพพานของศาสนาพุทธ[5] วัดนี้มีอิทธิพลศิลปะคุปตะ ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของอินเดียในภูมิภาคนี้[7] แต่ยังคงมีฉากและองค์ประกอบมากพอที่ยังทำให้โบโรบูดูร์มีความเป็นเอกลักษณ์แบบอินโดนีเซีย[8][9] อนุสรณ์นี้เป็นเจดียสถานแก่พระโคตมพุทธเจ้าและเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธ ผู้แสวงบุญจะเริ่มต้นที่ฐานอนุสรณ์และเดินตามเส้นทางรอบ ๆ อนุสรณ์ แล้วขึ้นไปข้างบนผ่านจักรวาลวิทยาแบบพุทธ 3 ชั้น: กามธาตุ (โลกแห่งความต้องการ), รูปธาตุ (โลกของรูปร่าง) และ อรูปธาตุ (โลกที่ไร้รูปร่าง)
มีหลักฐานชี้แนะว่าโบโรบูดูร์ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และถูกทอดทิ้งไปหลังอาณาจักรฮินดูในชวาเสื่อมถอยลงและชาวชวาหันไปเข้ารับอิสลามหลังคริสต์ศตวรรษที่ 14[10] การมีตัวตนของสถานที่เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกใน ค.ศ. 1814 โดยเซอร์ ทอมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ตอนยังเป็นผู้ปกครองชวาของอังกฤษ โดยนำข้อมูลวัดมาจากชาวอินโดนีเซียท้องถิ่น[11] โบโรบูดูร์ได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งใหญ่ที่สุดเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1975 ถึง 1982 โดยรัฐบาลอินโดนีเซียและยูเนสโก ตามมาด้วยการจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[5]
โบโรบูดูร์เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับพุกามในประเทศพม่า และนครวัดในประเทศกัมพูชา โบโรบูดูร์ยังคงเป็นจุดแสวงบุญยอดนิยม โดยชาวพุทธในอินโดนีเซียฉลองวันวิสาขบูชาที่อนุสรณ์นี้ โบโรบูดูร์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของประเทศ[12][13][14]
ประวัติ
แก้โบโรบูดูร์สร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก สร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 123 เมตร เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม สามวงกลมยอดโดมกลางและบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป มหาสถูปมีการตกแต่งด้วยภาพสลัก 2672 ชิ้น และ รูปปั้นพระพุทธรูป 504 องค์ โดมกลางล้อมรอบด้วย 72 รูปปั้นพระพุทธรูปแต่ละนั่งองค์อยู่ภายในสถูปเจาะรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่รอบล้อมสถูปเจดีย์ประธานด้านบนสุด. มีภาพสลักหินเล่าถึง 1460 เรื่องที่แสดงถึงชีวิตของพระพุทธเจ้าและข้อความทางพุทธศาสนาที่จารึกไว้ตามแกลเลอรี 1, 2, 3 และ 4 ของวัด.[15]
ในชั้นบนสุดของโบโรบูดูร์ ที่ถือว่าเป็นส่วนยอดสุดของวิหาร มีลักษณะเป็นฐานวงกลมใหญ่ของเจดีย์องค์ประธาน เวลาที่มองมาจากที่ไกล จะเห็นเป็นเหมือนดอกบัวขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่กลางหุบเขา ไม่พบภาพสลักใด ๆ ปรากฏอยู่เหมือนพ้นจากความต้องการทุกสิ่งทุกอย่าง มีผู้อุปมาภาพที่ปรากฏนี้ว่า แสดงถึงการหลุดพ้นจากทุกสรรพสิ่งในโลกหรือที่เรียกว่านิพพาน อันเป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธ
มรดกโลก
แก้โบโรบูดูร์ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก สมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดโบโรบูดูร์" เมื่อ พ.ศ. 2534 ที่คาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ บรมพุทโธ มหัศจรรย์เจดีย์ แห่งชวา https://travel.mthai.com/world-travel/64845.html เก็บถาวร 2020-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "มหัศจรรย์ "บุโรพุทโธ" พุทธสถานในแดนอิเหนา". ผู้จัดการออนไลน์. 31 พ.ค. 2558. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Largest Buddhist temple". Guinness World Records. Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ Purnomo Siswoprasetjo (4 July 2012). "Guinness names Borobudur world's largest Buddha temple". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2014. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Borobudur Temple Compounds". UNESCO World Heritage Centre. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 December 2008.
- ↑ Soekmono (1976), page 35–36.
- ↑ Rajarajan, R. K. K. "Rajarajan 2020 Borobudur et alii A Note on Place Names in Java". In Pedarapu Chenna Reddy, Ed., Heritage of Indian History, Culture, and Archaeology (Festschrift to Dr. M.D. Sampath), Vol. II, Art and Architecture. Delhi: B.R. Publishing Corporation (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Borobudur : A Wonder of Indonesia History". Indonesia Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2012. สืบค้นเมื่อ 5 April 2012.
- ↑ Le Huu Phuoc (April 2010). Buddhist Architecture. Grafikol. ISBN 9780984404308. สืบค้นเมื่อ 5 April 2012.
- ↑ Soekmono (1976), page 4.
- ↑ Hary Gunarto, Preserving Borobudur's Narrative Walls of UNESCO Heritage, Ritsumeikan RCAPS Occasional Paper, [1] October 2007
- ↑ Mark Elliott; และคณะ (November 2003). Indonesia. Melbourne: Lonely Planet Publications Pty Ltd. pp. 211–215. ISBN 1-74059-154-2.
