น้ำมันแร่ เป็นส่วนผสมของแอลเคนที่สูงกว่า(higher alkanes) ที่ไร้สี ไร้กลิ่น และน้ำหนักเบา ซึ่งมาจากแหล่งแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากการกลั่นเชื้อเพลิงปิโตรเลียม[1] ซึ่งจะแตกต่างจากน้ำมันพืชที่สามารถบริโภคได้ทั่วไป

ขวดน้ำมันแร่ซึ่งถูกจำหน่ายในสหรัฐ

ชื่อของน้ำมันนั้นไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด เนื่องจากถูกใช้สำหรับน้ำมันหลายชนิดโดยเฉพาะในช่วงสองสามศตวรรษที่ผ่านมา ชื่ออื่น ๆ ไม่เป็นที่แน่ชัดเช่นเดียวกัน ได้แก่ น้ำมันขาว น้ำมันพาราฟิน ลิควิดพาราฟิน(เกรดทางการแพทย์ที่ผ่านการกลั่นสูง) พาราฟินัมลิควิดัม(ภาษาละติน) และลิควิกปิโตรเลียม เบบี้ ออยล์เป็นน้ำมันแร่ที่มีกลิ่นหอม

โดยส่วนมาก น้ำมันแร่เป็นของเหลวที่เป็นผลผลิตพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อผลิตน้ำมันเบนซินและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่น ๆ น้ำมันแร่ชนิดนี้เป็นน้ำมันที่ไร้สี และโปร่งใส ซึ่งประกอบไปด้วยแอลเคน[2] และไซโคลแอลเคนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมเจลลี มันมีความหนาแน่นประมาณ 0.8–0.87 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (0.029–0.031 ปอนด์ต่อลูกบาศก์นิ้ว)[3]

การประยุกต์ใช้งาน

แก้

ทางชีวเวช

แก้

ยาระบาย

แก้

น้ำมันแร่ ถูกใช้เป็นยาระบายเพื่อบรรเทาอาการท้องผูกโดยกักเก็บน้ำไว้ในอุจจาระและลำไส้[4] แม้ว่าโดยทั่วไปถือว่าปลอดภัย แต่กลับมีข้อกังวลในเรื่องการสูดดมควันที่นำไปสู่ภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรง เช่น โรคปอดบวม[5]

น้ำมันแร่ สามารถให้ได้ทางปาก[6] หรือทางทวารหนัก[7] บางครั้งถูกใช้เป็นสารหล่อลื่นในการเตรียมพร้อมการสวนทวาร เพราะสารที่กินเข้าไปส่วนใหญ่จะถูกขับออกจากทางอุจจาระมากกว่าร่างกายจะดูดซึม[8]

สารหล่อลื่นส่วบุคคล

แก้

ได้รับการแนะนำโดยชมรมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์อเมริกัน(ASRM) เพื่อใช้เป็นสารหล่อลื่นในช่องคลอดเพื่อรักษาภาวะเจริญพันธุ์[9] อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันดีว่า น้ำมันทำให้ถุงยางอนามัยนั้นเสื่อมคุณภาพ[10]

การเพาะเลี้ยงเซลล์

แก้

การรักษาสัตว์

แก้

เครื่องสำอาง

แก้

เครื่องจักรกล ไฟฟ้า และอุตสาหกรรม

แก้

การเตรียมอาหาร

แก้

การใช้งานอื่น ๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Mineral oil (Dictionary.com) เก็บถาวร 30 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Opinion of the Scientific Panel on Food Additives, Flavourings, Processing Aids and Materials in Contact with Food (AFC) on a request from the Commission related the use of mineral oils in jute and sisal bags" (PDF). The EFSA Journal. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 June 2018. สืบค้นเมื่อ 2007-01-27.
  3. "Mechanical properties of materials". Kaye and Laby Tables of Physical and Chemical Constants. National Physical Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  4. "Drugs & Medications".
  5. Weinstein, M. (2001). "First do no harm: The dangers of mineral oil". Paediatrics & Child Health. 6 (3): 129–131. doi:10.1093/pch/6.3.129. PMC 2804525. PMID 20084222.
  6. "Mineral Oil". Drugs & Medications. WebMD. สืบค้นเมื่อ 2019-04-20.
  7. "Mineral Oil rectal enema". Health Library / Drugs, Devices & Supplements. Cleveland Clinic. สืบค้นเมื่อ 2019-04-20.
  8. WHO Food Additive Monograph 70.39 เก็บถาวร 6 สิงหาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 20 Sep 2009
  9. "Optimizing Natural Fertility" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-11-11.
  10. Voeller, B; Coulson, A. H.; Bernstein, G. S.; Nakamura, R. M. (1989). "Mineral oil lubricants cause rapid deterioration of latex condoms". Contraception. 39 (1): 95–102. doi:10.1016/0010-7824(89)90018-8. PMID 2535978.