นิวเคลียสมีหาง
นิวเคลียสมีหาง[1] (อังกฤษ: caudate nucleus) เป็นนิวเคลียสในปมประสาทฐาน (basal ganglia) ในสมองของสัตว์หลายประเภท มีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ
Brain: นิวเคลียสมีหาง (Caudate nucleus) | ||
---|---|---|
สมองผ่าด้านขวาง (Transverse หรือ Horizontal Section) ปมประสาทฐาน (basal ganglia) มีสีน้ำเงิน | ||
Latin | nucleus caudatus | |
Gray's | subject #189 833 | |
NeuroNames | hier-208 | |
MeSH | Caudate+Nucleus | |
NeuroLex ID | birnlex_1373 |
กายวิภาค
แก้นิวเคลียสมีหางอยู่ใกล้ศูนย์กลาง (medial) ของสมอง อยู่คร่อมทาลามัส มีอยู่ในซีกทั้งสองของสมอง นิวเคลียสแต่ละตัวมีรูปร่างคล้ายอักษรโรมัน C มีหัวใหญ่ (อังกฤษ: head caput) ด้านหน้า และมีตัว (อังกฤษ: body corpus) กับหาง (อังกฤษ: tail cauda) ที่เล็กลงมาตามลำดับ บางส่วนของนิวเคลียสมีหางบางครั้งเรียกว่า "หัวเข่า" (อังกฤษ: knee genu)[2]
หัวและตัวของนิวเคลียสมีหางรวมกันเป็นปีกหน้าส่วนด้านล่างของ lateral ventricle หลังจากลำตัวที่ยื่นออกไปด้านหลังศีรษะสักระยะหนึ่ง ส่วนหางก็ม้วนกลับมาด้านหน้า กลายเป็นปีกล่างส่วนเพดานของ lateral ventricle ซึ่งหมายความว่าการผ่าแบ่งหน้าหลัง (coronal) ที่ตัดผ่านส่วนหาง ก็ย่อมจะตัดผ่านตัวและหัวของนิวเคลียสมีหางด้วย
นิวเคลียสมีหางมีความสัมพันธ์ทางกายวิภาคกับโครงสร้างอื่นหลายอย่าง คือ มีการแบ่งออกจากนิวเคลียสรูปเลนส์ (lenticular nucleus) (ซึ่งประกอบด้วย globus pallidus และ putamen) โดยปีกด้านหน้าของ internal capsule และเมื่อประกอบพร้อมกับ putamen ก็จะรวมกันเป็น striatum ด้านหลัง
เคมีประสาท
แก้นิวเคลียสมีหางรับการเชื่อมต่ออย่างหนาแน่นมาจากนิวรอนที่ส่งสัญญาณโดยสารโดพามีน ซึ่งมีกำเนิดหลักใน ventral tegmental area และ substantia nigra pars compacta นอกจากนั้นแล้วยังมีการเชื่อมต่อมาจากคอร์เทกซ์สัมพันธ์ (association cortices)
หน้าที่การงาน
แก้การเรียนรู้และความทรงจำ
แก้โดยประวัติแล้ว ปมประสาทฐาน (basal ganglia) โดยรวมๆ มีบทบาทในการควบคุมการเคลื่อนไหว[3] และโดยเป็นส่วนหนึ่งของปมประสาทฐาน นิวเคลียสมีหางในยุคแรกๆ ได้รับการสันนิษฐานว่ามีบทบาทหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวภายใต้อำนาจจิตใจ (หรือโดยสมัครใจ) แต่ในเร็วนี้ๆ งานวิจัยได้แสดงว่า นิวเคลียสมีหางมีบทบาทอย่างสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการประมวลฟี้ดแบ็กที่ได้รับ[5] คือว่า โดยทั่วๆ ไป การทำงานทางประสาทจะปรากฏในนิวเคลียสมีหางเมื่อบุคคลนั้นกำลังรับฟี้ดแบ็ก ผู้มีภาวะ hyperthymesia[6] ปรากฏว่ามีขนาดของนิวเคลียสมีหางและสมองกลีบขมับที่ใหญ่กว่าปกติ[7]
อารมณ์ความรู้สึก
แก้นิวเคลียสมีหางตอบสนองเมื่อบุคคลประสบกับสุนทรียภาพทางตา จึงมีการเสนอว่าเป็น "ประสาทสัมพันธ์ของความรัก" (neural correlates of romantic love)[8][9]
การเข้าใจภาษา