- ↑ Mark P. Hampton (2005). "Heritage, Local Communities and Economic Development". Annals of Tourism Research. 32 (3): 735–759. doi:10.1016/j.annals.2004.10.010. ISSN 0160-7383.
- ↑ E. Sedyawati (1997). "Potential and Challenges of Tourism: Managing the National Cultural Heritage of Indonesia". ใน W. Nuryanti (บ.ก.). Tourism and Heritage Management. Yogyakarta: Gajah Mada University Press. pp. 25–35.
- ↑ การอนุรักษ์มรดกโลกและสมบัติทางวัฒนธรรมของบุโรพุทโธแบบดิจิทัลวารสารการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมริตูเมคัง, หริ ขนารโตะ (Hary Gunarto), Digital Preservation of Borobudur World Heritage and Cultural Treasures, Journal of Ritsumeikan Studies in Language and Culture, VOL 19, No 2, Kyoto, Nov. 2007, pp. 263-278. เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2020.
บรรณานุกรม
แก้- Peter Cirtek (2016). Borobudur: Appearance of a Universe. Hamburg: Monsun Verlag. ISBN 978-3-940429-06-3.
- Parmono Atmadi (1988). Some Architectural Design Principles of Temples in Java: A study through the buildings projection on the reliefs of Borobudur temple. Yogyakarta: Gajah Mada University Press. ISBN 979-420-085-9.
- Jacques Dumarçay (1991). Borobudur. trans. and ed. by Michael Smithies (2nd ed.). Singapore: Oxford University Press. ISBN 0-19-588550-3.
- Luis O. Gómez & Hiram W. Woodward, Jr. (1981). Barabudur: History and Significance of a Buddhist Monument. Berkeley: Univ. of California. ISBN 0-89581-151-0.
- John Miksic (1990). Borobudur: Golden Tales of the Buddhas. Boston: Shambhala Publications. ISBN 0-87773-906-4.
- Soekmono (1976). Chandi Borobudur: A Monument of Mankind (PDF). Paris: Unesco Press. ISBN 92-3-101292-4. สืบค้นเมื่อ 17 August 2008.
- R. Soekmono; J.G. de Casparis; J. Dumarçay; P. Amranand; P. Schoppert (1990). Borobudur: A Prayer in Stone. Singapore: Archipelago Press. ISBN 2-87868-004-9.
อ่านเพิ่ม
แก้- Luis O. Gomez & Hiram W. Woodward (1981). Barabudur, history and significance of a Buddhist monument. presented at the Int. Conf. on Borobudur, Univ. of Michigan, 16–17 May 1974. Berkeley: Asian Humanities Press. ISBN 0-89581-151-0.
- August J.B. Kempers (1976). Ageless Borobudur: Buddhist mystery in stone, decay and restoration, Mendut and Pawon, folklife in ancient Java. Wassenaar: Servire. ISBN 90-6077-553-8.
- John Miksic (1999). The Mysteries of Borobudur. Hongkong: Periplus. ISBN 962-593-198-8.
- Morton III, W. Brown (January 1983). "Indonesia Rescues Ancient Borobudur". National Geographic. 163 (1): 126–142. ISSN 0027-9358. OCLC 643483454.
- Adrian Snodgrass (1985). The symbolism of the stupa. Southeast Asia Program. Ithaca, N.Y.: Cornell University. ISBN 0-87727-700-1.
- Levin, Cecelia. "Enshrouded in Dharma and Artha: The Narrative Sequence of Borobudur's First Gallery Wall." In Materializing Southeast Asia's Past: Selected Papers from the 12th International Conference of the European Association of Southeast Asian Archaeologists, edited by Klokke Marijke J. and Degroot Véronique, 27-40. SINGAPORE: NUS Press, 2013. Accessed June 17, 2020. www.jstor.org/stable/j.ctv1qv3kf.7.
- Jaini, Padmanabh S. "The Story of Sudhana and Manoharā: An Analysis of the Texts and the Borobudur Reliefs." Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London 29, no. 3 (1966): 533-58. Accessed June 17, 2020. www.jstor.org/stable/611473.
- Shastri, Bahadur Chand. “THE IDENTIFICATION OF THE FIRST SIXTEEN RELIEFS ON THE SECOND MAIN-WALL OF BARABUDUR.” Bijdragen Tot De Taal-, Land- En Volkenkunde Van Nederlandsch-Indië, vol. 89, no. 1, 1932, pp. 173–181. JSTOR, www.jstor.org/stable/20770599. Accessed 24 Apr. 2020.
- SUNDBERG, JEFFREY ROGER. "Considerations on the Dating of the Barabuḍur Stūpa." Bijdragen Tot De Taal-, Land- En Volkenkunde 162, no. 1 (2006): 95-132. Accessed June 17, 2020. www.jstor.org/stable/27868287.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official site of Borobudur, Prambanan, and Ratu Boko Park
- UNESCO Site
- PBS page which talks about the hidden part of Borobudur, 160 reliefs buried.
- Borobudur Temple Compounds short documentary by UNESCO and NHK
- Wonderful Indonesia's Guide on Borobudur
- Learning From Borobudur documentary about Borobudur's bas-reliefs stories of Jatakas, Lalitavistara and Gandavyuha in YouTube
- Australian National University's research project on Borobudur เก็บถาวร 2014-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Analysis of Borobudur's hidden base
- Explore Borobudur on Global Heritage Network
- Photographs of Borobudur Stupa เก็บถาวร 2014-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Yogyakarta. Temple Ruins: Details of Sculpted Figures" is a photograph with commentary by Frank G. Carpenter.
- Wacana Nusantara
- Borobudur, Hening dalam Keagungan