แก้นิวเคลียสมีหางในสมองซีกซ้ายรับการเสนอว่า มีความสัมพันธ์กับทาลามัสที่ควบคุมความเข้าใจคำศัพท์ และการออกเสียงคำศัพท์ เพราะว่า เขตที่ทำงานในนิวเคลียสมีหางเปลี่ยนไปเมื่อบุคคลนั้นเปลี่ยนไปใช้อีกภาษาหนึ่ง[10][11]
การควบคุมขีดเริ่มเปลี่ยน
แก้สมองมีเซลล์ประสาทเป็นจำนวนมากซึ่งมีการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันเป็นไซแนปส์แบบเร้า (excitatory synapses) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่มีส่วนประกอบที่มีการป้อนกลับเชิงบวก ดังนั้น เป็นความยากที่ระบบเช่นนี้จะดำเนินงานไปได้โดยไม่มีกลไกที่ป้องกันการส่งสัญญาณที่มากเกินไป มีหลักฐานโดยปริยาย[12]ว่า นิวเคลียสมีหางอาจมีบทบาทในการควบคุมการส่งสัญญาณในระบบประสาท ทำงานโดยวัดการทำงานอย่างรวมๆ ในเปลือกสมองแล้วควบคุมศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยน[13]
บทบาทในโรคย้ำคิดย้ำทำ
แก้มีการสันนิษฐานว่า นิวเคลียสมีหางอาจทำงานผิดผลาดในบุคคลมีโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorder) คืออาจจะไม่สามารถควบคุมการส่งข้อมูลของประสบการณ์หรือความคิดที่ก่อให้เกิดความกังวลระหว่างทาลามัสและ orbitofrontal cortex เพราะว่า งานวิจัยที่ทำภาพสมองด้วยโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟีพบว่า นิวเคลียสมีหางของสมองซีกขวามีระดับความเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญกลูโคส (glucose metabolism) มากที่สุดเมื่อคนไข้ทานยา paroxetine (เป็นยาบรรเทาโรคซึมเศร้าและโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นต้น)[14]
นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยเร็วนี้ๆ ซึ่งเปรียบเทียบคนไข้โรคย้ำคิดย้ำทำและกลุ่มควบคุมที่ปกติพบว่า คนไข้มีปริมาตรเนื้อเทาที่เพิ่มขึ้นในนิวเคลียสรูปเลนส์ (lenticular nucleus) และในนิวเคลียสมีหาง ในซีกสมองทั้งสองข้าง ในขณะที่ปริมาตรเนื้อเทาของ medial frontal gyrus และ/หรือ anterior cingulate gyrus กลับลดลง[15][16]
ปรากฏการณ์นี้แตกต่างจากคนไข้โรควิตกกังวลประเภทอื่นๆ ผู้มีปริมาตรเนื้อเทาลดลง (แทนที่จะเพิ่ม) ในนิวเคลียสรูปเลนส์และนิวเคลียสมีหางของซีกสมองทั้งสองข้าง และปริมาตรเนื้อเทาของ medial frontal gyrus และ/หรือ anterior cingulate gyrus ก็ลดลงเช่นกัน[16]
ภาพต่างๆ
แก้-
แผนผังของฮิปโปแคมปัส
-
แผนผังแสดงประเภทหลักของปมประสาท (ganglionic categories I to V)
-
ก้านสมองจากด้านข้าง (lateral)
-
ก้านสมองผ่าออก จากด้านข้าง (lateral)
-
ก้านสมองผ่าลึก จากด้านข้าง (lateral)
-
ก้านสมองผ่าลึก จากด้านข้าง (lateral)
-
ก้านสมองจากด้านท้อง (ventral)
-
ก้านสมองผ่าออก จากด้านท้อง (ventral)
-
่สมองผ่าแสดงโพรงสมอง (ventricle)
-
สมองผ่าแบ่งหน้าหลัง (coronal) หน้า pons
-
สมองผ่าแบ่งหน้าหลัง ผ่าน intermediate mass ของ โพรงสมองที่สาม
-
สมองผ่าแบ่งหน้าหลังของ lateral and third ventricles
-
สมองผ่าแสดงผิวด้านบนของสมองกลีบขมับ
-
Central part and anterior and posterior cornua of lateral ventricles exposed from above.
-
รูปจำลอง 2 รูปของ striatum ในสมองซีกขวา: A, ด้านข้าง (lateral); B, ด้านใน (medial)
-
สมองผ่าหน้าหลัง (coronal) ผ่าน anterior horn of lateral ventricle
-
สมองผ่าหน้าหลัง (coronal) ผ่าน anterior commissure
-
สมองผ่าหน้าหลัง (coronal) ของ inferior horn of lateral ventricle
-
สมองมนุษย์ตัดซีกซ้ายออก ระนาบแบ่งครึ่งซ้ายขวา (midsagittal)
-
สมองมนุษย์ตัดซีกซ้ายออก ด้านข้าง (lateral)
-
นิวเคลียสมีหาง
-
นิวเคลียสมีหาง
หมายเหตุและอ้างอิง
แก้- ↑ "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ caudate ว่า "มีหาง"
- ↑ E. H. Yeterian, D. N. Pandya, "Corticostriatal connections of extrastriate visual areas in rhesus monkeys," The Journal of Comparative Neurology 352(3):436-457, 1995. PMID: 7706560
- ↑ S. A. Kinnier Wilson (May 1914). "An experimental research into the anatomy of the corpus striatum". Brain. 36 (3–4): 427–492. doi:10.1093/brain/36.3-4.427.
- ↑ Graybiel AM (2005) The basal ganglia: learning new tricks and loving it. Curr Opin Neurobiol 15:638-644.
- ↑ Packard MG, Knowlton BJ (2002) Learning and memory functions of the Basal Ganglia. Annu Rev Neurosci 25:563-593.
- ↑ hyperthymesia เป็นภาวะที่บุคคลมีความทรงจำแบบชีวประวัติของตน (autobiographical memory) ที่ดีกว่าบุคคลทั่วไป คือสามารถจำประสบการณ์และเหตุการณ์ในชีวิตของตนโดยมากได้ มาจากภาษากรีกว่า thymesis แปลว่า "จำได้" และ hyper แปลว่า "เกิน"
- ↑ "The Gift of Endless Memory". CBS News. 16 December 2010.
- ↑ Ishizu T, Zeki S (May 2011). Warrant EJ (บ.ก.). "Toward a brain-based theory of beauty". PLOS ONE. 6 (7): e21852. Bibcode:2011PLoSO...621852I. doi:10.1371/journal.pone.0021852. PMC 3130765. PMID 21755004.
- ↑ Aron A, Fisher H, Mashek DJ, Strong G, Li H, Brown LL (July 2005). "Reward, motivation, and emotion systems associated with early-stage intense romantic love". Journal of Neurophysiology. 94 (1): 327–37. doi:10.1152/jn.00838.2004. PMID 15928068. S2CID 396612.
- ↑ "How bilingual brains switch between tongues" at newscientist.com
- ↑ "Language Control in the Bilingual Brain " at sciencemag.org
- ↑ Braitenberg V. (1984)Vehicles. Experiments in synthetic psychology.
- ↑ ศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยน (threshold potential) เป็นระดับขีดเริ่มเปลี่ยนของศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ที่ได้รับการลดขั้ว (depolarization) ที่เมื่อถึงแล้ว ก่อให้เกิดศักยะงาน ศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยนมีความสำคัญในการควบคุมและการส่งสัญญาณทั้งในระบบประสาทกลางและในระบบประสาทปลาย
- ↑ Elsebet S. Hansen, Steen Hasselbalch, Ian Law; Tom G. Bolwig (2002). "The caudate nucleus in obsessive-compulsive disorder. Reduced metabolism following treatment with paroxetine: a PET study". International Journal of Neuropsychopharmacology. 5 (1): 1–10. doi:10.1017/S1461145701002681. PMID 12057027.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Radua, Joaquim; Mataix-Cols, David (November 2009). "Voxel-wise meta-analysis of grey matter changes in obsessive–compulsive disorder". British Journal of Psychiatry. 195 (5): 393–402. doi:10.1192/bjp.bp.108.055046. PMID 19880927.
- ↑ 16.0 16.1 Radua, Joaquim; van den Heuvel, Odile A.; Surguladze, Simon; Mataix-Cols, David (5 July 2010). "Meta-analytical comparison of voxel-based morphometry studies in obsessive-compulsive disorder vs other anxiety disorders". Archives of General Psychiatry. 67 (7): 701–711. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2010.70. PMID 20603451.
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
แก้- ภาพสมองตัดแต่งสีซึ่งรวมส่วน "นิวเคลียสมีหาง" at the BrainMaps project
- แผนผังที่ uni-tuebingen.de เก็บถาวร 2006-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- NIF Search - Caudate Nucleus เก็บถาวร 2013-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน via the Neuroscience Information Framework